Nissan ประเทศไทย คือฐานผลิต รถยนต์นิสสัน แห่งเดียวในอาเซียน
นิสสัน ประเทศไทย จะเป็นฐานผลิตแห่งเดียวในอาเซียน หลังจากนิสสันปิดโรงงานในอินโดนีเซีย เพิ่มบทบาทโรงงานประเทศไทย ถนนบางนา ตราด กม.21-22 จ.สมุทรปราการ
หลังจาก Nissan Motor มีแผนลดกำลังการผลิตทั่วโลกลง ลดกำลังผลิตในยุโรป และเน้นกลุ่มตลาดที่ทำกำไร เช่น ประเทศจีน กลุ่มอาเซียน และหนึ่งในนั้นคือ ประเทศไทย นิสสันเตรียมลุยเต็มสูบ เป็นฐานใหญ่การผลิตในภูมิภาค
นายราเมช นาราสิมัน ประธาน บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า หลังจากได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 ทำให้ นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย ต้องหยุดไลน์ผลิตชั่วคราวเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา และ เดินสายผลิตโรงงาน 1 เกือบ 100% ขณะที่โรงงาน 2 กำลังกลับมาผลิตอีกครั้งปลายสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ต้องดูความพร้อมของตลาด และผู้ผลิตชิ้นส่วนต่างๆ เช่นกัน
- ยอดขายนิสสัน ประเทศไทย ไตรมาสแรก 13,504 คันลดลง 28.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
แม้ว่าผลกระทบโควิด-19 จะรุนแรง แต่ธุรกิจต้องดำเนินต่อไป นิสสัน ต้องกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง ในมุมมองของบริษัทแม่ ประเทศญี่ปุ่น นโยบาย นิสสัน โกลบอล ประเทศไทยยังคงเป็นศูนย์กลางการผลิต หรือ ฮับ
“สำหรับการปฏิบัติงานในประเทศไทย Nissan จะลงทุนเพิ่มเพื่อขยายกำลังการผลิตรองรับการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ และจะมีการว่าจ้างพนักงานเพิ่มเติม” ราเมช กล่าว“
แนวทางการลงทุนธุรกิจ ของนิสสันวงเงิน 10,000 ล้านบาท ภายใน 3 ปี เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขยายกำลังการผลิต รองรับความต้องการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดการเพิ่มการจ้างงานในประเทศอย่างมาก
ต้นปี 2019 ทีผ่านมา Nissan Motor ได้เลือกประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นโรงงานรถยนต์ EV แห่งแรกของนิสสัน ที่อยู่นอกประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) แล้วด้วยเม็ดเงินลงทุนเกือบ 1.1 หมื่นล้านบาท
Nissan NEXT
- ปรับแผนใหม่ลดต้นทุน 4 ปี
- ลดกำลังการผลิต 1 ใน 5 ต่อปี
- ลดกำลังการผลิต 20% เหลือ 5.4 ล้านคันต่อปี จากเดิม 7.2 ล้านคัน
- ลดจำนวนรุ่นลง 20% ให้เหลือ 55 รุ่น จาก 69 รุ่น
- ยุติโรงงานในบาร์เซโรน่า ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก
- ปิดโรงงาน ในประเทศอินโดนีเซีย มุ่งเน้นประเทศไทยเป็นฐานผลิตแห่งเดียวในอาเซียน
- ร่วมมือบริษัทในกลุ่มพันธมิตรในการใช้ทรัพยากร เช่น การผลิต รุ่นรถยนต์ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ร่วมกัน
โตเกียว (รอยเตอร์) – นิสสันมอเตอร์ จำกัด วันที่ 28 พฤหัสบดี 2020 เผยแผนการที่จะลดระดับองค์กร และผู้ผลิตรถยนต์ให้มีขนาดเล็กลง รวมถึงประหยัดต้นทุกมากขึ้น เนื่องจากผลประกอบการล่าสุดทำให้เกิดการขาดทุนครั้งแรกในรอบ 11 ปี
