BYD สั่งซื้อเรือบรรทุกรถยนต์ 8 ลำ เพื่อเร่ง การขนส่งรถยนต์ไฟฟ้าออกจำหน่ายทั่วโลก
BYD เปิดคำสั่งซื้อรถบรรทุกรถยนต์โดยเฉพาะ PCTC ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เป็นเชื้อเพลิง โดยสั่งซื้อสูงสุด 8 ลำ เพื่อขนส่งรถยนต์ลำละ 7,700 คัน รายงานระบุโดยอ้างจาก Lloyd’s List
- BYD (Build Your Dreams) เป็นบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีน ที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด พวกเขาทิ้งเครื่องยนต์สันดาปเมื่อมีนาคมที่ผ่านมา และ ก้าวสู่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และ ปลั๊กอินไฮบริดเต็มรูปแบบ
การส่งมอบรถบรรทุกรถยนต์ คาดว่าจะส่งตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป BYD มีความต้องการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้า ในต่างประเทศ เพื่อผลักดันการเติบโตในอนาคต Xinde Marine News รายงานในวันนี้
BYD ได้เจรจากับอู่ต่อเรืออย่างน้อย 3 แห่ง ได้แก่ CSSC Huangpu Wenchong Shipbuilding และ China Merchants Jinling Shipyard
รายงานระบุว่า จีนได้รับประโยชน์ในการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะการขนส่งทางเรือแบบเช่าเหมาลำ ได้เฟืองฟูอย่างมาก ณ ตอนนี้ สำหรับบริการขนส่งรถยนต์ออกจากประเทศ
BYD บริษัทรถยนต์พลังงานใหม่ (NEV) รายใหญ่ที่สุดของจีน มียอดขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 134,036 NEV คตัน ในเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา พวกเขาสามารถสถิติยอดขาย NEV แสนคัน 4 เดือนติดต่อกัน
ในเดือนมีนาคม 2022 BYD ได้ยุติการผลิตเครื่องยนต์สันดาป ICE โดย ให้ความสำคัญกับรถยนต์กลุ่มไฟฟ้า ปลั๊กอินไฮบริด PHEV , ไฟฟ้าล้วน BEV
ในช่วงครึ่งปี 2022 ระหว่าง มกราคม – มิถุนายนนี้ BEV มียอดขาย NEV สะสมกว่า 641,350 คัน ทำให้แซง Tesla ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ของโลกที่ 564,000 คัน
ปัจจุบัน BYD กลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่สุดของโลกก็ว่าได้ ถึงอย่างนั้นยอดขายดังกล่าวยังไม่สามารถยืนเหนือ Tesla ได้เพราะในเดือนเมษายน โรงงาน Tesla Giga Shanghai โรงงานในเซี่ยงไฮ้ประเทศจีน ได้ปิดสายการผลิตเนื่องจากการล็อกดาวน์เมืองเป็นเวลากว่า 1 เดือน
เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม BYD ประกาศเข้าสู่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในญี่ปุ่นด้วยการเปิดตัว 3 BEV ได้แก่ BYD Seal, Dolphin และ Atto 3 โดยจะเปิดตัว Atto 3 ในเดือนมกราคมปีหน้า Dolphin ในช่วงกลางปี 2023 และ Seal ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566
และ สำหรับประเทศไทยทาง RÊVER AUTOMOTIVE ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ BYD ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ จะประกาศเปิดตัวแบรนด์ BYD ในประเทศไทย วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 – 15.15 น.
