อรุณพลัส กลุ่ม ปตท. ได้สิทธิ เทคโนโลยีแบตเตอรี่ CTP ของ CATL ในภูมิภาคอาเซียน
Cnevpost รายงานว่า บริษัท Contemporary Amperex Technology หรือ CATL บริษัทผลิตแบตเตอรี่อันดับ 1 ของโลก ได้จับมือกับ บริษัท อรุณพลัส ในกลุ่ม ปตท. ใช้สิทธิ์ในเทคโนโลยี CTP (cell to pack) ของ CATL เพื่อนำไปใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า
CATL ได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับบริษัทอรุณ พลัส ของประเทศไทย สำหรับความร่วมมือในธุรกิจเกี่ยวกับข้องกับแบตเตอรี่ในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว CATL จะอนุญาตให้อรุณพลัส ได้สิทธิ์ในการใช้เทคโนโลยี CTP โดยทั้งสองบริษัทจะส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี CTP ในประเทศไทยและขยายออกทั่วโลก
อรุณพลัส บริษัทในเครือยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของกลุ่ม ปตท. และ CATL จะจัดหาผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่ให้กับบริษัท Horizon Plus ( บริษัทร่วมทุนระหว่างอรุณพลัส และ ฟ็อกซ์คอน) และ แบรนด์รถยนต์อื่นๆ
เทคโนโลยีแบตเตอรี่ CTP มีความโด่ดเด่นอย่างมากในแง่ ประสิทธิภาพสูง ด้วยการนำเซลล์แบตเตอรี่มาประกอบกันเป็นแพ็กโดยตรงโดยไม่ต้องใช้โมดูล ทำให้แบตเตอรีสำรองมีความหนาแน่นของพลังงานมากขึ้น ลดความซับซ้อนในการผลิต น้ำหนักเบา และ ต้นทุนที่ต่ำกว่า มีความปลอดภัยสูงกว่า
CTP 3.0 ล่าสุดจะมีจำหน่ายใน 2 เวอร์ชัน ได้แก่แบตเตอรี่ LFP และ NMC ซึ่งให้ความหนาแน่นของพลังงานที่สูง
LFP
≥ 160 Wh/กก.
≥ 290 Wh/l
NCM
≥ 250 Wh/กก.
≥ 450 Wh/l
CATL กล่าวว่าแบตเตอรี่ Kirin ในความสามารถสูงกว่า แบตเตอรี่ 4680 ของ Panasonic ถึง 13% โดยถือว่าคุณสมบัติทางเคมีของเซลล์ และ ขนาดเท่ากัน
CATL ไม่ได้กล่าวถึง Tesla แต่อย่างใด พวกเขาแสดงให้ชัดเจนว่า เซลล์แบตเตอรี่ทรงกระบอกประเภท 4680 ของเทสลา หากไม่ได้ดูสเปกแบบเต็มของทั้งสองประเภท เราไม่สามารถประเมินความแตกต่างได้
ตามข้อมูลของบริษัทจีน CTP 3.0 สามารถผลิตจำหน่ายในจำนวนมากๆ ได้เร็วๆนี้ คาดว่าจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน 2022
Wu Kai หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของ CATL กล่าวเป็นนัยด้วยว่าในปี 2566 เราจะเห็นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจำนวนมาก ถึงระยะทาง 1,000 กม./ชาร์จ
PushEVs.com ระบุว่า Tesla จะใช้แบตเตอรี่ใหม่ของ CATL ในรุ่นเริ่มต้นของ Made-in-China (MIC) ใน Model 3 และ Model Y (แทนที่จะเป็นเซลล์ LFP ของ CATL ปัจจุบันและชุดแบตเตอรี่ของตัวเอง)