สภายุโรป ห้ามขายรถยนต์สันดาป ICE ภายในปี 2035
รัฐสภาสหภาพยุโรปลงมติห้ามขายรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วย ICE หรือ รถยนต์สันดาปตั้งแต่ปี 2035 กฏหมายใหม่ยังรวมเป้าหมายการลดการปล่อยมลพิษขั้นกลางสำหรับปี 2030 โดยจะครอบคลุมรถยนต์ 50% และ รถตู้ 50%
การขายรถยนต์ รถตู้ เบนซิน และ ดีเซล จะถูกห้ามขายในสุโรปตั้งแต่ปี 2035 สิ่งนี้จะทำให้รถยนต์สันดาปภายในสิ้นสุดในยุโรปอย่างเป็นทางการ
กฎหมายดังกล่าวซึ่งสอดคล้องกับความทะเยอทะยานด้านสภาพอากาศที่เพิ่มขึ้นของสหภาพยุโรป ได้รับเสียงสนับสนุน 340 เสียง ไม่เห็นด้วย 279 เสียง และงดออกเสียง 21 เสียง แม้ว่าประเทศสมาชิก 27 ประเทศจะตกลงกับฝ่ายนิติบัญญัติเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว แต่พวกเขายังคงต้องอนุมัติกฎใหม่อย่างเป็นทางการก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ คาดว่าจะได้รับการอนุมัติขั้นสุดท้ายในเดือนมีนาคม 2023
Jan Huitema หัวหน้าคณะเจรจาด้านกฎของรัฐสภายุโรปกล่าวว่ากฎระเบียบนี้สนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ โดยเสริมว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่แพงมาสู่ผู้บริโภค เพราะเขามั่นใจว่าต้นทุนการสร้างรถยนต์ไฟฟ้าจะต่ำกว่ารถยนต์สันดาป
ทั้งหมดอยู่ภายใต้มาตรฐานการปล่อยมลพิษ Euro 7 อาจถึงจุดจบสำหรับรุ่นเครื่องยนต์เผาไหม้อย่างชัดเจนในยุโรป และ กำหนด มาตรฐานใหม่ของรถที่จะต้องลดการปล่อย CO2 มากขึ้นจากเดิม โดยจะส่งผลโดยตรงกับสันดาป รวมทั้งปลั๊กอินไฮบริดต้องเร่งไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าให้เร็วขึ้นอีก
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการยุโรปเสนอมาตรฐาน EURO 7 เข้าสู่การ พิจารณา โดยมาตรฐานหรือข้อบังคับฯ นี้คาดว่าจะสามารถลดมลพิษที่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำของ EURO 6 ได้ ถึงร้อยละ 75 และมาตรฐาน EURO 7 นี้จะมีผลบังคับใช้กับตั้งแต่ยานพาหนะที่ใช้ในอตุสาหกรรมเบา รถยนต์ นั่งส่วนบุคคลไปจนถึงรถบบรทุกขนาดใหญ่ และยังรวมไปถึงกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า ที่แม้ไม่มีการปล่อยไอเสียจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์
แต่มาตรฐาน EURO 7 กำหนดให้รถยนต์นั่งไฟฟ้าส่วนบุคคล EV ต้องลดมลพิษหรือ ฝุ่นผงที่เกิดจากการเบรค เนื่องจากน้ำหนักตัวรถที่มากขึ้น อันเป็นผลมาจากแพคแบตเตอรี่ ทำให้ระบบเบรค แรงเสียดทานที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า EV ปล่อยมลพิษจำนวนมากออกมา ทั้งยังกำหนดให้แบตเตอรี่ที่ใช้กักเก็บ พลังงานในรถยนต์ไฟฟ้าประเภท EV ปลั๊กอินไฮบริด และไฮบริด ให้มีประสิทธิภาพในการกักเก็บพลังงานไม่ต่ำ กว่าร้อยละ 80 หลังจากการใช้งาน 5 ปีหรือ 100,000 กิโลเมตร และไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 หลังจากการใช้งาน 8 ปีหรือ 160,000 กิโลเมตร
แต่ในยานพาหนะขนาดใหญ่อย่างรถบรรทุกและรถบัส มีการลดมาตรฐาน แบตเตอรี่ลงเล็กน้อย โดยกำหนดให้ประสิทธิภาพการกักเก็บพลังงานอยู่ที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 หลังการใช้งาน 5 ปีหรือ 100,000 กิโลเมตร และไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 หลังจากการใช้งาน 8 ปีหรือ 160,000 กิโลเมตร สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล มาตรฐาน EURO 7 ยังคงกำหนดให้รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลสามารถ ปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ หรือ NOx ได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัม/กิโลเมตร
