Advertisement

Advertisement

GAC AION Y Plus EV 610 กม./ชาร์จ CLTC เปิดตัวไทยเร็วๆนี้

GAC AION Y Plus EV 610 กม./ชาร์จ CLTC เปิดตัวไทยเร็วๆนี้
Spread the love

Advertisement

Advertisement

 

 

ล่าสุดได้มีการขนส่ง GAC AION Y Plus EV ในประเทศไทย ภาพดังกล่าวได้รับการเผยแพร่โดยเพจ Carsideteam คาดว่าอาจเป็นรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกๆของ GAC AION ที่เปิดตัวจำหน่ายในประเทศไทยเร็วๆนี้

GAC AION หรือ GAC Group (Guangzhou Automotive Group) กว่างโจว ออโต้ คอร์ปอเรชั่น เตรียมปักหมุดลงทุนใน EEC ในประเทศไทย ตอกย้ำยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน

  • GAC AION กล่าวว่า เบื้องต้นได้เตรียมการที่จะมาลงทุนในไทย 100% โดยในการลงทุนจะเป็น GAC AION ถือครองสัดส่วนในจำนวนที่มากกว่า ด้วยกำลังการผลิต 100,000 คันต่อปี
  • GAC AION พร้อมลงทุนในประเทศไทย 1,300 ล้านหยวน หรือ ประมาณ 6,400 ล้านบาท
  • AION มีความต้องการใช้พื้นที่ในการตั้งโรงงานประมาณ 500 ไร่ แต่ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น ระบบการขนส่งโลจิสติกส์ และระบบการดำเนินการอื่น ๆ แล้ว อาจต้องใช้พื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ อย่างไรก็ตาม การตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่มากกว่า 500 – 1,000 ไร่
  • EEC เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก Eastern Special Development Zon เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2558 ตั้งอยู่บริเวณในชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทยซึ่งถือเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่สามจังหวัดได้แก่จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นภายในระเบียงเศรษฐกิจนี้ มีมูลค่าราว 14% ของทั้งประเทศไทย

ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังให้การต้อนรับนายเซียว หยง (Mr.Xiao Yong) รองประธานบริษัท GAC AION New Energy Automobile Company Limited (GAC AION) พร้อมคณะผู้บริหารบริษัท GAC AION ซึ่งเป็น บริษัท ย่อยของรถยนต์ไฟฟ้าของ GAC Group (Guangzhou Automotive Group) ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของจีน

โดยระบุว่า GAC AION ให้ความสนใจจะเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานผลิตรถยนต์อีวีในประเทศไทย เนื่องจากรัฐบาลไทยสนับสนุนโครงการรถยนต์ EV และอุตสาหกรรมยานยนต์มาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่เฉพาะแต่เรื่องของการทำการตลาดเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมและสนับสนุนในเชิงนโยบายและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ผ่านทางคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ อีกทั้งในแง่ของมาตรฐานต่าง ๆ โดยไทยเสมือนเป็นผู้กำหนดทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ EV ในอาเซียนมาโดยตลอด

ดังนั้น หากทาง GAC AION เข้ามาลงทุน จะทำให้ประเทศไทยเพิ่มศักยภาพการเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในระดับอาเซียน และเกิดการยอมรับไปทั่วโลกมากยิ่งขึ้น “การทำงานของบริษัท GAC AION นับว่าเติบโตเร็วมาก โดยใช้เวลาเพียง 5 ปี ก็สามารถก้าวขึ้นเป็น Top 3 ของตลาดรถยนต์ EV ในประเทศจีนแล้ว จึงนับเป็นเครื่องการันตีได้ว่า อุตสาหกรรมรถยนต์ EV มีลู่ทางที่สดใส ซึ่งอาจไม่ใช่แค่เพียงรถยนต์ EV เท่านั้น ยังรวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ เช่น เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการผลิตแบตเตอรี่ หรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นต้น

ขณะเดียวกันในเรื่องของมาตรฐานต่าง ๆ ที่ใช้ในการทดสอบ ก็ได้แจ้งกับทาง GAC AION ไปแล้วว่า ประเทศไทยมีศูนย์ทดสอบ ยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (Automotive and Tyre Testing, Research and Innovation Center–ATTRIC) และยินดีหากทาง GAC AION จะนำรถยนต์เข้ามาทดสอบมาตรฐานหรือทำ R&D ในไทย ก็สามารถดำเนินการได้ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีการลงทุนของบริษัทชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำระดับโลกถึง 17 แห่ง จาก 20 แห่ง

