เทคโนโลยีถนนชาร์จไฟฟ้า ขับรถไม่ต้องจอด แบตเตอรี่ก็เต็ม
ยนตกรรมไฟฟ้า กำลังได้ร่วมความนิยมอย่างมากตามยุคสมัย สิ่งสำคัญที่สุดคือแบตเตอรี่ และ การชาร์จ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่สุดในการพัฒนาขีดความสามารถของรถยนต์ไฟฟ้า
ปัจจุบันมีทั้งการชาร์จแบบเสียบชาร์จ และ การชาร์จแบบเปลี่ยนแบตเตอรี่ แต่สำหรับแนวคิดของ กลุ่มนักวิจัย Cornell แสดงให้เห็นความแตกต่างในการชาร์จ
กลุ่มนักวิจัย Cornell เสนอแนวคิดการชาร์จขณะรถขับเคลื่อนบนท้องถนน เป็นทางออกที่ดีกว่า
แนวคิดยังมีความท้าทายอยู่มาก เพราะเราต้องสร้างถนนที่มีสนามแม่เหล็กที่มีราคาแพง Khurram Afridi รองศาสตราจารย์ของ Cornell ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัยใหม่ในสาขานี้กล่าว
อันที่จริงแนวคิดดังกล่าวได้รับการทดสอบในแคลิฟอร์เนียในช่วงทศวรรษที่ 80 แต่สนามแม่เหล็กไฟฟ้ากระแสสลับต้องการฮาร์ดแวร์ราคาแพงที่ใช้พลังงานมากกว่าที่มีให้
Khurram Afridi ได้เผยว่า เทคโนโลยีของเขาเคยเค้นคว้าตั้งแต่อยู่ที่ Jet Propulsion Lab ของ NASA เราจะใช้สนามไฟฟ้าความถี่สูงแทนการใช้สนามแม่เหล็ก
ทีมงานของเขาสร้างขึ้นยานพาหนะที่มีระยะห่างจากพื้นสูงสุด 18 ซม. (7 นิ้ว) พลังงานจะถูกถ่ายโอนผ่านทางจานในถนนที่ฝังไว้ใต้ถนนหลายสิบฟุต ไทำให้รถยนต์สามารถชาร์จไฟได้ขณะขับบนท้องถนนโดยไม่ต้องจอด
ตามที่กล่าวมาการชาร์จความถี่สูงสามารถชาร์จ Nissan LEAF ได้ภายใน 4-5 ชั่วโมง รถยนต์ที่มีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่กว่าเช่นเทสลาจะใช้เวลานานกว่า
เทคโนโลยีการชาร์จบนท้องถนนของ Khurram Afridi ยังคงห่างไกลการใช้งานได้จริง เพราะยังไงต้นทุนในการทำถนนชาร์จแบบนี้ยังคงแพงอยู๋ดี แต่หากนำร่อง หรือ เป็นการทดสอบยังคงเป็นไปได้