Advertisement

Advertisement

ไทยเตรียมพัฒนา รถมินิบัสไฟฟ้า ขับขี่อัตโนมัติ จุได้ 15 ที่นั่ง ความเร็วสูงสุด 35 กม./ชม.

ไทยเตรียมพัฒนา รถมินิบัสไฟฟ้า ขับขี่อัตโนมัติ จุได้ 15 ที่นั่ง ความเร็วสูงสุด 35 กม./ชม.
Spread the love

Advertisement

Advertisement

 

 

 

 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสิริ เวนเจอร์ส และกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประสบความสำเร็จในการพัฒนาต้นแบบยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติในรูปแบบรถกอล์ฟไฟฟ้าแบบ 6 ที่นั่ง ภายใต้  ‘เทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ หรือ Autonomous Vehicle’ 

ล่าสุด สวทช. จับมือกับ บริษัทพนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ต่อยอดงานวิจัยพัฒนา ‘ต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้าขนาดเล็กขับขี่อัตโนมัติ’ ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

นายสุธี โอฬารฤทธินันท์ ทีมวิจัยเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการขนส่ง ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ สวทช. กล่าวว่า จากความสำเร็จในการพัฒนารถกอล์ฟขับขี่อัตโนมัติขนาด 6 ที่นั่ง ทีมวิจัยตั้งเป้าขยายผลสู่การพัฒนาต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้าขนาดเล็กขับขี่อัตโนมัติ ระดับที่ 3 (รถยนต์ขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติแต่มีผู้ขับขี่คอยเฝ้าระวังและแทรกแซงในกรณีที่ฉุกเฉิน)

  • ตัวรถบรรทุกผู้โดยสารได้ 15 ที่นั่ง ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า
  • ความเร็วสูงสุด 35 กม./ชม. เป็นโครงการวิจัยร่วมกับบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ซึ่งมีความเชี่ยวชาญการผลิตรถบรรทุกเป็นทุนเดิม

“ในการดำเนินโครงการ ทีมวิจัยได้พัฒนาระบบ 2 ส่วนหลักๆ คือ แพลตฟอร์มยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (EV Platform) และระบบขับขี่อัตโนมัติ  (Autonomous Vehicle) โดยในส่วนของ EV Platform มีการพัฒนาตั้งแต่เรื่องของการออกแบบโครงสร้างยานยนต์ไฟฟ้า การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ การออกแบบวงจรไฟฟ้าเพื่อควบคุมการทำงาน รวมถึงการศึกษาเรื่องพลศาสตร์ยานยนต์ (Vehicle Dynamics) คือศึกษาสาเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของรถ เช่น โครงสร้างและน้ำหนักรถที่ออกแบบมามีผลต่อสมรรถนะการขับขี่หรือไม่ รถสามารถใช้ความเร็ว การเลี้ยว หรือเข้าโค้งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด ส่วนระบบ Autonomous Vehicle เป็นการพัฒนาระบบควบคุมและสัญญาณให้มีความเหมาะสมมากขึ้น จากเดิมที่ใช้กับรถกอล์ฟมาสู่รถโดยสารขนาดเล็ก ต้องศึกษาทั้งการใช้เซนเซอร์ตรวจวัดสัญญาณ ระบบสั่งการ ระบบ Machine Learning รวมถึงระบบนำทางให้มีความเหมาะสมกับขนาดของรถ”

นายสุธี กล่าวว่า ในการพัฒนายานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ ทีมวิจัยได้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (Computer-Aided Engineering: CAE) มาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาระบบ EV Platform เช่น การออกแบบโครงสร้างรถยนต์ การจำลองระบบควบคุม การขับเคลื่อนของรถในลักษณะต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ผลการทำงานและปัญหาเบื้องต้นก่อนที่จะนำไปใช้สร้างต้นแบบรถจริง ขณะเดียวกันเมื่อทีมวิจัยสร้างต้นแบบรถมินิบัสไฟฟ้าเสร็จแล้ว เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรมยังมีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาการเรียนรู้ของระบบ Autonomous Vehicle โดยใช้จำลองเส้นทางการเดินรถ และเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อสร้างระบบการรู้จำและการตัดสินใจของระบบควบคุมอัตโนมัติให้ขับขี่ได้อย่างปลอดภัย ก่อนนำมาติดตั้งจริงในรถต้นแบบ

