ไฟไหม้ รถยนต์ไฟฟ้าดับไม่ได้ นักดับเพลิงใช้เวลากว่า 7 ชม. ดับไฟของ Hyundai Ioniq 5 ต้องนำอ่างน้ำมาแช่
การระเบิดของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ทำให้เกิดความเสียหายค่อนข้างมาก เพราะมันดับได้ยากกว่ารถยนต์สันดาปทั่วไป ความจริงรถยนต์ไฟฟ้ามีความเสี่ยงเกิดไฟไหม้มากกว่าเครื่องยนต์สันดาป
ต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เกิดอุบัติเหตุของรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติเกาหลีใต้ Hyundai Ioniq 5 ชนแท่นแบร์ริเออร์บนทางด่วน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 รายพยานในเหตุการณ์ระบุว่า เกิดไฟไหม้หลังจากการชนเพียง 3 วินาทีเท่านั้น ซึ่งมันรวดเร็วมาก
ไม่นานหลังจากนั้น ได้มีนักดิบเพลิงที่สวมชุดป้องกันก๊าซ ได้เข้ามาในเหตุการณ์ แต่พวกเขาไม่สามารถควบคุมเพลิงไหม้ได้ แม้จะใช้เวลานาน นักดับเพลิงทำได้เพียงฉีดน้ำหล่อเลี้ยงไว้ เพื่อไม่ให้เกิดการระเบิดเนื่องจากความร้อนที่มาก ในที่สุดพวกเขาต้องนำแอ่งน้ำชั่วคราว และจุ่มรถในแอ่งดังกล่าวเพื่อรักษาระดับน้ำหล่อเลี้ยงแบตเตอรี่ พวกเขาใช้เวลากว่า 7 ชั่วโมงในการดับไฟจากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า
- แบตเตอรี่ lithium-ion มีความไวต่ออากาศภายนอกอย่างมาก เพราะมีตัวแบตมีการฉีดขาดแล้วโดนอากาศ จะทำให้ไฟไหม้ทันที
- ไฟไหม้จากแบตเตอรี่ไฟฟ้า จะทำให้เกิด แก๊สพิษต่างๆ เช่น คาร์บอน ไดอ็อกไซด์, ไฮโดรเจน, คาร์บอนมอนอกไซด์, เขม่า, และสารพิษอื่นๆ หากไม่ใส่หน้ากากกันก๊าซพิษ ควรถอยออกไปห่างๆ
รายงานจาก สถานีดับเพลิง Busan Gangseo เจ้าหน้าที่ดับเพลิง Han Jeong-do ระบุว่า
- ก้อนแบตเตอรี่ที่ได้รับการเผาไหม้ มีอุณหภูมิจะสูงขึ้นถึง 800 องศาในทันที และไฟจะลุกลามราวกับระเบิด
- จากการทดสอบของหน่วยดับเพลิงในวันที่ 16 มิถุนายน 2022 พบว่า ต้องใช้น้ำมากกว่า 5,000 ลิตร เป็นอย่างน้อย ในการดับไฟรถยนต์ไฟฟ้า โดยเทน้ำกว่า 1,000 ลิตรดังไฟภายนอก และ 4,000 ลิตร ทำให้ก้อนแบตเตอรี่เย็นลง อย่างไรก็ตาม มันไม่ทำให้แบตเตอรี่เย็นลงอย่างสมบูรณ์
ผลการสืบสวนเบื้องต้นระบุว่า ผู้ขับขี่ และ ผู้โดยสารเสียชีวิตจากแรงกระแทกอย่างรุนแรงคาดว่าใช้ความเร็ว 80 – 90 กม.ต่อชั่วโมง และไม่ได้เสียชีวิตจากไฟไหม้ รายงานยังระบุว่าผู้โดยสารไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย
ศาสตราจารย์โฮกึน ลี ภาควิชายานยนต์ มหาวิทยาลัยแดด็อก ระบุว่า
- แบตเตอรี่ในปัจจุบันเสี่ยงที่จะติดไฟได้เพราะเป็นของเหลว การพัฒนาเทคโนโลยีจึงดำเนินไป และการใช้แบตเตอรี่แบบโซลิดสเตต อาจเป็นคำตอบ
- แม้ว่ายานพาหนะไฟฟ้าจะกลายเป็นกระแสหลักในตลาดรถยนต์ แต่โครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยยังอ่อนแอ
มอเตอร์คู่ 73kWh 302 แรงม้า 482 กม./ชาร์จ WLTP
มอเตอร์คู่ รุ่นท๊อปสุดคือ 73 กิโลวัตต์ชั่วโมง หน้า 207 แรง้มา หลัง 94 แรงม้า ให้กำลังรวม 302 แรงม้า แรงบิด 605 นิวตันเมตร สามารถวิ่งได้ 482 กม./ชาร์จ อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. 5.2 วินาที
มอเตอร์เดี่ยว 58kWh 204 แรงม้า 386 กม./ชาร์จ WLTP
มอเตอร์เดี่ยว แบตเตอรี่ 58 กิโลวัตต์ชั่วโมง ให้กำลัง 204 แรงม้า แรงบิต 250 นิวตันเมตร วิ่งได้ 386 กม./ชาร์จ อัตราเร่ง 0-100 กม./ชาร์จ 7.4 วินาที
มอเตอร์ไฟฟ้าเดียว และ คู่ สามารถชาร์จ 10 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ในเวลาเพียง 17 นาทีโดยผู้ผลิตรถยนต์อ้างว่าการชาร์จ 5 นาทีเพียงพอที่จะรับระยะ 100 กม. มาตรฐาน WLTP สามารถวิ่งได้ 469 กม./ชาร์จ รองรับการชาร์จ 800 โวลต์