สั่งปิดโครงการ รถเก่า แลกใหม่ หลังไม่มีความชัดเจน หลายฝ่ายกังวล
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถเก่าแลกรถใหม่ ว่า ปัจจุบันโครงการฯที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ตอนนี้ให้ “พับโครงการไปเลย” เนื่องจากยังไม่มีความพร้อม และยังไม่มีความชัดเจนหลายอย่าง เพื่อไม่ให้สร้างความสับสนให้กับประชาชนและไม่กระทบตลาด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่า จำนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิด-19 (ศบศ.) ที่มีกำหนดการประชุมช่วงบ่ายวันนี้ (2 พ.ย. 2563)
ทั้งนี้ สุพัฒนพงษ์ ยอมรับว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะยังเผชิญความท้าทายอีกหลายด้าน แม้ว่าวันนี้เศรษฐกิจของประเทศไทยฟื้นตัวขึ้นตามลำดับ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบน้อยลง จากที่หลายฝ่ายประเมินว่าจะหดตัวถึง 10% ซึ่งปัจจุบันคาดว่าจะหดตัวลดลงอยู่ในระดับ 6% เท่านั้น โดยคาดว่าปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาเติบโตได้ในระดับ 3-4% พร้อมให้ความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะฟื้นกลับมาเป็นปกติได้ใน 12-18 เดือน หรือไม่เกิน 2 ปีหลังจากนี้
ข่าวก่อนหน้านี้้
สำหรับโครงการรถแลกแจกแถม หรือ รถเก่าแลกรถใหม่ 100,000 คัน หลัง “ดนุชา พิชยนันท์” เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ จากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ ศบศ. เห็นชอบในหลักการข้อเสนอโครงการบริหารเศรษฐกิจระยะปานกลางและระยะยาว ชุดที่ 2 ที่เสนอโดย คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจ และส่งเสริมการลงทุนในระยะปานกลางและระยะยาว
4 เงื่อนไขโครงการรถเก่าแลกรถใหม่
- ประชาชนที่นำรถเก่ามากำจัดจะได้รับส่วนลดภาษีไม่เกิน 1 แสนบาท
- คูปองส่วนลดในการซื้อรถยนต์ใหม่ ที่จะได้รับการสนับสนุนจากค่ายรถยนต์ต่างๆ
- รัฐบาลจะเปิดให้ประชาชนนำรถยนต์เก่าที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป นำมาแลกสิทธิประโยชน์จากรัฐบบาล
- จะยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อคัน
โครงการรถเก่าแลกรถใหม่
สำหรับ โครงการรถแลกแจกแถม หรือ รถเก่าแลกรถใหม่ 100,000 คันนั้น เมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมาทางด้านหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจได้จัดสัมมนา “New Generation of Automotive” เพื่อระดมความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV)
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ปาฐกถาพิเศษในงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวตอนหนึ่งว่า กระทรวงอุตสาหกรรมจะหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาข้อเสนอสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ภายใต้โครงการรถเก่าแลกรถใหม่
โดยการนำรถเก่าที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 15 ปี ขึ้นไป มาเปลี่ยนเป็นยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อเป็นการส่งเสริมมาตรการกระตุ้นการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและเป็นการบริหารจัดการซากยานยนต์กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการจัดตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางการจัดการซากยานยนต์ เพื่อศึกษาให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนวทางมาตรการจัดการซากยานยนต์ภายในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม
รวมทั้งศึกษาแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบใหม่ ตามแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อให้เกิดกลไกการจัดการซากยานยนต์อย่างเป็นระบบ และกำหนดหลักเกณฑ์การตั้งโรงงานรีไซเคิลยานยนต์ และส่งเสริมการลงทุนกิจการโรงงานรีไซเคิลซากรถ และแบตเตอรี่
รถเก่าอายุ 20 ปีขายมือสองได้เท่าไหร่
เป็นคำถามที่น่าสนใจไม่น้อย รถเก่ากว่า 20 ปี ราคาขายโดยประมาณไม่ถึงแสนบาทด้วยซ้ำ หากดูแลดีๆ ก็เกือบถึง (อันนี้คาดการณ์สำหรับรถตลาด ส่วนรถหรูขอไม่นับเพราะราคามีหลากหลาย) เพราะคนซื้อไป ต้องมีความรู้เรื่องซ่อมบำรุงเบื้องต้น รถยนต์อายุเข้าปีที่ 20 ย่อมมีปัญหาจุกจิกในบางรุ่น แต่โดยรวมมักนิยมเล่นรถตลาดมากกว่า เพราะอะไหล่ยังพอหาได้
รถใหม่แลกเก่า เคยคิดจะทำ แต่ยังทำไม่ได้สักที
ต้นปี 2563 ก่อน COVID-19 ระบาด คณะกรรมการรถยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ นำโดย ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นโยบายดังกล่าว จะเป็นโครงการรับซื้อรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปรุ่นเก่าที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป โดยทางภาครัฐ จะให้มูลค่ารับซื้อสูงสุด 100,000 บาท ต่อคัน แต่รู้สึกว่าเรื่องนี้ได้เงียบไป
จะเอารถเก่า 20 ปีไปไว้ไหน ?
