คลังจับ มือ กฟผ. เปิดสถานีชาร์จช้า AC นอกสถานที่ราชการ หน่วยละ 7 – 9 บาท
- โมเดลสถานีอัดประจุไฟฟ้าต้นแบบสถานีอัดประจุไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ในสถานที่ราชการแห่งแรก คิดค่าบริการ 5.50 บาท / หน่วย (เป็นการชาร์จช้าแบบ AC)
- ขณะที่นอกสถานที่ราชการ จะแพงขึ้น ราคาหน่วยละ 7-9 บาท
ประเทศไทยกำลังหนุนพลังงานไฟฟ้า ทำให้เราสงสัยว่า บ้านเราจะหนุนไฟฟ้าจริงจังแค่ไหน ทางรัฐบาลล้วนมีมาตรการต่างๆ ที่กำลังผลักดันให้ใช้พลังงานไฟฟ้า แต่เหมือนจะไปในทิศทางโยนภาระให้ประชาชน หรือ ผู้บริโภคมากกว่า ?
ล่าสุดทาง พร้อมหนุนผลักดันใช้รถยนต์ไฟฟ้า พร้อมใช้ภาษีสรรพสามิตสนับสนุนการผลิต สั่งแบงก์รัฐออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ปล่อยกู้สถานีชาร์จ เล็กตั้งกองทุนลดราคาเหลือเท่ารถยนต์สันดาป เพื่อจูงใจคนให้ใช้งานมากขึ้น
25 พฤศจิกายน 2564 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ หรือ บอร์ด EV ได้เข้ามาขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ซึ่งจะต้องดูอย่างรอบด้าน ทั้งการผลิต และแบตเตอรี่ เป็นต้น เพื่อให้ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ ซึ่งก็มีความคืบหน้าตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการกระทรวงการคลัง จะใช้ภาษีสรรพสามิตเข้าไปช่วยหนุนโดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา
กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และ กฟผ. ได้ร่วมกันเปิดสถานีอัดประจุไฟฟ้า EleX by EGAT ภายในพื้นที่ของกระทรวงการคลัง เพื่อใช้สำหรับรถยนต์ของทางราชการ อำนวยความสะดวกให้ข้าราชการและผู้มาติดต่อราชการกระทรวงการคลัง โดยสถานีดังกล่าวเป็นสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบ Normal Charge ขนาด 22 กิโลวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง ใช้เงินลงทุน 500,000 บาท
โมเดลสถานีอัดประจุไฟฟ้าต้นแบบสถานีอัดประจุไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ในสถานที่ราชการแห่งแรก คิดค่าบริการ 5.50 บาท / หน่วย (เป็นการชาร์จช้าแบบ AC) พร้อมเพิ่ม 40 แห่งภายในปีนี้ และ อีก 30 แห่งในปี 65 ขณะที่สถานที่นอกราชการ ราคาหน่วยละ 7-9 บาท
- Normal Charge เป็นการชาร์จด้วยไฟ AC โดยชาร์จผ่าน On Board Charger ที่ยู่ภายในตัวรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ในการแปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC ขนาดของตัว On Board Charger จะขึ้นอยู่กับยี่ห้อรถยนต์ ซึ่งขนาดของ On Board Charger จะมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟของแบตเตอรี่รถยนต์ ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่รถยนต์ขนาด 24 KWh และมี On Board Charger ขนาด 3KW ระยะเวลาในการชาร์จจะอยุ่ที่ 8 ชั่วโมง
นับว่ามีค่าใช้จ่ายที่แพงมาก หากเทียบกับค่าไฟบ้าน หรือ ที่อยู่อาศัย เราอ้างอิงจากการไฟฟ้านครหลวง ค่าไฟ เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) ตกหน่วยละ 4.4217 บาท หากเป็นเช่นนี้ รัฐบาลพยายามพลักดันภาระให้ประชาชนอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ใครจะไปชาร์จแพงขนาดนั้น และ ช้าด้วย
เราไปดูมาตรการของลาว มีดังต่อไปนี้
- ลดภาษีเงินได้สำหรับธุรกิจนำเข้า และจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า จาก 20% เหลือ 10%
- ตั้งแต่ปี 2565-2568 ให้กำหนดสัดส่วนโควต้านำเข้ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันได้สูงสุด 70% อีก 30% ต้องเป็นการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า
- ในปี 2569-2573 ให้ลดการนำเข้ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเหลือ 50%
- ตั้งแต่ปี 2574 เป็นต้นไป กำหนดให้รถยนต์ที่จะนำเข้ามา ต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 50%
- ให้รัฐบาลสร้างกลไกควบคุมราคาจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไม่ให้สูงจนเกินไป
- ส่งเสริมให้ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากต่างประเทศ เข้ามาเปิดศูนย์บริการในลาว
- ขึ้นภาษีน้ำเข้ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน จากเดิม 35-40% เป็น 70%
- เพิ่มภาษีการใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันแต่ละประเภทขึ้นมาอีกประเภทละ 5%
- ขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน จากเดิม 10% เป็น 20%
โครงสร้างค่าไฟสำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าใน ลาว
- ค่าไฟฟ้าสำหรับชาร์จไฟตามบ้าน หรือที่อยู่อาศัย ให้คิด 955 กีบต่อกิโลวัตต์/ชั่วโมง(kWh) ในฤดูแล้ง (ประมาณ 2.73 บาท )
- 677 กีบ/kWh ในฤดูฝน คิดเป็นค่าไฟเฉลี่ยประมาณ 816.5 กีบ/kWh (2.33 บาท)
- ค่าชาร์จไฟแบบเร็ว DC ตามสถานีชาร์จ สำหรับการชาร์จต่ำกว่า 1 ชั่วโมง ให้คิด 1,826 กีบ/kWh ในฤดูแล้ง และ 1,539 กีบ/kWh ในฤดูฝน คิดเป็นค่าไฟเฉลี่ย 1,682.5 กีบ/kWh (4.81 บาท)