โดยกระจายอยู่ใน 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดปทุมธานี ระยอง ชลบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร อาทิ BOSCH , DENSO , SUMITOMO YAZAKI , FAURECIA เป็นต้น ทำให้สามารถรองรับการเป็นห่วงโซ่การผลิตรถยนต์ได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีนิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่ในพื้นที่ EEC กว่า 40 แห่ง ซึ่งมีระบบการกำกับดูแลที่เป็นมาตรฐานระดับสากล แสดงให้เห็นถึงความพร้อมและความเชื่อมั่นของประเทศเป็นอย่างยิ่ง” ดร.ณัฐพล กล่าว

ด้าน นายเซียว หยง รองประธานบริษัท GAC AION กล่าวว่า เบื้องต้นได้เตรียมการที่จะมาลงทุนในไทย 100% แต่หลังจากที่ได้ไปหารือกับหลายหน่วยงาน อาทิ EEC และ BOI ก็ทำให้เกิดแนวคิดการหาผู้ร่วมลงทุน โดยในการลงทุนจะเป็น GAC AION ถือครองสัดส่วนในจำนวนที่มากกว่า และตั้งเป้าผลิตรถยนต์ EV ในไทยให้ได้ 100,000 คันต่อปี นอกจากการตั้งโรงงานการผลิตรถยนต์ EV แล้ว ยังขยายไปยังอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการผลิตแบตเตอรี่ด้วย ทั้งนี้ มูลค่าการลงทุนในประเทศไทยของ GAC AION เบื้องต้น อยู่ที่ประมาณ 1,300 ล้านหยวน หรือ ประมาณ 6,400 ล้านบาท

ปัจจุบันบริษัท AION ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าระบบอัตโนมัติ การผลิตเทคโนโลยี Robot และอุตสาหกรรมการบินและการคมนาคมอื่น ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่รถยนต์ EV เท่านั้น แต่จะขยายไปยัง Eco System ในด้านอื่น ๆ โดย AION มีความต้องการใช้พื้นที่ในการตั้งโรงงานประมาณ 500 ไร่ แต่ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น ระบบการขนส่งโลจิสติกส์ และระบบการดำเนินการอื่น ๆ อาจต้องใช้พื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่

อย่างไรก็ตาม การตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่มากกว่า 500 – 1,000 ไร่ และนักลงทุนเป็นชาวต่างชาติ มีความเป็นไปได้ว่าต้องตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม หรือสวนอุตสาหกรรม จึงจะได้รับสิทธิในการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยได้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ BOI ให้การส่งเสริมอยู่

บริษัท GAC AION ก่อตั้งขึ้นตาม GAC Motor New Energy Branch โดยโรงงานแห่งแรกของ AION ได้เริ่มการผลิตในเดือนเมษายน 2562 และในปี 2565 มียอดขายรถยนต์ EV ถึง 2.5 ล้านคัน มูลค่ากว่า 5 แสนล้านหยวน ทำให้บริษัทฯ ติดอันดับ 1 ใน 3 ของประเทศจีน ที่มียอดการจำหน่ายรถยนต์ EV สูงที่สุด และเป็นอันดับที่ 186 ของโลก จากการจัดอันดับของฟอร์จูน โกลบอล 500 (FORTUNE Global 500) ของบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของโลกจากการประเมินรายได้

วันที่ 31 มีนาคม 2023 AION Y Plus EV ประกาศราคาจำหน่ายอย่างเป็นทางการในจีน พร้อมเพิ่มร่อยย่อย U ทำให้มีราคาเริ่มต้น 119,800 – 153,800 หยวน หรือประมาณ 594,000 – 763,000 บาท

  • Aion เป็นแบรนด์ย่อยที่เน้น EV ของกลุ่มบริษัท Guangzhou Automobile Corporation (GAC) ซึ่งเน้นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ปัจจุบันเปิดตัว EV 4 คันรวมทั้ง GAC Aion S GAC และ Aion V EV (ต้นแบบของ Mitsubishi Airtrek EV) พวกเขามักจะกล่าวว่า เทคโนโลยีของเขาเหนือกว่า Tesla

