Advertisement

Advertisement

ปตท. และ Foxconn อาจช่วยไทยผลิตรถยนต์ไร้คนขับ ?

ปตท. และ Foxconn อาจช่วยไทยผลิตรถยนต์ไร้คนขับ ?
Spread the love

Advertisement

Advertisement

มันกำลังเริ่มต้นสำหรับประเทศไทย ? ยังก่อน รถยนต์ไร้คนขับ เป็นอนาคตที่ค่อนข้างไกล คำว่าไร้คนขับ มันคือระบบที่ปราศจากการควบคุมโดยมนุษย์ หรือ เราเรียกระดับนี้ว่า L5 หรือ Fully Autonomous Cars ตอนนี้ยังไม่มีใครสามารถทำได้จริงในเชิงพาณิย์

นายสุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “มุมมองใหม่ฝ่าเศรษฐกิจไทยปี 2022” ในงาน INTANIA DINNER TALK จัดโดยสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วานนี้ (1 ธ.ค.) ว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ติดลบเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ผลประกอบการของบริษัทเอกชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่มีผลประกอบการที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในสาขาพลังงาน การส่งออก รวมทั้งภาคขนส่ง แต่ในบางส่วนยังไม่ฟื้นตัวเช่นภาคการท่องเที่ยวที่ภาครัฐต้องเข้าไปดูแลด้วยมาตรการต่างๆที่ต้องมีการช่วยเหลือเพิ่มเติมต่อไป 

สำหรับโอกาสของประเทศไทยหลังโควิด-19 อยู่บนโอกาส 4 เรื่องที่สำคัญ แต่มี 2 เรื่องหลักๆ ที่เกี่ยวกับรถยนต์ขับขี่อัตโนมัติ ได้แก่

1.เศรษฐกิจดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัล และการเข้าสู่การใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเครือข่าย 5G ที่รัฐบาลได้มีการเตรียมความพร้อม และส่งเสริมให้เอกชนลงทุนแล้ว 

2.การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ ทั้งนี้ประเทศไทยได้กำหนดปีที่จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงที่สุดไว้ในปี 2030 จากนั้นจะต้องค่อยๆลดการปล่อยคาร์บอนฯลงจนเหลือศูนย์ ซึ่งในการลดปริมาณคาร์บอนฯที่เราปล่อยอยู่ปีละประมาณ 350 ล้านตัน จะสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆทั้งเรื่องของยานยนต์ไฟฟ้า พลังงานสะอาด พลังงานทดแทนซึ่งเริ่มเห็นการขยับการลงทุนของภาคเอกชนที่คาดว่าจะมีการลงทุนประมาณปีละ 8 แสนล้านบาทต่อเนื่องไปอีกหลายปีช่วยจ้างงานและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจไทย 

“ยานยนต์ไฟฟ้ายังสามารถที่จะต่อยอดไปถึงรถยนต์ไร้คนขับได้ เพราะขณะนี้บริษัทแอปเปิ้ลของสหรัฐฯมีเป้าหมายจะผลิตรถยนต์ไร้คนขับภายในปี 2025 ประเทศไทยมีบริษัท ปตท.ที่เป็นพันธมิตรกับฟ็อกซ์คอนน์ ซึ่งมีความร่วมมือธุรกิจกับบริษัทแอปเปิ้ล อาจเจรจา ดึงเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับเข้ามาผลิตในไทยได้”  

มีเพียงรถต้นแบบเท่าที่เราเห็น ก็พอมี Hyundai M.Vision X รถขับขี่อัตโนมัติระดับ L5 สำหรับเชิงพาณิชย์ต้องยกให้ Baidu แท็กซี่ ไร้คนขับ ให้บริการในปักกิ่ง แต่นั้นยังต้องมีพวงมาลัย และ ยังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบอย่างเข้มงวด

ปัจจุบันทาง Foxconn มีรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ 3 โมเดล ภายใต้แบรนด์ Foxtron ครอบคลุม C SUV EV ขนาดกลาง , Model E หรือ ซีดานไฟฟ้าขนาดกลาง – ใหญ่ และ Model T รถโดยสารไฟฟ้า

  • Foxconn มีชื่อบริษัทว่า Hon Hai Precision Industry Co., Ltd. ใช้ชื่อในตลาดหลักทรัพย์ว่า Foxconn เป็นบริษัทข้ามชาติ ผู้ผลิตและรับผลิตอุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Tucheng, New Taipei, ในประเทศไต้หวัน (Taiwan) จัดเป็นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเลคโทรนิกส์ และรวมถึง Circuit boards ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ภายใต้สถาปัตยกรรม MIH Open Platform แพลตฟอร์มแยกส่วน สามารถปรับใช้กับแชสซีส์ของรถยนต์ไฟฟ้าได้หลากหลาย รวมทั้รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในรูปแบบอื่นๆ