และสำหรับรถยนต์เครื่องยนต์ เบนซินนั้น สามารถปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ หรือ NOx ได้ไม่เกิน 60 มิลลิกรัม/กิโลเมตร แต่สำหรับ รถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมหนักนั้น จะมีการปรับมาตรฐานการปล่อยก๊าซให้มีความ เข้มงวดมากชึ้น นอกจากนี้คณะกรรมาธิการฯ ยังได้เสนอแนวทางในการตรวจสภาพรถยนต์ที่เข้มงวดมากขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนมนุษย์ เพื่อลดความผิดพลาดและเพิ่มความโปร่งใสในการตรวจสภาพ
กล่าวคือ มาตรฐาน EURO 7 นี้ แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะปรับปรุงมาตรฐานของรถยนต์ไฟฟ้า และ รถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมหนักให้มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทันทีที่คณะกรรมาธิการฯ เสนอมาตราฐาน EURO 7 เข้าสู่การพิจารณา
นาย Oliver Zipse ประธานสมาคมผู้ผลิตรถยนต์แห่งยุโรป (ACEA) และผู้บริหาร BMW ได้แสดงถึงความกังวลต่อมาตรฐาน ดังกล่าว โดยเห็นว่าประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้จากการบังคับใช้มาตรฐานฯ นั้นมีจำกัดมาก และกลับทำให้ ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก และส่งผลต่อราคารถยนต์ที่จะเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มรถยนต์ขนาด ใหญ่อย่างรถบรรทุกและรถบัส ในขณะเดียวกัน กลุ่มองค์กรภาคประชาชนและผู้บริโภคผู้รักษ์สิ่งแวดล้อมกลับ เห็นมาตรฐาน EURO 7 นั้นหละหลวมและมีการปรับปรุงน้อยเกินไป เมื่อเทียบการปรับมาตรฐานจาก EURO 5 เป็น EURO 6
ที่มา:Kreiszeitung.de
ภายในปี 2027 มาตรฐาน EURO 7 สำหรับ รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด จะมีการปล่อยไอเสีย CO2 ต่อหน่วย G/KM มากกว่ามาตรฐานปัจจุบันถึง 2 ของ EURO6
- เพิ่มค่า UF (utility factor) คือตัวเลจอัตราการปล่อย CO2 ของเครื่องยนต์สันดาป และ ในโหมด EV โดยจะมีมาตรฐานที่ 800 ภายในปี 2025 และ เพิ่มขึ้น 4,000 ในปี 2027
- เร่งค่ายรถยนต์ในยุโรปให้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ไม่ใช่สันดาป และ ปลั๊กอินไฮบริด
- ค่าเฉลี่ยการปล่อย CO2 ของรถ PHEV ประมาณ 130 g/km มาตรการใหม่จะลดค่าเฉลี่ยให้อยู่ที่ 42 g/km คาดว่าต้องเพิ่มแบตเตอรี่ขนาด 30 – 40kWh เข้าไปถึงสามารถลด่านั้นได้ แสดงว่าต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น
มีรายงานว่าผู้ผลิตรถยนต์กังวลว่ามาตรฐานการปล่อยมลพิษ Euro 7 ที่กำลังจะกำลังจะมาถึง เป็นการเพิ่มต้นทุนอย่างมากในการปฏิบัติตามข้อกำหนด ถึงจุดที่ไม่สามารถสร้างผลกำไรได้อีก ในการสร้างรถยนต์ไม่มีระบบปลั๊กอินไฮบริดหรือระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า
มาตรฐานยูโร 7 จะช่วยลดการปล่อยมลพิษสูงสุด และเข้มงวดกว่า EURO6 คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 2025 หรืออีก 4 ปีข้างหน้า ตามรายงานของ Autonews Europe
