การผลิตรถยนต์ในไทยปี 63 หวั่นลดลง 50% เสี่ยงตกงาน 750,000 คน เม็ดเงินหาย 1 ล้านล้านบาท
อุสาหกรรมรถยนต์ ถือเป็นเม็ดเลือดสำคัญอย่างมากในอุสาหกรรมในประเทศไทย แม้ว่าวิกฤติ COVID-19 จะส่งผลต่อไทยไม่มากเท่าต่างประเทศ แต่ในแง่เศรษฐกิจ ถือว่ารุนแรงอย่างมาก
สภาอุสาหกรรม เผยว่า หากสถานการณ์ COVID-19 ยืดเยื้อไปจนถึง เดือน กันยายนนี้ ยอดผลิตรถยนต์ในประเทศจะสามารถทำได้เพียง 1 ล้านคัน และอาจทำให้ผู้คนตกงานเพิ่มอีก 750,000 บาท คาดการณ์เม็ดเงินหายไปจากประเทศกว่า 1 ล้านล้านบาท
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดผลิตรถยนต์ในประเทศไตรมาสแรกที่ผ่านมา (มกราคม-มีนาคม 2563) มีจำนวนทั้งสิ้น 453,682 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนเกือบ 20% ผลกระทบหลักมาจากเศรษฐกิจโลกและการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19
หากไวรัสโควิดยังยืดเยื้อไปจนถึงเดือนมิถุนายน อาจจะต้องปรับเป้าการผลิตปี 2563 ใหม่ โดยคาดว่าน่าจะทำได้เพียง 1.4 ล้านคัน และหากยังไม่จบลากยาวไปจนถึงเดือนกันยายน 2563 คาดว่าเป้าผลิตทั้งปีจะเหลือแค่ 1 ล้านคันเท่านั้น จากเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ 2 ล้านคัน แบ่งเป็นตลาดในประเทศและส่งออกอย่างละ 50%
- ยอดผลิตและยอดขาย คนละสัดส่วนกัน
และสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากคือ Supply chain ทั้งหลาย รวมถึง ช่าง แรงงานในโรงงาน พนักงานในโชว์รูม รวมทุกส่วนในอุตสาหกรรมรถยนต์กว่า 750,000 คน อาจถูกเลิกจ้างชั่วคราวจนกว่าจะกลับมาผลิตใหม่
ด้านนายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ในไตรมาสแรกปี 2563 มีทั้งสิ้น 200,064 คัน ลดลง 24.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 78,385 คัน ลดลง 23.6% รถเพื่อการพาณิชย์ 121,679 คัน ลดลง 24.4% ซึ่งผลกระทบดังกล่าวมาจากเศรษฐกิจในประเทศได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
กระทรวงอุตสาหกรรม ยังเผยว่า ผลกระทบนี้รุนแรงมาก และหนักกว่าเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 การปรับลดกำลังการผลิตจากเดิม 2 ล้านคัน เหลือแค่ 1 ล้านคัน จะทำให้สภาพเศรษฐกิจและประเทศได้เม็ดเงินน้อยลงอย่างแน่นอน และผู้คนจะตกงานเนื่องจากยอดผลิตที่ต่ำลง