Advertisement

Advertisement

HONDA กำลังพัฒนา แท็กซี่ไร้คนขับ ในประเทศญี่ปุ่น

HONDA กำลังพัฒนา แท็กซี่ไร้คนขับ ในประเทศญี่ปุ่น
Spread the love

Advertisement

Advertisement

Honda Motor Company กำลังมองหาโอกาศในการขยายเทคโนโลยีใหม่ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ผู้ผลิตรถยนต์รายนี้ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับผู้ให้บริการขนส่งของญี่ปุ่น 2 ราย เพื่อมุ่งสู่บริการแท็กซี่อัตโนมัติในโตเกียว

Teito Motor Transportation Company และ kokusai motorcars Company ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับ Honda Mobility Solutions (HMS) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2020 สำหรับการออกแบบ และ ดำเนินโครงการขับเคลื่อนในญี่ปุ่น

นอกเหนือจากโครงการด้านขนส่ง ยังรวมถึงการทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความแออัดภายในตัวเมือง การจราจร และ การปล่อยมลพิษ

สำหรับโครงการดังกล่าว ได้ร่วมกับผู้ให้บริการแท็กซี่รายใหญ่สองรายมีเป้าหมาย ในการเปิดตัว บริการแท็กซี่ขับเคลื่อนอัตโนมัติใจกลางกรุงโตเกียวภายในกลางทศวรรษนี้

Honda วางแผนที่จะใช้ Cruise Origin สำหรับให้บริการดังกล่าว เป็นรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติของ Cruise บริษัท เทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติภายใต้บริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ส (GM)

Cruise Origin ติดตั้ง Autopilot ระดับ L5 สามารถขับเคลื่อนโดยไม่มีพวงมาลัย และไม่มีคนขับ จุได้ 6 ที่นั่ง และ เป็นรถไฟฟ้า 100% พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก แท่งชาร์จ USB และ อื่นๆ พร้อมอายุการใช้งานกว่า 1.6 ล้าน กม.

Dan Ammann ซีอีโอของ Cruise กล่าวว่าคาดว่าจะเริ่มการผลิต Origin จำนวนมากในปี 2023 ที่โรงงาน Hamtramke ของ GM ในดีทรอยต์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นโรงงาน ZERO)

ในช่วงต้นเดือนมิถุนายนของ 2021 Cruise ได้รับใบอนุญาตจาก California Public Utilities Commission (CPUC) เพื่อให้บริการผู้โดยสารรถยนต์ไร้คนขับ ในอนาคต เมื่อ Origin ได้รับใบอนุญาตใช้ถนนที่ออกโดย US Highway Safety Administration (NHTSA) จะทำให้ยานพาหนะไร้คนขับ ถูกกฏหมาย และ สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน

Autopilot มี 5 ระดับ ได้แก่

  • ระดับ 1 จะมีระบบอัตโนมัติ ช่วยเหลือผู้ขับขี่ เช่น การบังคับเลี้ยวหรือการเร่งและรักษาคุมความเร็วคงที่ รวมทั้งระบบควบคุมความเร็วคงที่แบบปรับความเร็วอัตโนมัติ ซึ่งสามารถควบคุมยานพาหนะไว้ในระยะที่ปลอดภัยต่ออุบัตเหตุ ซึ่งคุณสมบัติ Level 1 ยังต้องการวิจารณญาณของมนุษย์คนขับ ตรวจสอบการใช้ฟังก์ชั่นช่วยขับขี่ร่วมด้วย
  • ระดับ 2 จะมีระบบ ADAS หรือ Advanced Driver Assistance Systems ซึ่งเป็นระบบบังคับเลี้ยวอัตโนมัติคู่กับระบบความคุมอัตรเร่งและปรับความเร็วให้ทำงานประสานกันผ่านกลไกการควบคุมที่ซับซ้อน… ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ทุกค่ายล้วนใส่เงินไปกับการวิจัยระบบ ADAS ต่อเนื่องมานาน ซึ่งระบบ ADAS ที่มีชื่อเสียงและสอบผ่านมาตรฐาน Level 2 รุ่นแรกๆ จนได้ทดสอบ
  • ระดับ 3 จะมีความสามารถในการตรวจจับสภาพแวดล้อม และสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดเช่น การเร่งแซงรถที่ช้า แต่ระบบก็ยังต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์ แม้มนุษย์ไม่ต้องเหยียบคันเร่งถือพวงมาลัย… แต่ผู้ขับขี่จะต้องตื่นตัวและพร้อมที่จะเข้าควบคุมทันทีหากระบบผิดพลาด ซึ่งส่วนใหญ่ระบบจะออกแบบให้ตรวจสอบเงื่อนไขการทำงานอัตโนมัติตลอดเวลา และหาก Condition หรือเงื่อนไขการทำงานในระบบผิดพลาด… รถจะมีฟังก์ชั่นขอความช่วยเหลือจากมนุษย์ติดมาด้วย
  • ระดับ 4 ไม่ต้องมีมนุษย์คอยช่วยเหลือในยามเข้าตาจนเหมือน Level 3 อีกเลย แม้จะมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นทั้งในระบบและสภาพแวดล้อมภายนอก หรือแม้แต่เกิดขัดข้องขึ้น พาหนะ Level 4 ก็จะจัดการความผิดปกติและบกพร่องทั้งหลายได้เอง โดยพึ่งพาและปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ในฐานะผู้โดยสาร มากกว่าจะพึ่งพามนุษย์ในฐานะผู้ควบคุมปกป้องความผิดพลาด พาหนะ Level 4 สามารถทำงานในโหมดขับขี่ด้วยตนเอง หรือ Self-Driving Mode ได้อย่างสมบูรณ์
  • ระดับ 5 ไม่ต้องการความช่วยเหลือใดๆ จากมนุษย์อีก เพราะระบบจะทำงาน Dynamic Driving Task เต็มประสิทธิภาพ เทียบเท่าระดับเดียวกับหรือดีกว่ามนุษย์ที่มีทักษะการขับรถยอดเยี่ยมที่สุด… พาหนะ Level 5 จึงไม่มีแม้แต่พวงมาลัย แป้นเหยียบคันเร่งและแป้นเบรก ทำให้พาหนะ Level 5 เป็น Fully Autonomous Cars ซึ่งเป็นเป้าหมายความสำเร็จของการพัฒนายานพาหนะบนผิวพื้นยุคต่อไป… ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่า กฏหมายและโครงสร้างพื้นฐานของ Smart City

Carbuzz

Advertisement

Advertisement

ใส่ความเห็น

คุณไม่สามารถคัดลอกเนื้อหาของหน้านี้ได้