วิศวกรอาวุโสของ VW ระบุว่า หากปล่อยมาตรฐาน EURO7 จากกลุ่มที่ปรึกษาด้านมาตรฐานการปล่อยยานพาหนะของสหภาพยุโรปมีผลบังคับใช้ตอนนี้ ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมันจะต้องเพิ่มราคาสินค้าของตัวเองอย่างแน่นอน
หากขยายเงื่อนไขขอบเขตการทดสอบให้รวมถึงการขับขี่ขึ้นเนิน และการลากจูง นั่นจะเป็นจุดจบของเครื่องยนต์สันดาป แม้แต่ขุมพลังแบบไฮบริด 48V ก็ยังไม่ตอบสนองได้ในทุกสถานการณ์ ณ์” เขากล่าว ในขณะที่ปฏิเสธที่จะอ้างชื่อ
เราจำเป็นต้องพิจารณาความจริงที่ว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถซื้อรถไฮบริดปลั๊กอินใหม่หรือรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ เพราะด้วยราคาที่เพิ่มขึ้น
ไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการ จำกัด NOx ที่ 30 มก. / กม. เป็นไปได้ในทางเทคนิคในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขับขี่บนถนนทุกรูปแบบ นอกจากนี้ยังจะต้องปฏิบัติตามขีด จำกัด เดียวกันภายใต้สภาพการขับขี่ที่เหมือนเดิม
ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม บรรทัดฐานใหม่เหล่านี้ หากบังคับใช้เมื่อใด วันของเครื่องยนต์สันดาปที่ไม่ใช้พลังงานไฟฟ้าจะมีจุดจบอย่างแน่นอนบนมาตรฐาน EURO
มาตรฐานไอเสีย EURO 6 เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกันยายน 2014 ที่รถยนต์เครื่องยนต์เบนซิน และดีเซล ทุกชนิด ต้องปฏิบัติตาม เพื่อลดค่าไอเสียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้ง ไนโตรเจน อ็อกไซด์ NOx, คาร์บอน มอนน็อกไซด์ CO, ไฮโดร คาร์บอน THC and NMHC และ ฝุ่นละออง PM ซึ่งผลกระทบของเครื่องยนต์ที่สามารถลดค่ามลพิษต่างเหล่านี้ จะทำให้เครื่องยนต์ประหยัดเชื้อเพลิงได้เพิ่มขึ้น และลดมลพิษจาก คาร์บอน ไดอ็อกไซด์ CO2
มาตรฐานไอเสีย EURO6 มีทั้งข้อดีและข้อเสียกล่าวคือ ผู้ผลิตรถยนต์ต้องพัฒนาและวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อผลิตเครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีของเครื่องยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่ต้องปรับเปลี่ยนมาตรฐานไปในทุกค่ายในอุตสาหกรรมยานยนต์ และผู้บริโภคอาจต้องจ่ายเพิ่มในช่วงแรกๆ แต่ผู้บริโภคเองสามารถสังเกตได้จากป้ายแสดงอัตราความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง และอัตราการปล่อยค่าไอเสีย ที่ปรับปรุงดีขึ้นกว่าเดิม
สหภาพยุโรป บรรลุข้อตกลง ห้ามขายเบนซิน และ ดีเซล ตั้งแต่ปี 2035
วันที่ 28 ตุลาคม 2022 สหภาพยุโรป ตกลงอย่างเป็นทางการในการห้ามขายรถยนต์สันดาป เบนซิน และ ดีเซล ตั้งแต่ปี 2035 เป็นต้นไป ภายใต้ความร่วมข้อตกลงจากสถาบันหลักสามแห่งของสหภาพยุโรป สถาบันหลักสามแห่งของสหภาพยุโรป ได้แก่ ฝ่ายบริหาร รัฐสภา และรัฐสมาชิกทั้งหมด ได้ตกลงในแผนการห้ามการขายรถยนต์สันดาป ICE ใหม่ตั้งแต่ปี 2035 เป็นต้นไป โดยอนุญาติให้ขายได้เพียงรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์เท่านั้น เงื่อนไขดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธิ์ ” FIT FOR 55″
- Fit for 55 มีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยมลพิษที่ทำลายสภาพภูมิอากาศลง 55% ภายในปี 2030 เมื่อเทียบกับระดับ 1990 และบรรลุความเป็นกลาง หรือ 100% ของสภาพอากาศภายในปี 2035