ในแง่การออกแบบโด่ดเด่นด้วยไฟหน้าแบบ LED “Angel Wings Big Eyes” ที่ขยายใหญ่ขึ้นกระจังหน้าแบบปิด โป่งล้อในตัว ไฟท้ายใช้แบบ Through-Type ลากเชื่อมทั้งสองฝั่ง กันชนหลังขนาดใหญ่ ล้ออัลลอยลายพิเศษ 17 – 19 นิ้วตามเกรดรุ่น

  • AION Y Plus ใช้แพลตฟอร์มไฟฟ้า AEP 2.0
  • มือจับประตูซ่อนไฟฟ้า
  • ที่ปัดน้ำฝนกระจกหน้าอัตโนมัติ
  • ประตูท้ายไฟฟ้า

ขนาดตัวถัง

  • ยาว 4535 มม.
  • กว้าง 1870 มม.
  • สูง 1650 มม.
  • ฐานล้อ 2750 มม.
  • ความยาวตัวถังเพิ่มขึ้น 125 มม.
  • ระยะฐานล้อยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

ภายในห้องโดยหยิบดีไซน์ V PLUS มาใช้งาน เพิ่มโทนสีใหม่เป็น “Zero Focus Green” ได้แก่ หน้าจอสัมผัสส่วนกลางแบบลอย 14.6 นิ้ว จอดิจิตัลขนาด 12.3 นิ้ว อัพเกรด dual-screen dual-core ใช้ชิป 2 ตัวในการประมวลผลภายในห้องโดยสาร ADiGO SPACE เพิ่ม 2 เท่า อัพเกรดอัลกอริธึมการขับขี่อัจฉริยะ ADiGO PILOT อย่างเหมาะสม

  • หลังคาเป็นแบบพาโนรามา 2.2 ตร.ม.
  • รองรับการอัพเดท OTA
  • ระบบ Internet of Vehicles
  • ไฟบรรยากาศภายใน 32 สี
  • เรดาร์ถอยหลัง
  • เบาะนั่งคนขับปรับไฟฟ้า 6 ทิศทาง
  • เบาะผู้โดยสารปรับไฟฟ้า 4 ทิศทาง
  • เบาะหลังพับลงตามสัดส่วน 4/6
  • ระบบปรับอากาศอัตโนมัติ
  • ระบบจดจำใบหน้า Face ID
  • ระบบจอดรถอัจฉริยะ
  • ระบบตรวจสอบผู้ขับขี่ DMS
  • ระบบชาร์จมือถือแบบไร้สาย
  • ลำโพง 6 ตำแหน่ง

มอเตอร์ไฟฟ้าเดี่ยว

  • ให้กำลัง 134 แรงม้า
  • แรงบิด 176 นิวตัน-เมตร
  • แบตเตอรี่ลิเธียมเหล็กฟอสเฟต 51.9kWh CLTC
  • สามารถวิ่งได้ 430 กม./ชาร์จ
  • ระบบเกียร์ออลอินวันขับขี่อัจฉริยะ

มอเตอร์ไฟฟ้าเดี่ยว

  • ให้กำลัง 201 แรงม้า
  • แรงบิด 225 นิวตัน-เมตร
  • แบตเตอรี่ลิเธียมเหล็กฟอสเฟต 61.7kWh CLTC
  • สามารถวิ่งได้ 510 กม./ชาร์จ
  • ระบบเกียร์ออลอินวันขับขี่อัจฉริยะ

มอเตอร์ไฟฟ้าเดี่ยว

  • ให้กำลัง 201 แรงม้า
  • แรงบิด 225 นิวตัน-เมตร
  • แบตเตอรี่ ternary lithium battery 69.98kWh CLTC
  • สามารถวิ่งได้ 610  กม./ชาร์จ
  • ระบบเกียร์ออลอินวันขับขี่อัจฉริยะ

ระบบช่วยเหลือการขับขี่อัจฉริยะ ADiGO PILOT

  • ระบบช่วยควบคุมความเร็วของรถให้คงที่ตามที่ตั้งค่าไว้ TJA
  • ระบบช่วรเร่งความเร็ว ชะลอความเร็วอัจฉริยะ ICA
  • ระบบควบคุมความเร็วคงที่แบบปรับได้ ACC
  • ระบบช่วยเบรกอัตโนมัติ AEB
  • ระบบเตือนการชนด้านหน้า FCW
  • ระบบช่วยรักษาช่องทางเดินรถ LKA
  • ระบบเตือนรถออกนอกเลน LDW

 

 

 

 

 

Advertisement

Advertisement

คุณไม่สามารถคัดลอกเนื้อหาของหน้านี้ได้