ปรับภาษี PHEV ครั้งใหญ่! วิ่งไฟไม่ถึง 80 กม. เจอภาษีพุ่ง 2 เท่า เริ่มปี 69

ปรับภาษี PHEV ครั้งใหญ่! วิ่งไฟไม่ถึง 80 กม. เจอภาษีพุ่ง 2 เท่า เริ่มปี 69
Spread the love

Advertisement

Advertisement

29 เม.ย. 2568 – ครม. ไฟเขียวปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ PHEV ตามข้อเสนอจากกรมสรรพสามิต ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง เผยรายละเอียดสำคัญ ดังนี้:

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงใหม่

  • แยกอัตราภาษี PHEV ออกจาก HEV เพื่อความชัดเจนและเป็นธรรม
  • เกณฑ์ภาษีใหม่พิจารณาจากระยะทางวิ่งด้วยไฟฟ้าต่อการชาร์จ 1 ครั้งเท่านั้น
  • ยกเลิกการใช้ขนาดถังน้ำมัน เป็นเงื่อนไขในการคำนวณภาษี ลดภาระผู้ผลิต และสอดคล้องกับมาตรฐานโลก

อัตราภาษีใหม่ (มีผล 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป)

  • PHEV ที่วิ่งไฟฟ้า ≥ 80 กม./ชาร์จภาษี 5%
  • PHEV ที่วิ่งไฟฟ้า < 80 กม./ชาร์จภาษี 10%

เป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง

  • ส่งเสริมการผลิต PHEV ที่มีคุณภาพสูง
  • ดึงดูดนักลงทุนและผู้ผลิตระดับโลก
  • สนับสนุนการใช้พลังงานไฟฟ้าในเมือง และลดมลพิษ

วันนี้ (29 เม.ย. 68) ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ตามที่กรมสรรพสามิตเสนอ เพื่อปรับปรุงเงื่อนไขภาษีรถยนต์ Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV) โดยมีรายละเอียดคือ

1. ให้มีอัตราภาษีที่แตกต่างจากรถยนต์ Hybrid Electric Vehicle (HEV)
2. กำหนดเงื่อนไขการคำนวณอัตราภาษีสรรพสามิตเฉพาะระยะทางการวิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้าต่อการประจุไฟฟ้า 1 ครั้ง (การชาร์จ) เท่านั้น
3. ยกเลิกขนาดถังน้ำมันให้ไม่เป็นเงื่อนไขการกำหนดอัตราภาษี PHEV เพื่อลดศักยภาพของประเทศในการเป็นศูนย์กลางการผลิต เพราะต้องผลิตถังน้ำมันที่ไม

สอดคล้องกับมาตรฐานสากล อีกทั้งยังเป็นการสร้างข้อจำกัดโดยไม่จำเป็น สร้างภาระ และทำให้ PHEV ไม่ได้รับความนิยม
สำหรับอัตราอัตราภาษีสรรพสามิต ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 มีรายละเอียดดังนี้

1) รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภท PHEV ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ที่มีระยะวิ่งด้วยระยะทางการวิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 80 กิโลเมตร ต่อการประจุไฟฟ้า 1 ครั้ง ให้มีอัตราภาษีสรรพสามิตที่ร้อยละ 5
2) รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภท PHEV ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ที่มีระยะวิ่งด้วยระยะทางการวิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้าต่ำกว่า 80 กิโลเมตร ต่อการประจุไฟฟ้า 1 ครั้ง ให้มีอัตราภาษีสรรพสามิตที่ร้อยละ 10

การกำหนดพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวสอดคล้องกับหลักสากล ช่วยส่งเสริมและต่อยอดให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ PHEV ที่มีมาตรฐานและสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย ตอบสนองการใช้รถยนต์ PHEV ที่สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าในเขตตัวเมือง และใช้พลังงานผสมในการเดินทางระหว่างเมือง

ณ ปัจจุบัน (ปี 2568) รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) ในประเทศไทยยังคงเสียภาษีสรรพสามิตในอัตราเดียวกับรถยนต์ไฮบริด (HEV) โดยพิจารณาจากปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂)

อัตราภาษีสรรพสามิตตามการปล่อย CO₂ (เริ่มใช้ 1 ม.ค. 2559)

  • รถยนต์นั่งทั่วไป (ความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี):

    • ปล่อย CO₂ ไม่เกิน 150 กรัม/กม.: 30%
    • ปล่อย CO₂ 151–200 กรัม/กม.: 35%
    • ปล่อย CO₂ เกิน 200 กรัม/กม.: 40%
  • รถยนต์ไฮบริด (HEV) ความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี:

    • ปล่อย CO₂ ไม่เกิน 100 กรัม/กม.: 10%
    • ปล่อย CO₂ 101–150 กรัม/กม.: 20%
    • ปล่อย CO₂ 151–200 กรัม/กม.: 25%
    • ปล่อย CO₂ เกิน 200 กรัม/กม.: 30%
  • รถยนต์อีโคคาร์ (Eco Car):

    • ปล่อย CO₂ ไม่เกิน 100 กรัม/กม. และใช้น้ำมัน E85 ได้: 12%
    • ปล่อย CO₂ ไม่เกิน 100 กรัม/กม.: 14%
    • ปล่อย CO₂ 101–120 กรัม/กม.: 17%
  • รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (PPV) ความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี:

    • ปล่อย CO₂ ไม่เกิน 200 กรัม/กม.: 25%
    • ปล่อย CO₂ เกิน 200 กรัม/กม.: 30%
  • รถยนต์กระบะ (Pick-up):

    • ปล่อย CO₂ ไม่เกิน 200 กรัม/กม.: 3%
    • ปล่อย CO₂ เกิน 200 กรัม/กม.: 5%

bangkokbiznews

Advertisement

Advertisement

คุณไม่สามารถคัดลอกเนื้อหาของหน้านี้ได้