ดูเหมือนว่านี้จะเป็นตัวเร่ง ให้ยุโรปปรับตัวอย่างหนัก (ปัจจุบันกำลังปรับตัวอย่างหนักเช่นกัน) เพื่อทำให้เครื่องยนต์สันดาปหายไปโดยมีกรอบเวลา 12 ปี ถึงปี 2035 มีข้อยกเว้นบางประการเนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์เฉพาะกลุ่มที่ผลิตรถยนต์ 1,000 ถึง 10,000 คันต่อปี จะได้ยกเว้นอีกหนึ่งปี ถึงปี 2036 และ แบรนด์พิเศษ ที่ผลิตรถยนต์น้อยกว่า 1,000 คันต่อปี จะได้รับการยกเว้น ก่อนที่จะก้าวไปสู่การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ผู้ผลิตรถยนต์ในยุโรป ต้องพัฒนาเครื่องยนต์สันดาปให้สะอาดมากขึ้น ด้วยการเสริมไฮบริด หรือ ปลั๊กอินไฮบริดเข้าไป ภายในสิ้นทศวรรษนี้ หรือไม่ก็ผลิตไฟฟ้า BEV 100% แม้ว่าข้อตกลงดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงเฉพาะในประเทศในสหภาพยุโรป แต่การตัดสินใจห้ามการขายรถยนต์ ICE ใหม่ ภายในปี 2035 ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า จะมีผลต่อการขายรถยนต์ทั่วโลกของแบรนด์ยุโรปชั้นนำ ปัจจุบันมีแบรนด์รถยนต์มากมายกำลังอำลา เครื่องยนต์สันดาปอย่าง Jaguar จะยกเลิกขาย ICE ขายในปี 2025 ในขณะที่แบรนด์เครือ Stellantis ทั้งหมด (Alfa Romeo, Peugeot, Citroën, Jeep ฯลฯ) จะเปิดตัว EV รถยนต์ไฟฟ้าล้วนภายใน 7 ปี รวมทั้ง Ford, Volvo, Bentley และ Rolls-Royce , MINI ก็ไปใช้ไฟฟ้าเช่นกัน VW ประกาศเมื่อเร็วๆนี้ว่า จะผลิตเพียงรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2033 สหภาพยุโรปมีทั้งหมด 27 ประเทศ แต่อีกหลายๆ ประเทศอาจเข้าร่วมในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า อย่างเช่น แอลเบเนีย มอลโดวา สาธารณรัฐมาซิโดเนียเหนือ มอนเตเนโกร เซอร์เบีย ตุรกี และยูเครน ตามที่รายงานโดย Automotive News Europe ฟรานส์ ทิมเมอร์แมนส์ กรรมาธิการด้านนโยบายการดำเนินการด้านสภาพอากาศของสหภาพยุโรป (EU’s Commission for Climate Action Policy) กล่าวว่า “ผู้ผลิตรถยนต์ในยุโรปได้พิสูจน์แล้วว่าพวกเขาพร้อมที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ ด้วยรถยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาจับต้องได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เข้าสู่ตลาด ความเร็วที่การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นน่าทึ่งมาก” Oliver Zipse ประธาน ACEA และ CEO ของ BWM กล่าวว่า “เราตอบรับเงื่อนไขดังกล่าว เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นนโยบายของสหภาพยุโรป ที่จะใช้พลังงานหมุนเวียน และ พร้อมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐฯ และ เอกชน” ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปต้องนำข้อบังคับนี้ไปใช้ในกฎหมายระดับประเทศ ไม่มีแผนห้ามขับรถเครื่องยนต์สันดาป แต่หวังว่าในอนาคตรถยนต์สันดาปจะแทนด้วยรถยนต์ไฟฟ้า
#FitFor55 | DEAL! We have just reached a provisional political agreement between the @EUCouncil and the @Europarl_EN on the CO2 emission standards for cars and vans
This is the first agreed proposal from the Fit for 55 package.#EU2022CZ More ⬇️https://t.co/OrnHFUAKF4 pic.twitter.com/ncpeXTg1jY — EU2022_CZ (@EU2022_CZ) October 27, 2022