Advertisement

Advertisement

เริ่มต้น 30 บาทต่อปี ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า BEV ในประเทศไทย ระหว่าง 2565-2568

เริ่มต้น 30 บาทต่อปี ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า BEV ในประเทศไทย ระหว่าง 2565-2568
Spread the love

Advertisement

Advertisement

ภาษีประจำปีรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย 2566 ยังคงเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาลดภาษีประจำปีสำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า พ.ศ. 2565 ที่กำหนดให้ภาษีประจำปีรถยนต์ไฟฟ้าคำนวณตามน้ำหนักรถ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 คน
    • น้ำหนักไม่เกิน 500 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 30 บาท
    • น้ำหนัก 501 – 750 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 60 บาท
    • น้ำหนัก 751 – 1,000 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 90 บาท
    • น้ำหนัก 1,001 – 1,250 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 160 บาท
    • น้ำหนัก 1,251 – 1,500 กิโลกรัม ภาษีประจำปี  200 บาท
    • น้ำหนัก 1,501 – 1,750 กิโลกรัม ภาษีประจำปี  260 บาท
    • น้ำหนัก 1,751 – 2,000 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 330 บาท
    • น้ำหนัก 2,001 – 2,500 กิโลกรัม ภาษีประจำปี  380 บาท
    • น้ำหนัก 2,501 – 3,000 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 440 บาท
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคล เกิน 7 คน
    • น้ำหนักไม่เกิน 500 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 15 บาท
    • น้ำหนัก 501 – 750 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 30 บาท
    • น้ำหนัก 751 – 1,000 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 45 บาท
    • น้ำหนัก 1,001 – 1,250 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 80 บาท
    • น้ำหนัก 1,251 – 1,500 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 100 บาท
    • น้ำหนัก 1,501 – 1,750 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 130 บาท
    • น้ำหนัก 1,751 – 2,000 กิโลกรัม ภาษีประจำปี  160 บาท
    • น้ำหนัก 2,001 – 2,500 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 190 บาท
    • น้ำหนัก 2,501 – 3,000 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 220 บาท

นอกจากนี้ รถยนต์ไฟฟ้ายังได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมจดทะเบียนครั้งแรก 2,000 บาท และค่าธรรมเนียมแรกเข้า 100 บาท

ภาษีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า (1 ต.ค. 65 – 30 ก.ย. 68)

  • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ต้องเสียภาษี 10 บาท
  • รถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องเสียภาษี 10 บาท

 

สำหรับภาษีรถยนต์ไฟฟ้าหลังวันที่ 30 กันยายน 2568 จะมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 คน
    • น้ำหนักไม่เกิน 500 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 150 บาท
    • น้ำหนัก 501 – 750 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 300 บาท
    • น้ำหนัก 751 – 1,000 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 450 บาท
    • น้ำหนัก 1,001 – 1,250 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 800 บาท
    • น้ำหนัก 1,251 – 1,500 กิโลกรัม ภาษีประจำปี  1,000 บาท
    • น้ำหนัก 1,501 – 1,750 กิโลกรัม ภาษีประจำปี  1,300 บาท
    • น้ำหนัก 1,751 – 2,000 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 1,600 บาท
    • น้ำหนัก 2,001 – 2,500 กิโลกรัม ภาษีประจำปี  1,900 บาท
    • น้ำหนัก 2,501 – 3,000 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 2,200 บาท
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคล เกิน 7 คน
    • น้ำหนักไม่เกิน 500 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 75 บาท
    • น้ำหนัก 501 – 750 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 150 บาท
    • น้ำหนัก 751 – 1,000 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 225  บาท
    • น้ำหนัก 1,001 – 1,250 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 400 บาท
    • น้ำหนัก 1,251 – 1,500 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 500 บาท
    • น้ำหนัก 1,501 – 1,750 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 650 บาท
    • น้ำหนัก 1,751 – 2,000 กิโลกรัม ภาษีประจำปี  800 บาท
    • น้ำหนัก 2,001 – 2,500 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 950 บาท
    • น้ำหนัก 2,501 – 3,000 กิโลกรัม ภาษีประจำปี 1,100 บาท

ภาษีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า

    • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ต้องเสียภาษี 50 บาท
    • รถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องเสียภาษี 50 บาท

เอกสารที่ต้องเตรียมในการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย มีดังนี้

  • เอกสารทั่วไป
    • บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถ (สำเนา)
    • หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน)
    • ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีรถยนต์ไฟฟ้า
  • เอกสารสำหรับรถยนต์
    • หนังสือแจ้งจำหน่ายจากบริษัทผู้ผลิต
    • สำเนาทะเบียนรถ (ถ้ามี)
    • ใบตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ถ้ามี)
  • เอกสารสำหรับประกันภัย
    • กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ พ.ร.บ.
    • ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ พ.ร.บ.

 

Advertisement

Advertisement

คุณไม่สามารถคัดลอกเนื้อหาของหน้านี้ได้