เปิดตัว Alpha S Huawei HI EV ราคา 2.04 ล้านบาท ในจีน 634 แรงม้า 500 กม./ชาร์จ NEDC
ARCFOX Polar Fox และ Huawei ได้ร่วมมือกันสร้างรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% ระดับไฮเอนด์ในชื่อ ARCFOX Polar Fox Alpha S · HI พร้อมเดินผลิตโรงงานของ BAIC โรงงาน Blue Valley Magna Zhenjiang ประเทศจีน
Alpha S Extreme Fox รุ่น Huawei HI เปิดราคาจำหน่ายอย่างเป็นทางการทั้งหมด 2 รุ่นเริ่ม 397,900 – 429,900 หยวน หรือประมาณ 2.04 – 2.21 ล้านบาท ในประเทศจีน
- หัวเว่ยมีประวัติยาวนานในการผลิตรถยนต์ ต้นปี 2013 ได้มีการจัดตั้ง “แผนกธุรกิจอินเทอร์เน็ตของยานพาหนะ” มีการคาดเดาในอุตสาหกรรมว่า Huawei ต้องการสร้างรถยนต์ของตัวเองหรือไม่ จนถึงเดือนพฤษภาคมปี 2019 โซลูชันรถยนต์อัจฉริยะของ Huawei ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ เผยตอกย้ำว่า หัวเว่ยไม่ได้สร้างรถยนต์โดยตรง แต่มุ่งเน้นที่เทคโนโลยี ICT (สารสนเทศและการสื่อสาร) เพื่อช่วยให้ บริษัท รถยนต์สร้างรถยนต์บนเทคโนโลยีของ Huawei
- Arcfox ซึ่งเป็น บริษัท ย่อยของ BAIC Blue Valley New Energy Technology
ขนาดตัวถัง
- ยาว 4980 มม.
- กว้าง 1960 มม.
- สูง 1599 มม.
- ฐานล้อ 2915 มม.
Alpha S จะมาพร้อมกับโซลูชั่น HI smart car ของ Huawei พร้อมแพล็ตฟอร์มประมวลผล และ การสื่อสารอัจฉริยะ รวมทั้งเครือข่่ายอัจฉริยะ ระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ บริการคลาวด์อัจฉริยะ ตลอดจน lidar, ARHUD เป็นต้น มากกว่า 30 รายการ มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Huawei HarmonyOS 2
หน้าปัดแบบ LCD ขนาด 12.3 นิ้ว หน้าจอส่วนกลางขนาด 21.69 นิ้วความละเอียดระดับ 4K นอกจากนี้ ติดตั้งเรดาร์อัลตราโซนิก 13 ตัว เรดาร์คลื่น 6 มม. กล้อง 11 ตัว บนแพลตฟอร์มการประมวลผล Huawei MDC 810 พลังประมวลผลสามารถเข้าถึง 400TOPS เซ็นเซอร์ 34 ตัว คลุมเต็มรูปแบบ 360 องศา
ติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าคู่ของ Huawei ให้กำลังรวม 634 แรงม้า แรงบิต 655 นิวตัน-เมตร อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ภายใน 3.5 วินาที
แบตเตอรี่ขนาด 74.5kWh สามารถวิ่งได้ 500 กม./ชาร์จ NEDC รองรับเทคโนโลยีการชาร์จเร็ว 750V สามารถชาร์จ 10 นาที วิ่งได้ 197 กม.
ACRFOX Alpha S Huawei HI สามารถรองรับระบบขับขี่อัตโนมัติ หรือ Autopilot ระดับ L4 แต่กฏหมายในประเทศยังคงเป็นระดับ L2
Autopilot มี 5 ระดับ ได้แก่
- ระดับ 1 จะมีระบบอัตโนมัติ ช่วยเหลือผู้ขับขี่ เช่น การบังคับเลี้ยวหรือการเร่งและรักษาคุมความเร็วคงที่ รวมทั้งระบบควบคุมความเร็วคงที่แบบปรับความเร็วอัตโนมัติ ซึ่งสามารถควบคุมยานพาหนะไว้ในระยะที่ปลอดภัยต่ออุบัตเหตุ ซึ่งคุณสมบัติ Level 1 ยังต้องการวิจารณญาณของมนุษย์คนขับ ตรวจสอบการใช้ฟังก์ชั่นช่วยขับขี่ร่วมด้วย
- ระดับ 2 จะมีระบบ ADAS หรือ Advanced Driver Assistance Systems ซึ่งเป็นระบบบังคับเลี้ยวอัตโนมัติคู่กับระบบความคุมอัตรเร่งและปรับความเร็วให้ทำงานประสานกันผ่านกลไกการควบคุมที่ซับซ้อน… ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ทุกค่ายล้วนใส่เงินไปกับการวิจัยระบบ ADAS ต่อเนื่องมานาน ซึ่งระบบ ADAS ที่มีชื่อเสียงและสอบผ่านมาตรฐาน Level 2 รุ่นแรกๆ จนได้ทดสอบ
- ระดับ 3 จะมีความสามารถในการตรวจจับสภาพแวดล้อม และสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดเช่น การเร่งแซงรถที่ช้า แต่ระบบก็ยังต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์ แม้มนุษย์ไม่ต้องเหยียบคันเร่งถือพวงมาลัย… แต่ผู้ขับขี่จะต้องตื่นตัวและพร้อมที่จะเข้าควบคุมทันทีหากระบบผิดพลาด ซึ่งส่วนใหญ่ระบบจะออกแบบให้ตรวจสอบเงื่อนไขการทำงานอัตโนมัติตลอดเวลา และหาก Condition หรือเงื่อนไขการทำงานในระบบผิดพลาด… รถจะมีฟังก์ชั่นขอความช่วยเหลือจากมนุษย์ติดมาด้วย
- ระดับ 4 ไม่ต้องมีมนุษย์คอยช่วยเหลือในยามเข้าตาจนเหมือน Level 3 อีกเลย แม้จะมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นทั้งในระบบและสภาพแวดล้อมภายนอก หรือแม้แต่เกิดขัดข้องขึ้น พาหนะ Level 4 ก็จะจัดการความผิดปกติและบกพร่องทั้งหลายได้เอง โดยพึ่งพาและปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ในฐานะผู้โดยสาร มากกว่าจะพึ่งพามนุษย์ในฐานะผู้ควบคุมปกป้องความผิดพลาด พาหนะ Level 4 สามารถทำงานในโหมดขับขี่ด้วยตนเอง หรือ Self-Driving Mode ได้อย่างสมบูรณ์
- ระดับ 5 ไม่ต้องการความช่วยเหลือใดๆ จากมนุษย์อีก เพราะระบบจะทำงาน Dynamic Driving Task เต็มประสิทธิภาพ เทียบเท่าระดับเดียวกับหรือดีกว่ามนุษย์ที่มีทักษะการขับรถยอดเยี่ยมที่สุด… พาหนะ Level 5 จึงไม่มีแม้แต่พวงมาลัย แป้นเหยียบคันเร่งและแป้นเบรก ทำให้พาหนะ Level 5 เป็น Fully Autonomous Cars ซึ่งเป็นเป้าหมายความสำเร็จของการพัฒนายานพาหนะบนผิวพื้นยุคต่อไป… ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่า กฏหมายและโครงสร้างพื้นฐานของ Smart City