Advertisement

Advertisement

ดับฝัน HR-V EV ฮอนด้า และ นิสสัน ไม่เข้าร่วมนโยบายหนุน EV ของไทย

ดับฝัน HR-V EV ฮอนด้า และ นิสสัน ไม่เข้าร่วมนโยบายหนุน EV ของไทย
Spread the love

Advertisement

Advertisement

ตามรายงานของ ฐานยานยนต์ ระบุว่า 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ ญี่ปุ่นอย่าง HONDA – NISSAn ไม่ขานรับนโยบายหนุน EV ของรัฐฯ และ อดได้เงินหนุน 150,000 บาทตามนโยบาลดังกล่าว ทั้งที่มีโรงงานประกอบในไทย แต่ยังไม่พร้อมดันรถยนต์ BEV

ปัจจุบันมีแบรนด์รถยนต์จีน อย่าง MG และ GWM รวมทั้ง TOYOTA บันทึกความเข้าใจ MOU กับกรมสรรพสามิตแล้ว

ตอนนี้ เป็นการยืนยันชัดเจนว่า เรายังไม่ได้เห็นรถยนต์ไฟฟ้าของ 2 แบรนด์นี้อย่างชัดเจน ทั้ง ฮอนด้า และ นิสสัน เพราะยังไม่ขอเข้าร่วมโครงการในมาตรการนี้ สำหรับรถยนต์ไฮบริดของฮอนด้า ยังคงดำเนินต่อไป แต่ใครรอ HR-V EV คงต้องดับฝันจริงๆ ณ ตอนนี้

มาตรการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าของรัฐฯ ไม่ทำให้ฮอนด้าเปลี่ยนแผนงานรถยนต์ไฟฟ้า และ ไฮบริดที่วางเอาไว้ พวกเขาระบุว่า เรายื่นแผนส่งเสริมการลงทุนต่อบีโอไอซึ่งตามกำหนดเราจะผลิต ฮอนด้า EV ในไทยปี 2568 ส่วนนิสสัน เดิมมีกำหนดเปิดตัว Ariya ในรูปแบบนำเข้าภายในปี 2565 ขณะนี้ยังไม่ามีแผนประกอบในไทย และ ความชัดเจน

ฐานยานยนต์

วันที่ 15 ก.พ.2565 ที่ประชุมครม. เห็นชอบแพ็กเกจ EV สนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ครอบคลุมทั้งการลดอากรขาเข้า ลดภาษีสรรพสามิต และการให้เงินอุดหนุน มีผลบังคับใช้ พฤษภาคม 2565

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ที่ประชุมครม.เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า หรือ แพ็กเกจรถยนต์อีวี EV ประเภทรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถกระบะ ตามมติของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ โดยรัฐบาลกำหนดตามเป้าหมายในการผลิตรถอีวีให้ได้ 30% ของการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยภายในปี 2573 

แหล่งข่าว ระบุว่า เบื้องต้นตามแพ็กเกจที่จะออกมา มีทั้งการลดอากรขาเข้า ลดภาษีสรรพสามิต และให้เงินอุดหนุน โดยมีข้อผูกผันในการผลิต และการใช้ชิ้นส่วนสำคัญในประเทศ ตามมติของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ที่ได้เห็นชอบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

มาตรการดังกล่าว กำหนด 3 รูปแบบได้แก่

  1. การส่งเสริมให้เกิดการใช้รถยนต์ไฟฟ้าชนิดใช้แบตเตอรี่หรือ BEV ภายในประเทศ
  2. การส่งเสริมการผลิต BEV เพื่อชดเชยการนำเข้า
  3. การผลิตและการใช้ชิ้นส่วน BEV สำคัญภายในประเทศ

สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ต้องผลิตเพื่อชดเชยการนำเข้าในปี 2565-2566 โดยสามารถผลิตรถรุ่นใดก็ได้

  • ลดอากรนำเข้าสูงสุด 40 % ระหว่าง 2565 – 2566
  • ลดภาษีสรรพสามิต จาก 8% เหลือ 2% ระหว่าง 2565 – 2568
  • เงินหนุนระหว่างปี 2565 – 2568
    • แบตเตอรี่ต่ำกว่า 30kWh ได้เงินหนุน 70,000 บาท
    • แบตเตอรี่สูงกว่า 30kWh ได้เงินหนุน 150,000 บาท

สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าราคาเกิน 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 7 ล้านบาท

  • ลดอากรนำเข้าสูงสุด 20 % ระหว่าง 2565 – 2566
  • ลดภาษีสรรพสามิต จาก 8% เหลือ 2% ระหว่าง 2565 – 2568

ต้องเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมภายในประเทศ, ผลิตรถยนต์ชดเชยในปี 2567 เท่ากับจำนวนที่นำเข้า CBU ในปี 2565-2566 หากจำเป็นต้องขยายเวลา การผลิตชดเชยได้ถึง 2568 และจะต้องผลิตในอัตราส่วน 1 ต่อ 1.5 เท่า (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1.5 คัน)

รถจักรยานยนต์

  • ราคาขายปลีกไม่เกิน 150,000 บาท รับเงินหนุน 18,000 บาทต่อคันทั้ง CKD และ CBU (ปี 2565-2568)

ต้องเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมภายในประเทศ, ผลิตรถยนต์ชดเชยในปี 2567 เท่ากับจำนวนที่นำเข้า CBU ในปี 2565 – 2566 หากจำเป็นต้องขยายเวลาการผลิตชดเชยได้ถึงปี 2568 โดยจะต้องผลิตในอัตราส่วน 1 ต่อ 1.5 และต้องเลือกผลิตรถยนต์จากรถรุ่นใดรุ่นหนึ่งที่ได้นำเข้ามาในช่วงปี 2565 – 2566 เท่านั้น

รถกระบะ ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท

  • ลดภาษีสรรพสามิตเป็น 0% ในปี 2565-2568
  • เงินหนุน 150,000 บาท ปี 2565 – 2568 สำหรับกระบะ BEV แบตเตอรี่ขนาดตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป (เฉพาะรถยนต์กระบะที่ผลิตในประเทศ เท่านั้น)

Advertisement

Advertisement

ใส่ความเห็น

คุณไม่สามารถคัดลอกเนื้อหาของหน้านี้ได้