Motor Show ต้องจัด รถต้องขาย ท่ามกลาง COVID-19 และ คนตกงานเพียบ
บางกอก อินเตอร์เนชันแนล มอเตอร์โชว์ จัดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรก ปี 2522 ช่วง 2 – 6เมษายน ณ สวนลุมพีนี นับตั้งแต่นั้น การจัดงานนี้มีมาแล้วกว่า 40 ครั้ง (ครั้งที่ 41 คือปี 2563 เลื่อน 3 รอบ)
กำไรของบริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (GPI)
- ปี 2558 กำไร 126 ล้านบาท
- ปี 2559 กำไร 120 ล้านบาท
- ปี 2560 งวด 9 เดือนแรก กำไร 158 ล้านบาท
- ปี 2561 กำไร 119 ล้านบาท
- ปี 2562 กำไร 117.74 ล้านบาท
ขอขอบคุณข้อมูล ลงทุนแมน และ GPI
รายได้กว่า 70% ของ บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (GPI) มาจากงาน Motor Show (Bangkok International Motor Show) ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ ด้วยการมีผู้เข้าชมกว่า 1.7 ล้านคนต่อปี สามารถทำยอดขายรถยนต์ และ จักรยานยนต์ได้หลายหมื่นคันต่อปี
ยอดจองรถยนต์ภายในงาน Motor Show
- Motor Show 2016 : 32,571 คัน
- Motor Show 2017 : 31,031 คัน
- Motor Show 2018 : 36,941 คัน
- Motor Show 2019 : 37,769 คัน
ยอดขายรถยนต์ในประเทศไทย
- ปี 2561 1,000,000 คัน
- ปี 2562 940,000 คัน
จะเห็นได้ว่า งาน Motor Show สามารถสร้างยอดขายให้ไทยเพิ่มอีกประมาณ 35,000 คัน หรือคิดเป็นประมาณ 3.5% ของยอดขายทั้งประเทศ เรามาดูกันว่าเดือนที่มีงาน Motor Show จะมียอดขายเพิ่มขึ้นจากเดือนปกติสักเท่าไหร่ ?
ทีมงานขอรวมยอด เดือนมีนาคม – เมษายน ของยอดจองในปีนั้น เพราะงาน Motor Show จัดควบปลายเดือน มีนาคม ชนต้นเดือนเมษายน
- มีนาคม – เมษายน 61 – ยอดจอง 174,288 คัน
- มีนาคม – เมษายน 62 – ยอดจอง 189,240 คัน
ยอดขายเดือนอื่นๆ ระหว่าง มิถุนายน – กรกฏาคม
- มิถุนายน – กรกฏาคม 61 – ยอดจอง 169,800 คัน
- มิถุนายน – กรกฏาคม 62 – ยอดจอง 167,092 คัน
ในเดือนกรกฏาคม มีงาน Bangkok Auto Salon
จะเห็นว่ายอดจองรถยนต์ภายในงาน มอเตอร์โชว์ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ยอดขายรถยนต์ในประเทศเพิ่มขึ้น งานนี้หากไม่จัด คงไม่ได้ เพราะเนื่องจากในปี 2563 สภาพเศรษฐกิจ และไวรัส COVID-19 ระบาดในประเทศ งาน Motor Show เลื่อนรอบที่ 3 เป็นวันที่ 13 – 26 กรกฎาคม 2563
แต่มีอยู่อย่างหนึ่ง งานจัดได้ แต่ช่วงนี้ โปรต้องหนักจริง คนถึงซื้อรถ เพราะด้วยสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ คนจะเก็บเงินมากกว่า
การประเมินสถานการณ์อุสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยคาดว่าในสถานการณ์แรก ไตรมาส 2 ประเทศไทยผลิตได้ 1,400,000 คัน ส่งออก 700,000 คัน ขายในประเทศ 700,000 คัน
หากเลวร้ายกว่านั้น คือฟื้นตัวในไตรมาส 3 ผลิตในเทศ 1,000,000 คัน ส่งออก 500,000 คัน ขายในประเทศ 500,000 คัน
ผลกระทบดังกล่าว แค่เริ่มต้น ยังมีหลายจุดที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติในครั้งนี้ บริษัทโลจิสติกส์ ผู้ประกอบการรถเทรลเลอร์ตามโชว์รูมได้รับผลเช่นกัน
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดผลิตรถยนต์ในประเทศไตรมาสแรกที่ผ่านมา (มกราคม-มีนาคม 2563) มีจำนวนทั้งสิ้น 453,682 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนเกือบ 20% ผลกระทบหลักมาจากเศรษฐกิจโลกและการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19
กระทรวงอุตสาหกรรม ยังเผยว่า ผลกระทบนี้รุนแรงมาก และหนักกว่าเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 การปรับลดกำลังการผลิตจากเดิม 2 ล้านคัน เหลือแค่ 1 ล้านคัน จะทำให้สภาพเศรษฐกิจและประเทศได้เม็ดเงินน้อยลงอย่างแน่นอน และผู้คนจะตกงานเนื่องจากยอดผลิตที่ต่ำลง
การจัดโปรโมชั่น ขับฟรี ลดแหลก แจกแถม เป็นเพียงกระตุ้นตลาดในระยะแรก และ ระยะสั้นเท่านั้น ดังนั้นมาตรการที่จะออกมาควรมุ่งส่งเสริมกระตุ้นตลาดระยะยาวอย่างน้อย 3 ปี เช่น การลดภาษีสรรพสามิตลงอีก 10% ทำให้ราคารถต่ำลง จูงใจผู้บริโภค หรือการลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อมาประกอบลง จากปัจจุบันที่เก็บอยู่ 10% ซึ่งได้เสนอกับ นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ไปแล้ว