Hina Battery เริ่มผลิต แบตเตอรี่โซเดียมไอออน กลางปีหน้าที่ 1 ล้านกิโลวัตต์ (1GWh) ในจีน
China Three Gorges Corporation (CTG) ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานของรัฐประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์แรกจากสายการผลิตแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออน ในการผลิตระดับ GWh พวกเขากล่าวว่านี้คือบริษัทผลิตแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออน แห่งแรกของโลกที่ ฟู่หยาง มณฑลอานฮุย เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2022
- 1 จิกะวัตต์-ชั่วโมง [GWh] = 1,000,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง [kWh]
China Three Gorges Corporation (CTG) จะร่วมมือกับบริษัท Hina battery technology ผู้ผลิตแบตเตอรี่ในท้องถิ่น ในการสนับสนุนการผลิต สำหรับบริษัท Hina Battery ก่อตั้งขึ้นในปี 2017 และเปิดตัวแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนในปีเดียวกัน
การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ดังกล่าวถือเป็นการตอกย้ำความสามารถของสายการผลิตในการผลิตแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนระดับ GWh ในปริมาณมาก นับเป็นก้าวสำคัญของรัฐบาลท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการพัฒนา แบตเตอรี่โซเดียม-ไออน CTG กล่าว
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2021 Hina Battery ได้เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน บริษัทย่อย 2 แห่งของ CTG และรัฐบาลเมือง Fuyang เพื่อร่วมกันสร้างสายการผลิตจำนวนมากสำหรับแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนแห่งแรกของโลก
Li Shujun ผู้จัดการทั่วไปของบริษัทกล่าวในการปราศรัยในฟอรัมว่า โรงงานการผลิตแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออน ใน Fuyang มีกำลังการผลิต 3 – 5 GWh (หรือประมาณ 5 ล้าน kWh) โดยจะเริ่มผลิตภายในไตรมาสที่ 2 ของปีหน้า และจะสร้างขึ้นในสองเฟส โดยเฟสแรกมีกำลังการผลิต 1 GWh ซึ่งจะแล้วเสร็จอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 กรกฎาคม 2023
- สำหรับการผลิต 1GWh หากใช้ในรถยนต์ที่มีความจุแบตเตอรี่ 50Kwh จะสามารถป้อนการผลิตได้ 20,000 คันใน หรือ 30kWh จะสามารถใส่ในรถยนต์ไฟฟ้า 33,330 คัน
แบตเตอรี่โซเดียมไอออนในปัจจุบันของ Hina Battery มีความหนาแน่นของพลังงาน 145 Wh/kg และอายุการใช้งาน 4,500 รอบ บริษัทวางแผนเพิ่มความหนาแน่นระดับ 180 – 200Wh/kg และเพิ่มอายุการใช้งาน 8,000 – 10,000 รอบ
ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท Li Shujun กล่าวในการปราศรัยในฟอรัมว่าสายการผลิตในเมือง Fuyang มีกำหนดจะขยายกำลังการผลิต 3-5 GWh ต่อปี
ดูเหมือนว่าปี 2023 จะเป็นปีแห่งแบตเตอรี่เกลือ หรือ โซเดียม-ไอออน เพราะทาง BYD มีแผนเปิดตัวรถยนต์แบตเกลือ รวมทั้ง CATL จะเปิดตัวแบตเตอรี่เกลือเวอร์ชั่นผลิตจำนวนมาก
ข้อจำกัดของแบตเตอรี่โซเดียม
- โซเดียมหนักกว่าลิเธียมถึงสามเท่า แบตเตอรี่โซเดียมไอออนจึงหนักกว่าเช่นกัน แม้ว่าลิเธียมจะมีน้ำหนักน้อยกว่า 5% ของน้ำหนักโดยรวมของแบตเตอรี่ก็ตาม
- เนื่องจากแรงดันไฟฟ้าของเซลล์ต่ำกว่า 0.3 โวลต์ แบตเตอรี่โซเดียมจึงสูญเสียความหนาแน่นของพลังงานประมาณ 10% ซึ่งทำให้มีศักยภาพน้อยลง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกราไฟต์แอโนดก่อนหน้านี้ที่ใช้ในแบตเตอรี่ดูดซับโซเดียมน้อยเกินไป
- ข้อบกพร่องเพียงอย่างเดียวคือความหนาแน่นของพลังงานอ่อนลงเล็กน้อย
Sodium-ion battery แบตเกลือ (โซเดียม)
- แบตเตอรี่เกลือหรือ Sodium-ion มันไม่มีสารประกอบราคาแพงอย่าง ลิเธียม , โคบอล์ท หรือ นิกเกอร์ ทำให้มีราคาถูกกว่า ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า สามารถกดราคาต้นทุนลงได้มากกว่าเดิมถึง 2.5 เท่า
- เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ลิเธียมไอรอนฟอสเฟต แบตเตอรี่โซเดียมไอออนรุ่นแรกของ Ningde ในยุคนั้นได้รับชัยชนะในเกือบทุกด้าน เป็นผู้นำในด้านความปลอดภัย การชาร์จที่รวดเร็ว และประสิทธิภาพการทำงานในอุณหภูมิต่ำ
- โซเดียมไอออนไม่ได้สร้างโลหะผสมกับอะลูมิเนียมอย่างแท้จริง จึงอาจใช้ฟอยล์อะลูมิเนียมเป็นตัวเก็บกระแสไฟของขั้วลบ ทำให้ต้นทุนลดลงประมาณ 8% และลดน้ำหนักได้ประมาณ 10%
- เนื่องจากคุณสมบัติของเกลือโซเดียม จึงสามารถใช้อิเล็กโทรไลต์ความเข้มข้นต่ำเพื่อประหยัดเงินได้
- การจัดหาวัตถุดิบเกลือโซเดียมมีมากมายและราคาต่ำ วัสดุแคโทดที่มีธาตุเหล็ก-แมงกานีส-นิกเกิลถูกนำมาใช้แทนวัสดุของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน และต้นทุนวัตถุดิบจะลดลงครึ่งหนึ่ง
แบตเตอรี่โซเดียมไอออน จะช่วยลดการพึ่งพาแหล่งพลังงานแบตเตอรี่จากลิเธียมได้ เพราะปัจจุบันราคาลิเธียมซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญที่สุดสำหรับแบตเตอรี่จึงเพิ่มสูงขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้ราคาปัจจุบันของลิเธียมคาร์บอเนตเกรดแบตเตอรี่ในจีนอยู่ที่ 600,000 หยวนต่อตัน
แบตเตอรี่โซเดียมไอออนมีต้นทุนน้อยกว่า แต่มีความหนาแน่นของพลังงานต่ำกว่า และในมุมมองของนักวิเคราะห์บางคน ไม่น่าจะใช้แทนแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนได้
แบตเตอรี่โซเดียมไอออนมีโอกาสน้อยที่จะใช้แทนแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน และทั้งสองจะตอบสนองความต้องการในการใช้งานของกลุ่มตลาดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจเหมาะกับการในไปใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก หรือ รถจักรยานยนต์ไฟฟ้ามากกว่า
https://www.car250.com/byd-seagull-q2-2023.html
https://www.car250.com/catl-gen-2.html