ปตท. จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2567 จากความร่วมมือ Foxconn
บมจ. ปตท (PTT) ได้มีการอัพเดทความคืนหน้าใหม่ สำหรับธุรกิจผลิตยานรยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศ (Electric Vehicle :EV) พร้อมพันธมิตร Foxconn ตั้งเป้าผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในไตรมาส 1 ปี 2567
ปตท. อนุมัติให้ บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (Arun Plus) บริษัทย่อยลงนามสัญญาร่วมทุนและจัดต้ังบริษัทร่วมทุนกับบริษัท ลี่ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล อินเวสเมนท์ จำกัด (Lin Yin) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บริษัท หงไห่ พริซิชั่น อินดัสทรี จำกัด (Foxconn) ด้วยทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3,220 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย
ปัจจุบันทาง Foxconn มีรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ 3 โมเดล ภายใต้แบรนด์ Foxtron ครอบคลุม C SUV EV ขนาดกลาง , Model E หรือ ซีดานไฟฟ้าขนาดกลาง – ใหญ่ และ Model T รถโดยสารไฟฟ้า
- Foxconn มีชื่อบริษัทว่า Hon Hai Precision Industry Co., Ltd. ใช้ชื่อในตลาดหลักทรัพย์ว่า Foxconn เป็นบริษัทข้ามชาติ ผู้ผลิตและรับผลิตอุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Tucheng, New Taipei, ในประเทศไต้หวัน (Taiwan) จัดเป็นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเลคโทรนิกส์ และรวมถึง Circuit boards ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ภายใต้สถาปัตยกรรม MIH Open Platform แพลตฟอร์มแยกส่วน สามารถปรับใช้กับแชสซีส์ของรถยนต์ไฟฟ้าได้หลากหลาย รวมทั้รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในรูปแบบอื่นๆ
จุดเด่นของ MIH
- มอเตอร์ขนาด 95 kW, 150 kW และ 200 kW สำหรับเพลาหน้า และ 150 kW, 200 kW, 240 kW และ 340 kW สำหรับเพลาหลัง
- ฐานล้อปรับขนาดความยาวระหว่าง 2.75 – 3.10 เมตรได้ แทร็คที่ปรับความกว้างจาก 1.59 เมตร ถึง 1.70 เมตร ส่วนความสูงถึงใต้้ท้องรถ อยู่ที่ 12.6 เซนติเมตร ถึง 21.1 เซนติเมตร
- สามารถเลือกระบบขับเคลื่อนได้หลากหลายทั้ง ล้อหน้า / ล้อหลัง / สี่ล้อ
- รองรับแบตเตอรี่ที่หลากหลายรวมทั้ง Solid State
- ตัวถังใช้ระบบ mega cast ที่ใช้ชิ้นสวนน้อยที่สุด
- รองรับ 5G และ 6G ในอนาคต พร้อมระบบซอฟต์แวร์อัพเดทแบบ OTA และระบบเชื่อมต่อแบบ V2X (vehicle-to-anything)
ล่าสุด คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. แจ้งความคืบหน้าตลาดหลักทรัพย์ฯว่า Arun Plus ได้จัดตั้งบริษัท ฮอริษอน พลัส จำกัด (Horizon Plus) เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2565 มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3,220 ล้านบาท โดย Arun Plus ถือหุ้น 60% และ Lin Yin ถือหุ้น 40%
Horizon Plus คาดว่าจะสามารถเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (FID) ได้ภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 และเริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2567
ตามแผนธุรกิจโครงการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ปตท.ได้เริ่มรุกเข้าสู่ EV Value Chain โดยจับมือพันธมิตรทางธุรกิจ ในการพัฒนา EV Charging Platform, EV Station รวมถึงการลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า และความร่วมมือกับ Foxconn จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศ เป็นรากฐานสำคัญสู่อุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคตและเป็นต้นแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านพลังงานให้กับประเทศต่อไป
ในระยะแรก PTT และ Foxconn ตั้งเป้าหมายที่จะจัดตั้งแพลตฟอร์มการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และส่วนประกอบหลักต่าง ๆ แบบ end-to-end ด้วยเงินร่วมลงทุนขั้นต้น 1-2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจะขยายการลงทุนในอนาคตต่อไป