Foxconn MIH EV Open Platform แพลตฟอร์มรถยนต์ไฟฟ้า รองรับรถยนต์หลากหลาย
ปัจจุบันทาง Foxconn มีรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ 3 โมเดล ภายใต้แบรนด์ Foxtron ครอบคลุม C SUV EV ขนาดกลาง , Model E หรือ ซีดานไฟฟ้าขนาดกลาง – ใหญ่ และ Model T รถโดยสารไฟฟ้า
-
Foxconn มีชื่อบริษัทว่า Hon Hai Precision Industry Co., Ltd. ใช้ชื่อในตลาดหลักทรัพย์ว่า Foxconn เป็นบริษัทข้ามชาติ ผู้ผลิตและรับผลิตอุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Tucheng, New Taipei, ในประเทศไต้หวัน (Taiwan) จัดเป็นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเลคโทรนิกส์ และรวมถึง Circuit boards ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ภายใต้สถาปัตยกรรม MIH Open Platform แพลตฟอร์มแยกส่วน สามารถปรับใช้กับแชสซีส์ของรถยนต์ไฟฟ้าได้หลากหลาย รวมทั้ง ใช้ในรถยนต์เพื่อการพาณิชย์รูปแบบอื่นๆ
จุดเด่นของแพลตฟอร์ม MIH EV Open Platform
-
มอเตอร์ขนาด 95 kW, 150 kW และ 200 kW สำหรับเพลาหน้า และ 150 kW, 200 kW, 240 kW และ 340 kW สำหรับเพลาหลัง
-
ฐานล้อปรับขนาดความยาวระหว่าง 2.75 – 3.10 เมตรได้ แทร็คที่ปรับความกว้างจาก 1.59 เมตร ถึง 1.70 เมตร ส่วนความสูงถึงใต้้ท้องรถ ปรับได้ที่ 12.6 เซนติเมตร ถึง 21.1 เซนติเมตร
-
สามารถเลือกระบบขับเคลื่อนได้หลากหลายทั้ง ล้อหน้า / ล้อหลัง / สี่ล้อ
-
รองรับแบตเตอรี่ที่หลากหลายรวมทั้ง Solid State
-
ตัวถังใช้ระบบ mega cast เพื่อให้มีการใช้ชิ้นส่วนน้อยที่สุด
-
รองรับ 5G และ 6G ในอนาคต พร้อมระบบซอฟต์แวร์อัพเดทแบบ OTA และระบบเชื่อมต่อแบบ V2X (vehicle-to-anything)
Jack Cheng อธิบายว่าพวกเขาจะเสนอบริการประเภทต่างๆ ให้กับลูกค้า (B2B) เขาเสนอวิธีแก้ปัญหาสามวิธีและเรียก โดยแบ่งเป็น “100%”, “80%” และ “50%”
ความร่วมมือระดับ 100% หมายความว่า Foxconn จะผลิตรถยนต์ทั้งคัน ซึ่งสตาร์ทอัพ EV สามารถขายภายใต้แบรนด์ของตนได้
ความร่วมมือระดับ 80% หมายความว่า ลูกค้าจะออกแบบเองและให้ Foxconn เป็นผู้ผลิต
ความร่วมมือระดับ 50% หมายถึง Foxconn จะอนุญาต และ ขายแพลตฟอร์ม MIH เพื่อนำไปต่อยอด และพัฒนารถยนต์ของแบรนด์ต้นเอง
Foxconn ยังสัญญาว่าจะเปิดตัวแบตเตอรี่โซลิดสเตตที่ผลิตร่วมกับ CATL (Ningde) และ SES (Massachusetts Solid Energy) ในปี 2567
Jack Cheng ซีอีโอของ Foxconn Electric Vehicle unit ได้นำเสนอแพลตฟอร์ม MIH (Made in Hon Hai) โดยมีพันธมิตรกว่า 1,600 รายเข้าร่วม รวมถึงผู้ผลิตยานยนต์ บริษัทซัพพลายเชน และบริษัทซอฟต์แวร์ เช่น Microsoft, Bosh หรือ Nvidia นอกเหนือจากนั้น ผู้ผลิตรถยนต์ที่ร่วมมือกับ Foxconn ได้แก่ Byton, Fisker, Stellantis ก็เข้าร่วมฟังบรรยาย
Stellantis ร่วมมือกับ BMW และ Foxconn พัฒนาเทคโนโลยีอัตโนมัติ และ ชิปเซมิคอนดักเตอร์
-
Stellantis ร่วมมือกับ BMW ในด้านเทคโนโลยีอัตโนมัติและ Foxconn ในการผลิต ชิปคอนดักเตอร์ นี้คือพันธมิตรรายใหญ่ระดับโลก ที่พร้อมจะก้าวไปสู่ยนตกรรมไฟฟ้า
-
