Advertisement

Advertisement

เปล่งแสง ฟอร์จูนเนอร์ ตัวถังโครเมี่ยม

เปล่งแสง ฟอร์จูนเนอร์ ตัวถังโครเมี่ยม
Spread the love

Advertisement

Advertisement

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีประเด็นดราม่าของรถยนต์ฟอร์จูนเนอร์ที่เคลือบโครเมี่ยมรอบตัวถัง โดยมีหลังคาดำ ลักษณะทูโทน แต่ประเด็นคือ มีแฮซแท็กว่า สีเจ็บมากพี่ ซึ่งหลังโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ออกไปก็ตกเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมาก ว่าเป็นการกระทำที่ถูกกฎหมายหรือไม่ สามารถทำสีรถแบบนี้ได้หรือไม่

ภาพจาก เฟซบุ๊ก มะโด่ง ผู้ชายเทาเทา ได้เผยภาดังกล่าว เมื่อตัวถังโครเมี่ยมสัมผัสกับแสงอาทิตย์ จะสะท้อนแสงที่แสบตามากบนท้องถนน ทำให้เกิดการวิจารณ์ว่า ไม่เกรงใจกันบ้างเลย ? เหมาะสมกับถนนบ้านเราหรอ (อาจะเพราะนี้คือ Fortuner ทำให้เกิดเสียงวิจารณ์กันเยอะ) ลักษณะการทำตัวถังโครเมี่ยม เรามักเห็นในรถหรูเช่น Super Car มากกว่า แต่ที่แน่ๆ คือไม่ผิดกฏหมาย

ตามระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการกําหนดสีและลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ.2549 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 ไม่ได้ห้ามทำสีโครเมียมเงิน หรือสีอื่นใดที่มีลักษณะเงาสะท้อนแสง ตีความสามารถทำได้

กฎหมายเรื่องการระบุสีรถในคู่มือจดทะเบียน

การเปลี่ยนสีรถยนต์ให้ต่างไปจากที่พ่นมาจากโรงงานมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2549 กับการกำหนดสีและลักษณะของรถ โดยมีการกำหนดสีตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

  • กรณีตัวรถมีสีเดียว ให้กำหนดสีที่เป็นสีหลักโดยไม่ต้องคำนึงถึงความเข้มของสีที่แตกต่างกัน
  • กรณีที่ตัวรถมีหลายสี โดยแต่ละสีแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจนในบริเวณตัวถังส่วนที่สำคัญของรถ (ฝากระโปรงหน้า-ท้าย หลังคา หรือประตู) ให้กำหนดสีที่เป็นสีหลักเป็นสีของรถไม่เกิน 3 สี เช่น ตัวรถมีสีขาวแต่ส่วนของหลังคามีสีแดงให้กำหนดเป็นสีขาว-แดง หรือตัวรถมี 3 สีคือ สีขาว สีแดง และสีดำ ให้กำหนดเป็นสีขาว-แดง-ดำ ส่วนกรณีตัวรถมีมากกว่า 3 สี หากสามารถกำหนดสีหลักของตัวรถได้ ให้กำหนดสีหลักไว้ 2 สี เช่น สีหลักเป็นสีขาวและสีแดง ในสมุดคู่มือจดทะเบียนรถให้ระบุเป็น สีขาว-แดง-หลาย
  • กรณีสีคาดหรือแถบคาดตกแต่งรถ โดยไม่ทำให้สีหลักของรถเปลี่ยนแปลงไป ไม่ต้องกำหนดเป็นสีรถ
Grandprix.co.th

การตกแต่งตัวถังโครเมี่ยมเราเคยเห็นกันทั่วโลก และมักจะทำให้แถบอาหรับมากกว่า

Advertisement

Advertisement

ใส่ความเห็น

คุณไม่สามารถคัดลอกเนื้อหาของหน้านี้ได้