การปรับแผนครั้งนี้เราเรียกว่า Nissan Next วางแผน 4 ปีใหม่ พร้อมลดกำลังการผลิต 1 ใน 5 ต่อปีเพื่อลดต้นทุกถึง 2,800 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 89,000 ล้านบาท
ลดค่าใช้จ่าย ด้านการตลาดการวิจัย และ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ผู้ผลิตรถยนต์จะทำโมเดลให้น้อยลง โดยลดจำนวนลงเหลือน้อยกว่า 55 จาก 69 เพื่อเอาชีวิตรอดในตลาดที่ได้รับผลกระทบ จากโรคโคโรนาไวรัส
รวมถึงลดกำลังการผลิตเหลือ 5.4 ล้านคันต่อปี จากเดิม 7.2 ล้านคัน นิสสันกล่าวว่า บริษัท ตั้งใจที่จะปิดโรงงานบาร์เซโลนา นอกเหนือจากที่วางแผนไว้ว่า จะปิดตัวลงในอินโดนีเซีย
นิสสัน ตั้งเป้าผลกำไรเพียง 5% และส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลก 6% ภายใต้แผนกู้คืนที่สอง ในระยะเวลาไม่ถึงปี ซึ่งถือว่าเป็นงานหินมากๆ
นิสสันมีผลดำเนินงานขาดทุนในปี 2019 สิ้นสุดงบประมาณ 31 มีนาคม 2563 มากถึง 40.5 พันล้านเยน ประมาณ 11,900 ล้านบาท อัตรากำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่ -0.4% แย่สุดนับตั้งแต่ปี 2008
ผลรวมถึงค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้าง บริษัท ที่โยโกฮามากล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันพฤหัสบดี นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าโดยเฉลี่ยแล้วจะมีผลขาดทุนสุทธิ 20 พันล้านเยน ประมาณ 5,900 ล้านบาท
Nissan ไม่ได้คาดการณ์ สำหรับปีงบประมาณปัจจุบัน โดยอ้างถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับธุรกิจ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัส
ปริมาณยอดขาย ของนิสสันในประเทศจีน เพิ่มขึ้น 1.1% เป็น 122,846 คันในเดือนเมษายน ซึ่งช่วยให้ส่วนแบ่งตลาด กลับมาดีขึ้น Nissan จะมุ้งเน้นไปที่ตลาดจีน และญี่ปุ่น ขณะที่ Renault จะมุ่งเน้นที่ตลาดยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกาเหนือ Mitsubishi ยังคงแข็งแกร่งในตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อีกสิ่งสำคัญที่สุดคือ การเก็บรักษาเงินสด ณ เดือนธันวาคม การผลิตรถยนต์ของนิสสัน มีกระแสเงินสดติดลบ 670.9 พันล้านเยน ประมาณ 198,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่าหกเท่า จากปีที่แล้ว
เรโนลต์ SA และหุ้นส่วนญี่ปุ่น บริษัท นิสสันมอเตอร์ และ มิตซูบิชิมอเตอร์สคอร์ป วันพุธที่ 27 พฤษภาคม 2020 เปิดเผยขั้นตอนในการสร้างมาตรฐาน เพิ่มเติมและผลักดันให้มีการจัดซื้อร่วมกันมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนโดยแต่ละบริษัท จะให้ความสำคัญกับจุดแข็งของตัวเอง
มาตรการดังกล่าว จะสามารถลดต้นทุนทุกรูปแบบสำหรับรถยนต์ที่พัฒนาร่วมกัน และทำให้ประหยัดงบประมาณได้ถึง 40%
555 คิดผิดปะ คนไทยยึดติดยี่ห้อนะ ถ้ารักชมไม่หยุด ไม่ชอบติแม่งแหลก รู้สึกเฉยๆ พอหลบได้