จุดเด่นของ MIH

  • มอเตอร์ขนาด 95 kW, 150 kW และ 200 kW สำหรับเพลาหน้า และ 150 kW, 200 kW, 240 kW และ 340 kW สำหรับเพลาหลัง
  • ฐานล้อปรับขนาดความยาวระหว่าง 2.75 – 3.10 เมตรได้ แทร็คที่ปรับความกว้างจาก 1.59 เมตร ถึง 1.70 เมตร ส่วนความสูงถึงใต้้ท้องรถ อยู่ที่ 12.6 เซนติเมตร ถึง 21.1 เซนติเมตร
  • สามารถเลือกระบบขับเคลื่อนได้หลากหลายทั้ง ล้อหน้า / ล้อหลัง / สี่ล้อ
  • รองรับแบตเตอรี่ที่หลากหลายรวมทั้ง Solid State
  • ตัวถังใช้ระบบ mega cast ที่ใช้ชิ้นสวนน้อยที่สุด
  • รองรับ 5G และ 6G ในอนาคต พร้อมระบบซอฟต์แวร์อัพเดทแบบ OTA และระบบเชื่อมต่อแบบ V2X (vehicle-to-anything)

เราเชื่อว่า Foxconn มีศักยภาพมากพอที่จะสามารถทำระบบขับขี่อัตโนมัติ แต่ยังก่อน เพราะเทคโนโลยี ต้องใช้เวลานานมากกว่าจะสำเร็จ ต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานมากมาย รวมทั้งการประมวลผลที่รวดเร็วถูกต้อง แม่นยำอย่างมาก ในอนาคตเราได้เห็น Foxconn สร้างอย่างแน่นอน แต่ถึงระดับ L5 ไหม ต้องมาติดตามกันอีกที เพราะ Apple Car ก็มีแผนทำรถยนต์ไร้คนขับเช่นกัน

Autopilot มี 5 ระดับ ได้แก่

  • ระดับ 1 จะมีระบบอัตโนมัติ ช่วยเหลือผู้ขับขี่ เช่น การบังคับเลี้ยวหรือการเร่งและรักษาคุมความเร็วคงที่ รวมทั้งระบบควบคุมความเร็วคงที่แบบปรับความเร็วอัตโนมัติ ซึ่งสามารถควบคุมยานพาหนะไว้ในระยะที่ปลอดภัยต่ออุบัตเหตุ ซึ่งคุณสมบัติ Level 1 ยังต้องการวิจารณญาณของมนุษย์คนขับ ตรวจสอบการใช้ฟังก์ชั่นช่วยขับขี่ร่วมด้วย
  • ระดับ 2 จะมีระบบ ADAS หรือ Advanced Driver Assistance Systems ซึ่งเป็นระบบบังคับเลี้ยวอัตโนมัติคู่กับระบบความคุมอัตรเร่งและปรับความเร็วให้ทำงานประสานกันผ่านกลไกการควบคุมที่ซับซ้อน… ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ทุกค่ายล้วนใส่เงินไปกับการวิจัยระบบ ADAS ต่อเนื่องมานาน ซึ่งระบบ ADAS ที่มีชื่อเสียงและสอบผ่านมาตรฐาน Level 2 รุ่นแรกๆ จนได้ทดสอบ
  • ระดับ 3 จะมีความสามารถในการตรวจจับสภาพแวดล้อม และสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดเช่น การเร่งแซงรถที่ช้า แต่ระบบก็ยังต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์ แม้มนุษย์ไม่ต้องเหยียบคันเร่งถือพวงมาลัย… แต่ผู้ขับขี่จะต้องตื่นตัวและพร้อมที่จะเข้าควบคุมทันทีหากระบบผิดพลาด ซึ่งส่วนใหญ่ระบบจะออกแบบให้ตรวจสอบเงื่อนไขการทำงานอัตโนมัติตลอดเวลา และหาก Condition หรือเงื่อนไขการทำงานในระบบผิดพลาด… รถจะมีฟังก์ชั่นขอความช่วยเหลือจากมนุษย์ติดมาด้วย
  • ระดับ 4 ไม่ต้องมีมนุษย์คอยช่วยเหลือในยามเข้าตาจนเหมือน Level 3 อีกเลย แม้จะมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นทั้งในระบบและสภาพแวดล้อมภายนอก หรือแม้แต่เกิดขัดข้องขึ้น พาหนะ Level 4 ก็จะจัดการความผิดปกติและบกพร่องทั้งหลายได้เอง โดยพึ่งพาและปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ในฐานะผู้โดยสาร มากกว่าจะพึ่งพามนุษย์ในฐานะผู้ควบคุมปกป้องความผิดพลาด พาหนะ Level 4 สามารถทำงานในโหมดขับขี่ด้วยตนเอง หรือ Self-Driving Mode ได้อย่างสมบูรณ์
  • ระดับ 5 ไม่ต้องการความช่วยเหลือใดๆ จากมนุษย์อีก เพราะระบบจะทำงาน Dynamic Driving Task เต็มประสิทธิภาพ เทียบเท่าระดับเดียวกับหรือดีกว่ามนุษย์ที่มีทักษะการขับรถยอดเยี่ยมที่สุด… พาหนะ Level 5 จึงไม่มีแม้แต่พวงมาลัย แป้นเหยียบคันเร่งและแป้นเบรก ทำให้พาหนะ Level 5 เป็น Fully Autonomous Cars ซึ่งเป็นเป้าหมายความสำเร็จของการพัฒนายานพาหนะบนผิวพื้นยุคต่อไป… ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่า กฏหมายและโครงสร้างพื้นฐานของ Smart City

โครงการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท หงไห่ พริซิชั่น อินดัสทรี จำกัด (Hon Hai Precision Industry Co., Ltd.) หรือ ฟ็อกซ์คอนน์ กรุ๊ป (Foxconn Technology Group) ในรูปแบบเสมือนจริง (Virtual MOU Signing Ceremony) จัดขึ้น ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย และ กรุงไทเป ไต้หวัน เพื่อศึกษาโอกาสในการพัฒนาฐานการผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งความร่วมมือนี้จะเป็นการผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่ ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตและเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระดับสากลมากยิ่งขึ้น

ความร่วมมือนี้เป็นการผสานความเชี่ยวชาญของ Foxconn ที่เป็นผู้นำการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดของโลก และความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงความแข็งแกร่งด้านธุรกิจพลังงาน ของ ปตท. ทั้งเครือข่ายพันธมิตร กลุ่มบริษัทในเครือและผู้ร่วมทุนปัจจุบัน ในการพัฒนาแพลตฟอร์มการผลิต และเสริมศักยภาพระบบนิเวศ ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ตลอดห่วงโซ่คุณค่ายานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้รับผลิตสินค้า (Original Equipment Manufacturers: OEMs) ในประเทศไทย ที่มีความสนใจสามารถเข้าถึงการบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและใช้ต้นทุนต่ำ เพื่อร่วมสร้างอนาคตแห่งการเดินทางด้วยยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืน

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า รูปแบบการใช้พลังงานในอนาคต จะมุ่งไปด้าน GO GREEN และ GO ELECTRIC มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเดินทางของประชาชน ซึ่งในช่วงของการเปลี่ยนผ่านพลังงานดังกล่าว เราเชื่อว่าเชื้อเพลิงแบบดั้งเดิมจะยังเป็นพลังงานที่สำคัญ แต่ในขณะเดียวกันเราก็จำเป็นต้องเร่งพัฒนาและปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ทิศทางพลังงานในอนาคต อย่างอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันและสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจของประเทศซึ่งที่ผ่านมา ปตท. ได้เริ่มรุกเข้าสู่ EV Value Chain โดยจับมือพันธมิตรทางธุรกิจ ในการพัฒนา EV Charging Platform, EV Station  รวมถึงการลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้น ความร่วมมือกับ Foxconn ในครั้งนี้ จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศ เสริมสร้างทักษะและอาชีพให้กับประชาชน เพื่อเป็นรากฐานสำคัญสู่อุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต และเป็นต้นแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านพลังงานให้กับประเทศได้ต่อไป

“ในระยะแรก ปตท. และ Foxconn ตั้งเป้าหมายที่จะจัดตั้งแพลตฟอร์มการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและส่วนประกอบหลักต่าง ๆ แบบ end-to-end ด้วยเงินร่วมลงทุนขั้นต้นที่ 1-2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจะขยายการลงทุนในอนาคตต่อไป ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจสู่เวทีโลกในอนาคต นอกจากนี้ ยังเป็นการตอบสนองนโยบายและทิศทาง การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐ ที่มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย พร้อมขับเคลื่อนประเทศให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย นายอรรถพล กล่าวเสริม

นาย ยัง ลวือ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารฟ็อกซ์คอนน์ กรุ๊ป (Mr. Young Liu, Chairman and CEO of Foxconn) กล่าวว่า เป้าหมายของความร่วมมือในครั้งนี้ คือการเปิดโอกาสให้ลูกค้าหรือผู้ที่สนใจทั่วโลก ได้เชื่อมต่อสังคมแห่งการเดินทางด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ ความเชี่ยวชาญของ Foxconn ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมของโลก ทำให้เราผนึกความร่วมมือกับภาครัฐ และ ปตท. ในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ ประสบการณ์ และความชำนาญเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่พร้อมสำหรับอนาคต ซึ่งที่ผ่านมา ปตท. ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จพลังงานและแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ Foxconn จะสามารถแบ่งปันความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยสร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่งขึ้น เรามุ่งหวังที่จะเห็นประเทศไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำระดับโลกในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

Bangkokbiznews.com

Advertisement

Advertisement

ใส่ความเห็น

คุณไม่สามารถคัดลอกเนื้อหาของหน้านี้ได้