ผู้ผลิตรถยนต์ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจที่ไม่มีผลผูกพันกับ (MOA) กับบริษัท Hon Hai Technology Group หรือ Foxconn ซึ่งจะรับผิดชอบการออกแบบ พัฒนา กลุ่มผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์ เพื่อรองรับเครือ Stellantis โดยเฉพาะ
Foxconn เตรียมสร้างโรงงานผลิตชิป ในมาเลเชีย ร่วมกับ DNex
-
Foxconn ประกาศล่าสุด เตรียมตั้งโรงงานผลิตชิปในประเทศมาเลเซีย ร่วมกับ DNex (Dagang NeXchange Berhad) บริษัทเทคโนโลยีในมาเลเชีย เตรียมสานต่อความทะเยอทะยานรถยนต์ไฟฟ้าของ Foxconn
-
Foxconn ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของไต้หวันได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) กับบริษัทเทคโนโลยีของมาเลเซีย Dagang NeXchange Berhad (DNex) เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อสร้างและดำเนินการโรงงานสำหรับชิปในมาเลเซีย
-
หากแผนเป็นจริง จะสอดคล้องกับการผลักดันของรัฐบาลมาเลเซีย ในการสร้างอุสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ และ ถือเป็นก้าวสำหรับสำหรับการเป็น แอสเซมเบลอร์ iPhone ก็จะ เป็นการขยายธุรกิจด้านเซมิคอนดักเตอร์ และ สานฝันยานยนต์ไฟฟ้าของ Foxconn ซึ่งนับเป็นธุรกิจใหม่
-
Foxconn เข้าถือหุ้น 5.03% ใน DNex เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ให้การควบคุมทางอ้อมสำหรับโรงงานชิปขนาด ของ SilTerra ในมาเลเซีย โดยมี DNex เป็นบริษัทแม่ของ SilTerra Malaysia โดยเข้าซื้อกิจการเมื่อปีที่แล้ว
-
โรงงานที่วางแผนไว้ในมาเลเซียคาดว่าจะผลิตชิปได้ 40,000 ชิ้นต่อเดือน ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยี 28 นาโนเมตร และ 40 นาโนเมตร เป็นเทคโนโลยีการผลิตที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์ เซ็นเซอร์ วงจรรวมไดรเวอร์ และ ชิปที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อ
-
ที่ตั้งของโรงงาน และ ขนาดของการลงทุนยังไม่ได้ประกาศ รายงานระบุว่าผู้บริหารในอุตสาหกรรมชิปคาดการณ์ว่ารายจ่ายฝ่ายทุนสำหรับโครงการอาจมีตั้งแต่ 3 พันล้านดอลลาร์ ถึง 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการลงทุน
Foxconn ในไทย
-
สำหรับประเทศไทย ตามแผนธุรกิจโครงการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ปตท.ได้เริ่มรุกเข้าสู่ EV Value Chain โดยจับมือพันธมิตรทางธุรกิจ ในการพัฒนา EV Charging Platform, EV Station รวมถึงการลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า และความร่วมมือกับ Foxconn จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศ เป็นรากฐานสำคัญสู่อุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคตและเป็นต้นแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านพลังงานให้กับประเทศต่อไป
-
ในระยะแรก PTT และ Foxconn ตั้งเป้าหมายที่จะจัดตั้งแพลตฟอร์มการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และส่วนประกอบหลักต่าง ๆ แบบ end-to-end ด้วยเงินร่วมลงทุนขั้นต้น 1-2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจะขยายการลงทุนในอนาคตต่อไป