แผนของ BYD คือการเพิ่มกำลังการผลิตอย่างรวดเร็ว เพื่อรับมือการคำสั่งซื้อที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน BYD มีคำสั่งซื้อสะสมกว่า 700,000 คันที่ยังไม่ส่งมอบ รายงานระบุโดยอ้างจากพนักงานขายของบริษัท
ฐานการผลิตของ BYD ในเหอเฟย มณฑลอานฮุย ทางตะวันออกของจีน ซึ่งเป็นโรงงานแห่งที่ 6 ของบริษัทในประเทศจีน ได้เริ่มสายการผลิตในวันที่ 30 มิถุนายน 2022
ก่อนที่ฐานการผลิตเหอเฟยจะเข้าสู่การผลิต ฐานการผลิตทั้ง 5 แห่งของ BYD ในประเทศจีนตั้งอยู่ในเซินเจิ้น ซีอาน ฉางซา ฉางโจว และฝูโจว ปัจจุบันบริษัทกำลังสร้างฐานการผลิตใหม่ในเจิ้งโจว จี่หนาน และเซียงหยาง
สำหรับฐานการผลิตของ BYD ในจี่หนาน และ เจิ้งโจวจะเปิดให้บริการภายในสิ้นปีนี้ ตามรายงานของ Jiemian
นอกจากนี้ โรงงานของ BYD ในเขต Yuhua ของ Changsha ในมณฑลหูหนาน ซึ่งหยุดการผลิตไปเมื่อสองเดือนก่อน เนื่องจากความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันได้กลับมาดำเนินการผลิตแล้ว
BYD ยังได้เข้าซื้อกิจการโรงงานของ Dorcen Motor ผู้ผลิตรถยนต์ในฝูโจว มณฑลเจียงซี ซึ่งกำลังวางแปลงสายการผลิตทั้งหมดใหม่ เพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้า
โรงงานจะเริ่มผลิตรถยนต์รุ่นต่างๆ รวมถึง Dolphin ในปีนี้ และกำลังการผลิตต่อปีจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 200,000 คัน
ตลอดระยะเวลากว่า 27 ปีแห่งการพัฒนาแบตเตอรี่ BYD เปิดตัวกว่า 70 ประเทศ 400 เมือง และ ขายรถยนต์ไฟฟ้ากว่า 1.9 ล้านคัน ลดการปล่อย C02 กว่า 11 ล้านตัน เท่ากับการปลูกต้าไม้ 896 ล้านต้น (2 มิถุนายน 2022)
Blade Battery
เทคโนโลยีแบตเตอรี่ BYD Blade ได้รับการพัฒนามาหลายปี พร้อมกับเคมิลิเธียมไออน ฟอสเฟต (LFP) แทนการผสมนิกเกิลแมงกานีสโคบอลต์ (NMC) แทนที่จะมีหลายโมดูล BYD Blade Battery จะจัดเรียงเซลล์ทั้งหมดเข้าด้วยกัน ทำให้ประหยัดพื้นที่มากกว่า 50% เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆ
- Blade Battery ของ BYD ถูกออกแบบในลักษณะ cell-to-pack technology (CTP) ซึ่งทำให้มีความหนาแน่นของพลังงานที่ค่อนข้างสูง ด้วยการแพ็คโดยตรงไม่คต้องแพ็คเซลล์ลงโมดูลก่อน ทำให้ไม่เสียพื้นที่ในการใช้งาน
- เทคโนโลยี CTP ชุดแบตเตอรี่จะถูกประกอบโดยตรงจากเซลล์โดยไม่ต้องใช้โมดูล ปัจจุบันมีผู้ผลิตแบตเตอรี่หลายรายกำลัผลิตแบบนี้ เช่น BYD Auto, CATL, LG Chem และ SVOLT
เทคโนโลยีแบตเตอรี่ CTB
CTB คือ Cell to Body แบตเตอรี่จะถูกรวมเข้ากับโครงสร้างด้านล่างของตัวรถโดยตรง ซึ่งช่วยลดพื้นที่ในการใช้งาน และ ปลอดภัยมากขึ้น
เทคโนโลยี CTB ได้ผ่านการทดสอบ ค่อนข้างหนัก เช่น นำรถบรรทุกหนัก 50 ตันเหยียบแบตเตอรี่ แต่ก็ไม่มีความเสียหาย รวมทั้งการทดสอบความร้อนอื่นๆ ที่เกินมาตรฐาน
การออกแบบนี้ทำให้มีความแข็งแกร่งในการบิดตัวของตัวเครื่องเพิ่มขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับการออกแบบทั่วไปและมากกว่า 40,000 นิวตันเมตร/°