“ขณะนี้การดำเนินโครงการยังอยู่ระหว่างการออกแบบและคำนวณทางวิศวกรรม โดยคาดว่าจะสามารถผลิตต้นแบบรถมินิบัสไฟฟ้าขับขี่อัตโนมัติเสร็จภายในปี 2566 และจะทดสอบเดินรถในพื้นที่ปิด คืออุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี เพื่อเก็บข้อมูลและประเมินสมรรถนะการขับขี่ของรถ รวมถึงปรับจูนระบบ EV Platform และ Autonomous ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท้ายที่สุดหวังว่าองค์ความรู้ในการพัฒนาต้นแบบรถมินิบัสไฟฟ้าขับขี่อัตโนมัติที่พัฒนาขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยในการนำไปใช้พัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ รวมถึงอาจนำไปใช้ทดสอบเป็นพาหนะเชื่อมโยงเครือข่ายขนส่งสาธารณะจากรถไฟฟ้าสายสีแดงมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็นต้น”

‘เทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ’ นับเป็นนวัตกรรมแห่งอนาคตที่กำลังถูกจับตาและมีแนวโน้มความต้องของตลาดเพิ่มขึ้น การออกแบบและพัฒนาต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้าขนาดเล็กที่มีการขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติได้เองในประเทศไทยจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างมากในการเร่งปรับตัวและก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังช่วยพัฒนายกระดับขีดความสามารถและศักยภาพด้านยานยนต์สมัยใหม่ให้กับอุตสาหกรรมในประเทศ

 

Autopilot มี 5 ระดับ ได้แก่

  • ระดับ 1 จะมีระบบอัตโนมัติ ช่วยเหลือผู้ขับขี่ เช่น การบังคับเลี้ยวหรือการเร่งและควบคุมความเร็วคงที่ รวมทั้งระบบควบคุมความเร็วคงที่แบบปรับความเร็วอัตโนมัติ ซึ่งสามารถควบคุมยานพาหนะไว้ในระยะที่ปลอดภัยต่ออุบัตเหตุ ซึ่งคุณสมบัติ Level 1 ยังต้องการวิจารณญาณของมนุษย์คนขับ ตรวจสอบการใช้ฟังก์ชั่นช่วยขับขี่ร่วมด้วย
  • ระดับ 2 จะมีระบบ ADAS หรือ Advanced Driver Assistance Systems ซึ่งเป็นระบบบังคับเลี้ยวอัตโนมัติคู่กับระบบควมคุมอัตราเร่งและปรับความเร็วให้ทำงานประสานกันผ่านกลไกการควบคุมที่ซับซ้อน… ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ทุกค่ายล้วนใส่เงินไปกับการวิจัยระบบ ADAS ต่อเนื่องมานาน
  • ระดับ 3 จะมีความสามารถในการตรวจจับสภาพแวดล้อม และสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดเช่น การเร่งแซงรถที่ช้า แต่ระบบก็ยังต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์ แม้มนุษย์ไม่ต้องเหยียบคันเร่งถือพวงมาลัย… แต่ผู้ขับขี่จะต้องตื่นตัวและพร้อมที่จะเข้าควบคุมทันทีหากระบบผิดพลาด ซึ่งส่วนใหญ่ระบบจะออกแบบให้ตรวจสอบเงื่อนไขการทำงานอัตโนมัติตลอดเวลา และหาก Condition หรือเงื่อนไขการทำงานในระบบผิดพลาด… รถจะมีฟังก์ชั่นขอความช่วยเหลือจากมนุษย์ติดมาด้วย
  • ระดับ 4 ไม่ต้องมีมนุษย์คอยช่วยเหลือในยามเข้าตาจนเหมือน Level 3 อีกเลย แม้จะมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นทั้งในระบบและสภาพแวดล้อมภายนอก หรือแม้แต่เกิดขัดข้องขึ้น พาหนะ Level 4 ก็จะจัดการความผิดปกติและบกพร่องทั้งหลายได้เอง โดยพึ่งพาและปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ในฐานะผู้โดยสาร มากกว่าจะพึ่งพามนุษย์ในฐานะผู้ควบคุมปกป้องความผิดพลาด พาหนะ Level 4 สามารถทำงานในโหมดขับขี่ด้วยตนเอง หรือ Self-Driving Mode ได้อย่างสมบูรณ์
  • ระดับ 5 ไม่ต้องการความช่วยเหลือใดๆ จากมนุษย์อีก เพราะระบบจะทำงาน Dynamic Driving Task เต็มประสิทธิภาพ เทียบเท่าระดับเดียวกับ หรือ ดีกว่ามนุษย์ที่มีทักษะการขับรถยอดเยี่ยมที่สุด… พาหนะ Level 5 จึงไม่มีแม้แต่พวงมาลัย แป้นเหยียบคันเร่งและแป้นเบรก ทำให้พาหนะ Level 5 เป็น Fully Autonomous Cars ซึ่งเป็นเป้าหมายความสำเร็จของการพัฒนายานพาหนะบนพื้นผิวยุคต่อไป…

 

Advertisement

Advertisement

คุณไม่สามารถคัดลอกเนื้อหาของหน้านี้ได้