โรงงานผลิตรถยนต์ในประเทศ ปรับไลน์ ลดกำลังผลิต ยกเลิกกะกลางคืน
แม้ว่าตอนนี้หลายค่ายรถยนต์ในประเทศ ต่างเดินไลน์การผลิตไปบ้างแล้ว แน่นอนว่ายอดขาย และความต้องการรถยนต์ตอนนี้ ลดต่ำลงอย่างมาก ด้วยสภาพเศรษฐกิจ และ ไวรัส COVID-19 ที่เหมือนจะลดลงบ้าง
การประเมินสถานการณ์อุสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยคาดว่าในสถานการณ์แรก ไตรมาส 2 ประเทศไทยผลิตได้ 1,400,000 คัน ส่งออก 700,000 คัน ขายในประเทศ 700,000 คัน
หากเลวร้ายกว่านั้น คือฟื้นตัวในไตรมาส 3 ผลิตในเทศ 1,000,000 คัน ส่งออก 500,000 คัน ขายในประเทศ 500,000 คัน
TOYOTA โรงงานสำโรง จ.สมุทรปราการ และโรงงานบ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ไปถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2563 ขณะที่โรงงานเกตเวย์ จ.ฉะเชิงเทรา เคยประกาศพักถึง 12 พฤษภาคม แต่ล่าสุดขอยืดไปเป็น 23 พฤษภาคม
Nissan ขยับแผนเปิดโรงงานออกไปถึง 31 พฤษภาคม
ISUZU ประกาศยุบการทำงานกะการคืน อัตราจ้าง 5 – 31 พฤษภาคม พนักงานที่ได้รับมอบหมายปฏิบัติงาน จะได้ค่าจ้าง 100% ที่พนักงานไม่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน จะได้ค่าจ้าง 85% จากวันทำงานปกติ
- โรงงาน สำโรงทำงานปกติระหว่าง 5 – 10 พ.ค. และตั้งแต่ 11 – 31 พฤษภาคม ให้ทำงานเฉพาะกะกลางวัน สลับ A และ B ทำงาน แบบ วันเว้นวัน
- โรงงาน เกตเวย์ วันที่ 5 – 17 พฤษภคม 63 หยุดการผลิตชั่วคราว และ 18 -31 พฤษภาคม ให้ทำงานเฉพาะกลางวัน สลับ A-B วันเว้นวัน
Mitsubishi Motor ประเทศไทย หยุดโรงงานผลิตรถยนต์ 3 แห่ง และเครื่องยนต์ ที่ศูนย์การผลิตแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี หยุด 1 – 17 พฤษภาคม กำหนดผลิตและหยุดแตกต่างออกไปตามโรงงาน หรือพนักงานหยุดวันไหนให้คิดค่าจ้าง 85% จากค่าแรงปกติ
Honda โรงงานที่ จ.ปราจีนบุรี และจ.พระนครศรีอยุธยา ปรับแผนผลิตครั้งใหญ่ เพราะขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิต กำลังซื้อต่างประเทศลดลง บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนในเทียร์ต่างๆ ที่ต้องปิดโรงงานชั่วคราวเช่นกัน
บริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค จำกัด ผู้ผลิตแชสซีส์สำหรับรถปิกอัพ นิคมอุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี เริ่มหยุดผลิตชั่วคราวตั้งแต่ 30 เมษายน-31 พฤษภาคม 2563 ให้ค่าจ้างพนักงานในช่วงเวลาดังกล่าว 75%
ผลกระทบดังกล่าว แค่เริ่มต้น ยังมีหลายจุดที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติในครั้งนี้ บริษัทโลจิสติกส์ ผู้ประกอบการรถเทรลเลอร์ตามโชว์รูมได้รับผลเช่นกัน
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดผลิตรถยนต์ในประเทศไตรมาสแรกที่ผ่านมา (มกราคม-มีนาคม 2563) มีจำนวนทั้งสิ้น 453,682 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนเกือบ 20% ผลกระทบหลักมาจากเศรษฐกิจโลกและการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19
หากไวรัสโควิดยังยืดเยื้อไปจนถึงเดือนมิถุนายน อาจจะต้องปรับเป้าการผลิตปี 2563 ใหม่ โดยคาดว่าน่าจะทำได้เพียง 1.4 ล้านคัน และหากยังไม่จบลากยาวไปจนถึงเดือนกันยายน 2563 คาดว่าเป้าผลิตทั้งปีจะเหลือแค่ 1 ล้านคันเท่านั้น จากเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ 2 ล้านคัน แบ่งเป็นตลาดในประเทศและส่งออกอย่างละ 50%
- ยอดผลิตและยอดขาย คนละสัดส่วนกัน
และสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากคือ Supply chain ทั้งหลาย รวมถึง ช่าง แรงงานในโรงงาน พนักงานในโชว์รูม รวมทุกส่วนในอุตสาหกรรมรถยนต์กว่า 750,000 คน อาจถูกเลิกจ้างชั่วคราวจนกว่าจะกลับมาผลิตใหม่
ด้านนายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ในไตรมาสแรกปี 2563 มีทั้งสิ้น 200,064 คัน ลดลง 24.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 78,385 คัน ลดลง 23.6% รถเพื่อการพาณิชย์ 121,679 คัน ลดลง 24.4% ซึ่งผลกระทบดังกล่าวมาจากเศรษฐกิจในประเทศได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
กระทรวงอุตสาหกรรม ยังเผยว่า ผลกระทบนี้รุนแรงมาก และหนักกว่าเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 การปรับลดกำลังการผลิตจากเดิม 2 ล้านคัน เหลือแค่ 1 ล้านคัน จะทำให้สภาพเศรษฐกิจและประเทศได้เม็ดเงินน้อยลงอย่างแน่นอน และผู้คนจะตกงานเนื่องจากยอดผลิตที่ต่ำลง
หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,572 วันที่ 7 – 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2563