เทคโนโลยี CTB หรือ Cell to Body ของ BYD ได้เปลี่ยนจากโครงสร้าง ของแบตเตอรี่เป็นโครงสร้างส่วนหนึ่งของรถยนต์ ซึ่งรวมพื้นตัวถังและฝาครอบด้านบนของแบตเตอรี่เข้าด้วยกัน
เทคโนโลยีแบตเตอรี่ CTB ไม่เพียงช่วยลดน้ำหนัก แต่ยังช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของชิ้นส่วนโครงสร้างในส่วนล่าง ให้สามารถมีความยืดหยุ่นมากขึ้น รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างเพื่อป้องกันการชนด้านหน้า ด้านข้าง
สำหรับเทคโนโลยีแบตเตอรี่ CTB จะถอดแบตเตอรี่ยาก และ แตกต่างจาก เทคโนโลยีสลับแบตเตอรี่ของ NIO
เนื่องจากการสลับแบตเตอรี่ต้องมีชุดแบตเตอรี่ที่อิสระ และ สามารถเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว CTB ใช้ปริมาณแบตเตอรี่ขนาดกะทัดรัด ทำให้เกิดพื้นที่ใช้งานภายในรถเพิ่มขึ้น น้ำหนักรถที่เบากว่า ค่าสัมประสิทธิ์การลากที่ต่ำกว่า และแรงต้านการหมุนที่น้อยลง
ดังนั้นจะเห็นว่า CTB มีจุดประสงค์ในการใช้งาน และ ช่วยเพิ่มระยะต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ได้ดีกว่า ตรงกันข้ามกับเทคโนโลยีสลับแบตเตอรี่อย่างรวดเร็ว ต้องใช้ชุดแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ และตัวเชื่อมที่ซับซ้อน ยุ่งยาก และ ทำให้น้ำหนักมาก
ความยากในการพัฒนาเทคโนโลยี CTB ซับซ้อนเพื่อให้บรรลุการผลิตจำนวนมาก จำเป็นต้องมีส่วน R&D หลักสองส่วน ได้แก่ ระบบแบตเตอรี่ไฟฟ้า และ การพัฒนาโครงสร้าง
BYD ซื้อเหมืองแร่ลิเธียม 6 แห่ง ในแอฟริกา
ลิเธียม เป็นทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ของการผลิตแบตเตอรี่ และ ล่าสุดทาง BYD กำลังอยู่ในการเจรจา เพื่อขอซื้อเหมืองลิเธียมในแอฟริกา 6 แห่ง
การเจรจาดังกล่าว ทำให้ BYD คาดการณ์ว่า หากสำเร็จ จะทำให้ BYD มีแบตเตอรี่เพียงพอในไตรมาสที่ 3 และ ไตรมาสต่อๆไป ตามรายงานของสื่อท้องถิ่น
ตามการคำนวณของ BYD เหมืองลิเธียม 6 แห่งมีแร่มากกว่า 25 ล้านตันโดยมีเกรดลิเธียมออกไซด์ 2.5% ซึ่งหมายความว่า มีลิเธียมคาร์บอเนตมากถึง 1 ล้านตันตามรายงาน
ฺBYD ต้องการให้ราคาของลิเธียมคาร์บอเนตต่อตันต้องต่ำกว่า 200,000 หยวน ปัจจุบันราคาลิเธียมคาร์บอเนตต่อตันสูงถึง 470,000 หยวน แม้ว่าลดลงในเดือนนี้ แต่มันก็ยังคงแพง
หากแร่ทั้งหมด 25 ล้านตันจากเหมืองในแอฟริกาถูกขุด มันจะเพียงพอสำหรับรถยนต์กว่า 27.78 ล้านคันด้วยแบตเตอรี่ 60 kWh รายงานของ The Paper
หากพิจารณารถไฮบริดที่มีความจุแบตเตอรี่เพียง 10 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง แร่ดังกล่าวจะเพียงพออย่างมากมาย
ทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า เหมืองแร่ทั้ง 6 แห่งสามารถตอบสนองความต้องการของการผลิตแบตเตอรี่ BYD ได้ซึ่งพวกเขาเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่อันดับ 3 ของโลก รองจาก LG และ CATL อาจหมายความว่าปัญหาขาดแคลนแบตเตอรี่ไฟฟ้าอาจคลี่คลายในทศวรรษหน้า