เตรียมสร้าง รถไฟฟ้า เชื่อมรังสิต – คลอง 8
- หนุน 3 เทศบาลใน จ.ปทุมธานี บูรณาการร่วมรถไฟฟ้าเชื่อมรังสิต-คลอง 8
- เฟสแรกต้องการให้เชื่อมจากสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงถึงฟิวเจอร์ปาร์ครังสิตก่อนขยายไปตามแนวถนนรังสิต-นครนายกต่อไป
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2563 ณ อาคารรัฐสภา กรุงเทพฯมติที่ประชุมมอบหมายให้ทาง มทร.ธัญบุรี ดังนี้
1.พิจารณาปรับปรุง/แก้ไข/เพิ่มเติม (ร่าง) รายงานในส่วนของรายละเอียด/การดำเนินการในส่วนการพัฒนาบุคลากรของประเทศ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบราง
2.การศึกษาความเป็นไปได้โครงการระบบราง APM สายเลียบคลองรังสิตกับ ส.ส.พิษณุ พลธี และนายก อบจ.ปทุมธานี
3.เตรียมการจัดเสวนาเชิญผู้ประกอบการอุตสาหกรรมระบบราง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นการผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Content) ร่วมกับกระทรวงคมนาคม สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย เป็นต้นด้าน ผศ.ดร.กุณฑล ทองศรี ที่ปรึกษาประจำคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมระบบราง ในคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฏร กล่าวว่าได้เคยมีการศึกษาโครงการการศึกษาความเป็นไปได้รถไฟฟ้าเลียบคลองรังสิต (เชื่อมต่อสายสีแดง-ฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต-มทร.ธัญบุรี-เทคโนธานี-คลองแปด) แล้วพร้อมกับทราบว่ามีการศึกษาก่อสร้างทางยกระดับไปตามถนนรังสิต-นครนายก ของกรมทางหลวงไว้ด้วย ต่อมาทราบว่าได้โอนเรื่องให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยรับไปดำเนินการจึงน่าจะมีการร่วมบูรณาการขับเคลื่อนโครงการเหล่านี้เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อน“เทศบาลนครรังสิต นำร่องการศึกษาหลังจากนี้คงจะมีการบูรณาการร่วมเทศบาลเมืองบึงยี่โถ เทศบาลเมืองธัญบุรี และ มทร.ธัญบุรี ให้เกิดการพัฒนารถไฟฟ้าเลียบคลองรังสิตไปสิ้นสุดที่ราชมงคลคลอง 6 หรือคลอง 8 ตามผลการศึกษาไว้แล้วต่อไป”
“ปทุมธานี-รังสิต” เร่งเตรียมพร้อมรับเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง “สถานีรังสิต” เทศบาลนครรังสิตเร่งบูรณาการร่วมเชื่อมโครงการข่ายการเดินทางรับแผนพัฒนาเมือง ล่าสุดสั่งตั้งคณะกรรมการกฎบัตรรังสิตเดินหน้าขับเคลื่อนแผนปี 64-65 พร้อมได้แรงหนุนเดินหน้าแผนพัฒนาขนส่งระบบรางจากอนุกมธ.ระบบราง ส.ส. เร่งผลักดันให้ มทร.ธัญบุรี ผลิตรถไฟฟ้าฝีมือคนไทยเชื่อมถึงรังสิตนายธีรวุฒิ กลิ่นกุสุม
นายกเทศมนตรีนครรังสิต จ.ปทุมธานี เปิดเผยว่า ได้ตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานขับเคลื่อนกฎบัตรนครรังสิตเพื่อกำหนดออกแบบทิศทางการพัฒนาเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี การท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐานให้เป็นระบบตั้งแต่กระบวนการระดมความคิดจนเป็นการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ตั้งแต่บัดนี้และปี 2564-2565“
ปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงผังเมือง จ.ปทุมธานีควบคู่กับการพัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมในพื้นที่รังสิตเฟสแรกต้องการให้เชื่อมจากสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงถึงฟิวเจอร์ปาร์ครังสิตก่อนขยายไปตามแนวถนนรังสิต-นครนายกต่อไป
และทราบว่า มทร.ธัญบุรี อยู่ระหว่างการเร่งผลักดันรถไฟฟ้าเชื่อมมาถึงสถานีรังสิตด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องบูรณาการรวมกับหน่วยงานเทศบาลตามแนวเส้นทางคือ เทศบาลนครนครรังสิต เทศบาลเมืองบึงยี่โถ และเทศบาลเมืองธัญบุรีเพื่อขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว
”นอกจากการพัฒนาระบบคมนาคมทางบกแล้วเทศบาลยังต้องสำรวจอีกว่ามีเรือประเภทใดอีกบ้างที่ให้บริการในคลองรังสิตเพื่อจะเร่งผลักดันส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงกันต่อไป พร้อมกับขออนุญาตใช้ที่ดินราชพัสดุซึ่งเป็นที่ทำการวิทยุการบินเดิมเพื่อสร้างศูนย์ไอซีที“
เคยมีการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) พัฒนาแนวเส้นทางรถไฟฟ้าเสนอให้อบจ.จ.ปทุมธานีรับไปดำเนินการแต่ติดขั้นตอนตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯฉบับใหม่ยังไม่ประกาศใช้
ขณะนี้จะต้องใช้งบเพื่อการศึกษาออกแบบประมาณ 5 ล้านบาทโดยผ่านพื้นที่เอกชนของตระกูลหวั่งหลีและ 3 อปท. เชื่อมไปถึงมทร.ธัญบุรี คลอง 6 ที่สามารถใช้พื้นที่ตั้งสถานีและศูนย์ซ่อมบำรุงได้ราว 400 ไร่
อีกทั้งยังมีประกาศโปรดเกล้าฯตั้งสวนสัตว์ปทุมธานี แต่ยังต้องหารือร่วมกับกรมทางหลวงและการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)ที่มีแผนพัฒนาถนนยกระดับสาย 305 (รังสิต-นครนายก) ต่อมามอบให้ กทพ.พัฒนาเป็นทางด่วนแทนว่าประชาชนจะต้องการโครงการรูปแบบใดใช้พื้นที่ใด”
นายพฤทธิพงษ์ ธาราพิมาณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งทางราง บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเชีย จำกัด กล่าวว่า ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.ศูนย์รังสิต) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ตลอดจนมีผลงานการขับเคลื่อนโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองที่จะนำมาเป็นต้นแบบการพัฒนาในอีกหลายเส้นทางได้นั้นทั้งนี้ได้เคยมีการสำรวจปริมาณการใช้รถใช้ถนนในเส้นทางที่เกี่ยวข้องเอาไว้แล้วโดยอ้างอิงกับรถไฟฟ้าสายสีแดง เคยมีแผนพัฒนาระบบรองในเส้นทางมธ.ศูนย์รังสิต ระยะทางประมาณ 2.5 กม. จากสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมกับต้องการสนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศ จึงต้องบูรณาการร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยมีทีมคณะกรรมการกฎบัตรแห่งชาติเป็นศูนย์กลาง
“ดังนั้นจากผลการศึกษาแผนการพัฒนาระบบรางในพื้นที่รังสิตพบว่าจะมีการขยายแนวเส้นทางโครงข่ายออกไปอีกหลายเส้นทาง โดยมีปริมาณรถยนต์ใช้เส้นทางในพื้นที่ประมาณ 6.5 หมื่นคันต่อวัน เมื่อเทียบกับพื้นที่มธ.ที่มีกว่า 4.8 หมื่นคันต่อวันจึงเหมาะที่จะพัฒนาระบบฟีดเดอร์เชื่อมโยงในพื้นที่ รูปแบบที่เหมาะสมคือระบบล้อยางเช่นเดียวกับสายสีทองที่เขตคลองสาน ของกรุงเทพมหานคร
โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยมีส่วนร่วมการพัฒนาทั้งหมด นำร่องจากสถานีรถไฟสายสีแดงที่สถานีรังสิตมาถึงฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม”ด้านนายประทวน สุทธิอำนวยเดช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เขต 1 ลพบุรี) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนส่งระบบราง
ในคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวในโอกาสได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมงานด้านวิศวกรรมระบบรางของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ไปเมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่าจะต้องเร่งสนับสนุนให้มีองค์ความรู้ด้านการพัฒนาบุคลากรเช่นเดียวกับการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม
ทั้งนี้จากการรับฟังปัญหาและข้อเสนอแล้วเห็นว่าน่าจะสนับสนุนให้ มทร.ธัญบุรี บูรณาการร่วมกับเทศบาลนครรังสิต เทศบาลเมืองบึงยี่โถ และเทศบาลเมืองธัญบุรี ศูนย์การค้าฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต และผู้ประกอบการไทยผลิตรถไฟฟ้าเพื่อนำไปทดลองใช้ในเส้นทางรถไฟเชื่อมจากสถานีรังสิตของรถไฟฟ้าสายสีแดง ผ่านฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต วิ่งไปตามถนนรังสิต-นครนายก แล้วไปสิ้นสุดที่ มทร.ธัญบุรี คลอง 6 หรือคลอง 8 หรือสวนสัตว์ปทุมธานีซึ่งในอนาคตสามารถขยายแนวเส้นทางไปถึงจังหวัดนครนายกได้อีกด้วย“
จะเสนอให้รัฐบาลเห็นว่า มทร.ธัญบุรี ขอเชื่อมรถไฟฟ้าจากสถานีรังสิตไปยัง มทร.ธัญบุรี โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กับ มทร.ธัญบุรี ร่วมดำเนินการ พร้อมดึงภาคเอกชนที่มีความชำนาญเข้ามาบูรณาการร่วมกันกับ 3 เทศบาลตามแนวเส้นทางเนื่องจากต้องการให้มีการขับเคลื่อนระบบรางไม่ให้เสียดุลการค้าแก่ต่างประเทศ
แม้จะเริ่มขับเคลื่อนโครงการมาตั้งแต่ปี 2558 แต่ยังล่าช้าแบบค่อยเป็นค่อยไป หลายเส้นทางมีการใช้รถไฟฟ้าแต่ไทยยังต้องซื้อมาจากต่างประเทศ จึงเห็นว่าไทยน่าจะสามารถผลิตอุปกรณ์บางชิ้นบางอันได้ หรือหากสามารถผลิตขบวนรถได้ ก็น่าจะเร่งดำเนินการ โดยรัฐควรให้การสนับสนุนด้านต่างๆ ทั้งเงินทุน ดอกเบี้ย และอื่นๆที่สามารถช่วยเหลือได้ อาทิ สิทธิพิเศษต่างๆ เป็นต้น”นอกจากนั้นการประชุมคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนส่งระบบราง ในคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและวิธีการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนส่งระบบราง ให้เกิดความเป็นธรรม สนับสนุนการผลิตและแหล่งเงินทุนให้ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนส่งระบบรางภายในประเทศ (Local Content)”
ให้เกิดเป็นรูปร่างก่อนเถอะ ให้ฝ้ันอืกแล้ว