หากมีนโยบาย รถเก่า แลก รถใหม่จริง งานนี้ต้องมาถามต่อว่า รถเก่าจำนวนมหาศาล เอาไปไว้ที่ไหน ใครจะซื้อรถเก่าขนาดนั้น หรือเป็นแค่เศษเหล็ก ? ข้อดีของนโยบายนี้คือ ลดจำนวนมลพิษจากรถเก่าที่ปล่อยออกมาทางอากาศ รวมถึงปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5
นโยบาย Cash for Clunker ของสหรัฐฯ ในรัฐบาล Obama
Cash For Clunkers คือโครงการแลกรถยนต์เก่าที่กินน้ำมันมากไปตีราคาเงินสดมูลค่า 3,500-4,500 ดอลลาร์ ประมาณ 110,000 – 143,000 บาท ระตุ้นเศรษฐกิจและอุตสาหรรมยานยนต์สหรัฐอเมริกาให้รอดพ้นจากภาวะซบเซาที่เริ่มออกฤทธิ์ตั้งแต่เดือนกันยายน 2008 ทั้งราคาน้ำมันและภาวะเศรษฐกิจอันเกิดจากวิกฤตการณ์ Subprime Effect
คุณสมบัติคือ ต้องเป็นรถที่ผลิตตั้งแต่ปี 1984 เป็นต้นมา รถที่ผลิตต่ำกว่านั้นไม่ได้รับสิทธิ อัตราสิ้นเปลือง 4-10 MPG ได้รับ 3,500 ดอลลาร์ อัตราสิ้นเปลือง 10 MPG ได้รับ 4,500 ดอลลาร์ โครงการนี้ใช้งบทั้งสิ้น 2,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 63,000 ล้านบาท
สถานการณ์อดีต และ ปัจจุบัน คล้ายๆกัน แตกต่างจากน้ำท่วม และ โรคระบาด ซึ่งสำหรับปี 2563 รุนแรงกว่าน้ำท่วมมากมาย ดังนั้นรัฐบาลหลายประเทศจึงออกโครงการอุดหนุน และอุ้มอุสาหกรรมต่างๆไว้ โดยเฉพาะการบิน และอุสาหกรรมรถยนต์
รถยนต์พลังงานไฟฟ้าในต่างประเทศได้รับส่วนลดเท่าไหร่ ?
- ปี 2019 หลังจากที่ผู้ผลิตพร้อมจำหน่าย NEVs รัฐบาลจีนได้กระตุ้นตลาดด้วยการออกนโยบายเงินสนับสนุนสูงสุด มากถึง 25,000 หยวน หรือ 110,000 บาทโดยมีเงื่อนไข ต้องมีระยะวิ่ง 250 กม./ชาร์จ และ สูงสุด 400 กม./ชาร์จ
- รถยนต์ EV ในอังกฤษ ได้รับส่วนลดถึง 135,000 บาท
- อินเดีย ในปี 2014 สนับสนุน EV สูงสุด 150,000 รูปี หรือ 67,000 บาท สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และ 30,000 รูปี หรือ 13,500 บาท สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ สามารถทำได้ทั้งทางตรง และ ทางอ้อม ซึ่งอยู่ที่การพิจารณาความเหมาะสมของสภาพสังคม สิ่งแวดล้อมตามภูมิภาค แต่มาตรการกระตุ้นให้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าราคาถูก ควรจะทำนานแล้ว แม้ว่าบ้านเรายังไม่ได้รับความนิยม แต่ยิ่งไม่นิยม ยิ่งต้องกระตุ้นให้นิยม
ตอนนี้คือโอกาศที่เหมาะ ของรัฐบาล ที่ควรจะมองเห็นสิ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงนี้ แต่น่าเสียดาย รถยนต์รุ่นใหม่ๆในไทย ยอดขายดี คือรถกระบะ ซึ่งไม่มีขุมพลังไฮบริด แต่ในอนาคตไม่แน่ สำหรับรถไฮบริด และ EV มักจะเป็น Sedan และ SUV มากกว่า
ข่าวกระตุ้นเศรษฐกิจต่างประเทศ
ปารีส (รูเทอร์ส) – รัฐบาลฝรั่งเศสใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากผลกระทบไวรัส COVID-19 ด้วยเมล็ดเงินมหาศาลถึง 450 พันล้านยูโร หรือประมาณ 15.6 ล้านล้านบาท ซึ่งเท่ากับ 20% ของ GDP ประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวเมื่อวันจันทร์
มลฑลอู่ฮั่น อุดหนุนเงินสนับสนุนรถใหม่ โดยเฉพาะ EV ให้ 10,000 หยวน หรือประมาณ 48,000 บาท รถน้ำมันเบนซิน ให้เงินหนุน 24,000 บาท และอุดหนุนเงินสำหรับซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน