Advertisement

Advertisement

ยอดขายรถยนต์ 6 เดือนแรก ปี 63 รวม 328,604 คัน ในไทย

ยอดขายรถยนต์ 6 เดือนแรก ปี 63 รวม 328,604 คัน ในไทย
Spread the love

Advertisement

Advertisement

มร.มิจิโนบุ ซึงาตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด  แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2563 พร้อมประมาณการตลาดรถยนต์ไทยปี 2563 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 ผ่านทางออนไลน์

        มร.ซึงาตะ กล่าวว่า “ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เดิมมีการคาดการณ์ตลาดรวมในประเทศของปี 2563 อยู่ที่ 940,000 คัน และตั้งเป้าหมายการขายรถยนต์โตโยต้าไว้ที่ 310,000 คัน แต่ทว่าในสถานการณ์ไตรมาสที่ 1 ตัวเลขยอดขายตลาดรวมอยู่ที่ประมาณ 200,000 คัน หรือคิดเป็น 76% ของยอดขายในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยโตโยต้ามียอดขายอยู่ที่ 56,200 คัน คิดเป็น 65% ของยอดขายในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

มร.ซึงาตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “หลังผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และ การหยุดสายการผลิตเป็นการชั่วคราวไปแล้วนั้น ตลาดรถยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ลดลงไปที่ประมาณ 128,500 คัน คิดเป็น 49% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยโตโยต้ามียอดขายอยู่ที่ 38,100 คัน หรือคิดเป็น 45% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในทางกลับกันหากเราพิจารณาถึงยอดจำหน่ายรายเดือนของช่วงไตรมาสที่ 2 จะเห็นได้ว่าตลาดกำลังอยู่ในช่วงค่อยๆฟื้นตัว อันเป็นผลจากการที่รัฐบาลได้ทยอยออกมาตรการผ่อนคลายต่างๆ ส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มกลับมามีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น”

สถิติการขายรถยนต์ ม.ค. – มิ.ย. 2563

ปริมาณการขายรวม328,604 คันลดลง     37.3%
รถยนต์นั่ง119,716 คันลดลง     42.0%
รถเพื่อการพาณิชย์208,888 คันลดลง     34.2%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)166,409 คันลดลง     35.6%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)149,432 คันลดลง     33.7%

สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ม.ค. – มิ.ย. 2563

ปริมาณการขายโตโยต้า94,222 คันลดลง 45.1%ส่วนแบ่งตลาด 28.7%
รถยนต์นั่ง29,926 คันลดลง 50.4%ส่วนแบ่งตลาด 25.0%
รถเพื่อการพาณิชย์64,296 คันลดลง 42.2%ส่วนแบ่งตลาด 30.8%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)56,265 คันลดลง 43.3%ส่วนแบ่งตลาด 33.8%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)49,622 คันลดลง 41.5%ส่วนแบ่งตลาด 33.2%

มร.ซึงาตะ คาดการณ์ว่า “ในส่วนของภาคธุรกิจยานยนต์ของประเทศไทยนั้น ผลกระทบที่เราได้รับยังถือว่าไม่รุนแรงเท่ากับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน และการฟื้นตัวของประเทศไทยดูจะรวดเร็วกว่า ดังนั้น แม้เราอาจจะยังไม่ควรที่จะประเมินสถานการณ์ให้สูงจนเกินไป แต่ผมเห็นว่าแนวโน้มของตลาดรถยนต์ไทยน่าจะไปในทิศทางที่ดี และสถานการณ์จะไม่แย่เท่ากับที่เคยคาดการณ์ไว้ ซึ่งผมหวังว่าประเทศไทยจะเป็นผู้นำในการฟื้นตัวให้กับทวีปเอเชียทั้งหมดในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ นอกจากแนวโน้มเชิงบวกที่เห็นได้จากยอดจำหน่ายรายเดือนแล้ว ประเทศไทยยังประสบความสำเร็จในการจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 41 ซึ่งในขณะนี้มีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมงานเป็นจำนวนมาก และเมื่อพิจารณาสัญญาณบวกเหล่านี้แล้ว เราจึงได้ปรับตัวเลขคาดการณ์ยอดขายรถยนต์ในปี 2563 เป็น 660,000 คัน คิดเป็น 65% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา”

จากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่หลากหลายรุ่นนั้น ส่งผลให้เราปรับเป้าหมายยอดจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าในปี 2563 นี้ใหม่เป็น 220,000 คัน คิดเป็น 66% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หรือเท่ากับ 33.3% ของส่วนแบ่งทางการตลาด หากในอนาคตตลาดมีแนวโน้มในเชิงบวกมากขึ้น เราก็จะท้าทายตัวเองด้วยการปรับเป้าหมายให้เพิ่มสูงยิ่งขึ้นไปอีก”

ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศ ปี 2563

ปริมาณการขายรวม660,000 คันลดลง     34.5%
รถยนต์นั่ง225,100 คันลดลง     43.5%
รถเพื่อการพาณิชย์434,900 คันลดลง     28.6%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)346,015 คันลดลง     29.7%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)310,000 คันลดลง     28.2%

ประมาณยอดขายรถยนต์ในประเทศของโตโยต้า ปี 2563

ปริมาณการขายโตโยต้า220,000 คันลดลง 33.8%ส่วนแบ่งตลาด 33.3%
รถยนต์นั่ง62,800 คันลดลง 46.6%ส่วนแบ่งตลาด 27.9%
รถเพื่อการพาณิชย์
157,200 คันลดลง 26.8%ส่วนแบ่งตลาด 36.1%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)135,600 คันลดลง 29.3%ส่วนแบ่งตลาด 39.2%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)121,000 คันลดลง 26.9%ส่วนแบ่งตลาด 39.0%

สำหรับการส่งออกในครึ่งปีแรก 2563 ของโตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวนทั้งสิ้น 97,000 คัน ลดลง 30% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เราได้เห็นสัญญาณเชิงบวกจากในภูมิภาคโอเชียเนียและบางประเทศในทวีปเอเชีย ด้วยเหตุนี้ เราจึงปรับการคาดการณ์การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปสำหรับปีนี้ทั้งปี อยู่ที่ 194,000 คัน หรือคิดเป็น 73% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในส่วนของการผลิตรถยนต์ของเรานั้น ก็เป็นไปตามสภาวะของตลาดรถยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศซึ่งมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเหนือกว่าที่เราได้คาดการณ์ไว้ ดังนั้น จำนวนการผลิตรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2563 จะอยู่ในระดับที่ 408,000 คัน คิดเป็น 71% เมื่อเทียบกับยอดการผลิตของปีที่ผ่านมา” 

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมิถุนายน 2563

1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 58,013 คัน ลดลง 32.6%

อันดับที่ 1 อีซูซุ16,661 คันเพิ่มขึ้น 26.1%ส่วนแบ่งตลาด 28.7%
อันดับที่ 2 โตโยต้า13,366 คันลดลง 53.8%ส่วนแบ่งตลาด 23.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า5,822 คันลดลง 52.1%ส่วนแบ่งตลาด 10.0%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 20,768 คัน ลดลง 41.3%                            

อันดับที่ 1 ฮอนด้า4,816 คันลดลง 47.4%ส่วนแบ่งตลาด 23.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า4,802 คันลดลง 50.7%ส่วนแบ่งตลาด 23.1%
อันดับที่ 3 ซูซูกิ1,776 คันลดลง 13.1%ส่วนแบ่งตลาด 8.6%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 37,245 คัน ลดลง 26.4%                     

อันดับที่ 1 อีซูซุ16,661 คันเพิ่มขึ้น 26.1%ส่วนแบ่งตลาด 44.7%
อันดับที่ 2 โตโยต้า8,564 คันลดลง 55.4%ส่วนแบ่งตลาด 23.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ2,562 คันลดลง 34.1%ส่วนแบ่งตลาด  6.9%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 29,576 คัน ลดลง 26.7%

อันดับที่ 1 อีซูซุ15,368 คันเพิ่มขึ้น 29.7%ส่วนแบ่งตลาด 52.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า7,375 คันลดลง 57.2%ส่วนแบ่งตลาด 24.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ2,562 คันลดลง 34.1%ส่วนแบ่งตลาด 8.7%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 2,992 คัน
โตโยต้า 1,262 คัน – มิตซูบิชิ 553 คัน – อีซูซุ 500 คัน – นิสสัน 337 คัน – ฟอร์ด 312 คัน –  เชฟโรเลต 28 คัน 

5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 26,584 คัน ลดลง 25%

อันดับที่ 1 อีซูซุ14,868 คันเพิ่มขึ้น 33.7%ส่วนแบ่งตลาด 55.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า6,113 คันลดลง 58.8%ส่วนแบ่งตลาด 23.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ2,009 คันลดลง 26.6%ส่วนแบ่งตลาด 7.6%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มิถุนายน 2563

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 328,604 คัน ลดลง 37.3%                          

อันดับที่ 1 โตโยต้า94,222 คันลดลง 45.1%ส่วนแบ่งตลาด 28.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ76,054 คันลดลง 14.7%ส่วนแบ่งตลาด 23.1%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า41,326 คันลดลง 36.1%ส่วนแบ่งตลาด 12.6%

2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 119,716 คัน ลดลง 42%                                  

อันดับที่ 1 ฮอนด้า34,518 คันลดลง 29.4%ส่วนแบ่งตลาด 28.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า29,926 คันลดลง 50.4%ส่วนแบ่งตลาด 25.0%
อันดับที่ 3 นิสสัน12,641 คันลดลง 36.9%ส่วนแบ่งตลาด 10.6%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 208,888 คัน ลดลง 34.2%                

อันดับที่ 1 อีซูซุ76,054 คันลดลง 14.7%ส่วนแบ่งตลาด 36.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า64,296 คันลดลง 42.2%ส่วนแบ่งตลาด 30.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ15,416 คันลดลง 38.6%ส่วนแบ่งตลาด 7.4%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 166,409 คัน ลดลง 35.6%

อันดับที่ 1 อีซูซุ70,573 คันลดลง 13.9%ส่วนแบ่งตลาด 42.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า56,265 คันลดลง 43.3%ส่วนแบ่งตลาด 33.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ15,416 คันลดลง 38.6%ส่วนแบ่งตลาด 9.3%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 16,977 คัน
โตโยต้า 6,643 คัน – มิตซูบิชิ 3,818 คัน – อีซูซุ 2,948 คัน – ฟอร์ด 2,098 คัน – นิสสัน 832 คัน – เชฟโรเลต 638 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 149,432 คัน ลดลง 33.7%

อันดับที่ 1 อีซูซุ67,625 คันลดลง 11.5%ส่วนแบ่งตลาด 45.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า49,622 คันลดลง 41.5%ส่วนแบ่งตลาด 33.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ11,598 คันลดลง 36.3%ส่วนแบ่งตลาด 7.8%

Advertisement

Advertisement

ใส่ความเห็น

คุณไม่สามารถคัดลอกเนื้อหาของหน้านี้ได้