Advertisement

Advertisement

ยอดขายรถยนต์ในไทย กันยายน 2566 รวม 60,234 คัน

ยอดขายรถยนต์ในไทย กันยายน 2566 รวม 60,234 คัน
Spread the love

Advertisement

Advertisement

 

 

 

 

ยอดขายรถยนต์ในไทยที่ผ่านมา

  • ยอดขายเดือนกันยายน 2566 ทั้งหมด 62,086 คัน
  • ยอดขายเดือนสิงหาคม 2566 ทั้งหมด 60,234 คัน
  • ยอดขายเดือนกรกฏาคม 2566 ทั้งหมด 58,419 คัน
  • ยอดขายเดือนมิถุนายน 2566 ทั้งหมด 64,440 คัน
  • ยอดขายเดือนพฤษภาคม 2566 ทั้งหมด 65,088 คัน
  • ยอดขายเดือนเมษายน 2566 ทั้งหมด 59,530 คัน
  • ยอดขายเดือนมีนาคม 2566 ทั้งหมด 79,943 คัน
  • ยอดขายเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ทั้งหมด 71,551 คัน
  • ฃยอดขายเดือนมกราคม 2566 ทั้งหมด 65,579 คัน
  • ยอดขายเดือนธันวาคม 2565 ทั้งหมด 82,799 คัน
  • ยอดขายเดือนพฤศจิกายน 2565 ทั้งหมด 68,284 คัน
  • ยอดขายเดือนตุลาคม 2565 ทั้งหมด 64,618 คัน
  • ยอดขายเดือนกันยายน 2565 ทั้งหมด 74,150 คัน
  • ยอดขายเดือนสิงหาคม 2565 ทั้งหมด 68,208 คัน
  • ยอดขายเดือนกรกฏาคม 2565 ทั้งหมด 64,033 คัน
  • ยอดขายเดือนมิถุนายน 2565 ทั้งหมด 67,952 คัน
  • ยอดขายเดือนพฤษภาคม 2565 ทั้งหมด 64,735 คัน
  • ยอดขายเดือนเมษายน 2565 ทั้งหมด 63,427 คัน
  • ยอดขายเดือนมีนาคม 2565 ทั้งหมด 87,245 คัน
  • ยอดขายเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ทั้งหมด 74,489 คัน
  • ยอดขายเดือนมกราคม 2565 ทั้งหมด 69,455 คัน

ยอดขายเดือน กันยายน 2566 รวม 62,086 คัน

  1. TOYOTA – 21,041 คัน
  2. ISUZU – 10,898 คัน
  3. HONDA – 9,113 คัน
  4. FORD – 2,948 คัน
  5. MG – 2,427 คัน
  6. Mitsubishi – 2,109 คัน
  7. NISSAN – 1,303 คัน
  8. MAZDA – 1,247 คัน
  9. GWM – 1,031 คัน
  10. NETA – 954 คัน
  11. Hino – 848 คัน
  12. SUZUKI – 786 คัน
  13. HYUNDAI – 515 คัน
  14. Subaru – 125 คัน
  15. KIA – 125 คัน
  16. Lexus – 100 คัน
  17. CP-FOTON – 62 คัน
  18. Peugeot – 42 คัน
  19. SsangYong – 1 คัน
  • บางรุ่นที่ยอดขายไม่มี ไม่ใช่ว่าขายไม่ได้เพียงแต่ยังไม่มีข้อมูล ในเดือนนั้น

นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกันยายน 2566 ด้วยยอดขาย 62,086 คัน ลดลง 16.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่รถยนต์นั่งยังเติบโตต่อเนื่องด้วยยอดขาย 25,425คัน เติบโต 10.4% ส่วนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวต่อเนื่องด้วยยอดขาย 36,661 คัน ลดลง 28.3% โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ ชะลอตัวอย่างหนักด้วยยอดขาย 23,343 คัน ลดลง 43.6%

ประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์

 ตลาดรถยนต์กันยายนชะลอตัวต่อเนื่อง 16.3% ด้วยยอดขาย 62,086 คัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งยังเติบโตอย่างต่อเนื่องที่ 10.4% ด้วยยอดขาย 25,425 คัน เป็นผลมาจากการเติบโตของเซกเมนต์อีโคคาร์ด้วยยยอดขาย 15,368 คัน ในขณะที่ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวที่ 28.3% ด้วยยอดขาย 36,661 คัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน       หดตัวถึง 43.6% ด้วยยอดจำหน่าย 23,343 คัน จากการชะลอการตัดสินใจซื้ออย่างต่อเนื่องของภาคประชาชน และภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจขนส่ง อันเป็นผลมาจากภาพรวมทางเศรษฐกิจ    ที่ยังต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว  โดยมีอุปสรรคสำคัญคือความเข้มงวดของสถาบันการเงิน ที่มีความกังวลต่อหนี้เสียอันเป็นผลต่อเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา

ตลาดรถยนต์ตุลาคมเดินหน้าเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นส์ไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งค่ายรถยนต์ต่างทยอยเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ พร้อมด้วยแคมเปญส่งเสริมการขายเพื่อหวังกระตุ้นยอดขาย อย่างไรก็ตามความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขยายตัวของตลาดรถยนต์ต่อไป

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกันยายน 2566

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 62,086 คัน ลดลง 16.3%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 21,141 คัน   ลดลง 7.9 %  ส่วนแบ่งตลาด 34.1%

อันดับที่ 2 อีซูซุ  10,898 คัน   ลดลง 49.5%   ส่วนแบ่งตลาด 17.6%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า   9,113 คัน   เพิ่มขึ้น 34.2%   ส่วนแบ่งตลาด 14.7%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 25,425 คัน เพิ่มขึ้น 10.4%                                  

อันดับที่ 1 โตโยต้า   9,922 คัน   เพิ่มขึ้น 34.4%  ส่วนแบ่งตลาด 39.0%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า   4,212 คัน  ลดลง 29.3%   ส่วนแบ่งตลาด 16.6%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ   1,083 คัน    ลดลง 39.6%   ส่วนแบ่งตลาด 4.3%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 36,661 คัน ลดลง 28.3%                                

อันดับที่ 1 โตโยต้า  11,219  คัน   ลดลง 28.0%  ส่วนแบ่งตลาด 30.6%

อันดับที่ 2 อีซูซุ  10,898 คัน   ลดลง 49.5%   ส่วนแบ่งตลาด 29.7%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด  4,901 คัน   เพิ่มขึ้น 489.1% ส่วนแบ่งตลาด 13.4%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 23,343 คัน ลดลง 43.6%                                

อันดับที่ 1 โตโยต้า  9,547 คัน ลดลง 27.9%  ส่วนแบ่งตลาด 40.9%

อันดับที่ 2 อีซูซุ  9,298 คัน  ลดลง 54.0%  ส่วนแบ่งตลาด 39.8%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด   2,946 คัน  ลดลง 41.2%   ส่วนแบ่งตลาด 12.6%

 *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,229 คัน

โตโยต้า 1,607 คัน – อีซูซุ 1,343 คัน – ฟอร์ด 936  คัน – มิตซูบิชิ 255 คัน – นิสสัน 88 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 19,114คัน ลดลง 45.0%                                

อันดับที่ 1 อีซูซุ    7.955 คัน  ลดลง 56.9%  ส่วนแบ่งตลาด 41.6 %

อันดับที่ 2 โตโยต้า  7,940 คัน ลดลง 23.6%  ส่วนแบ่งตลาด 41.5%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด   2,010 คัน   ลดลง 44.2%  ส่วนแบ่งตลาด 10.5%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – กันยายน 2566

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 586,870 คัน ลดลง 7.4%                              

อันดับที่ 1 โตโยต้า    199,292 คัน   ลดลง 4.5%  ส่วนแบ่งตลาด 34.0%

อันดับที่ 2 อีซูซุ   120,294 คัน   ลดลง 26.5%   ส่วนแบ่งตลาด 20.5%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า    69,882 คัน    เพิ่มขึ้น 14.t0% ส่วนแบ่งตลาด 11.9%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 219,668 คัน เพิ่มขึ้น 9.5%                                

อันดับที่ 1 โตโยต้า  77,357 คัน   เพิ่มขึ้น  316% ส่วนแบ่งตลาด 35.2%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า   43,907 คัน   ลดลง   4.5% ส่วนแบ่งตลาด 20.0%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ   12,676 คัน   ลดลง  22.5%  ส่วนแบ่งตลาด 5.8%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 367,202 คัน ลดลง 15.2%                    

อันดับที่ 1 โตโยต้า  121,935 คัน    ลดลง 18.6%  ส่วนแบ่งตลาด   33.2%

อันดับที่ 2 อีซูซุ   120,294 คัน   ลดลง 26.5%  ส่วนแบ่งตลาด   32.8%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด 25,975 คัน    เพิ่มขึ้น 69.8% ส่วนแบ่งตลาด  7.1%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)

ปริมาณการขาย 255,899 คัน ลดลง 24.7%

อันดับที่ 1 อีซูซุ  108,158 คัน  ลดลง 28.4% ส่วนแบ่งตลาด   42.53%

อันดับที่ 2 โตโยต้า  100,193 คัน ลดลง 22.4%ส่วนแบ่งตลาด   39.2%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด  28,773 เพิ่มขึ้น 2.1%  ส่วนแบ่งตลาด   11.2%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 47,230 คัน

โตโยต้า 17,192 คัน – อีซูซุ 16,549 คัน – ฟอร์ด 9,270คัน – มิตซูบิชิ 3,293 คัน – นิสสัน 926 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย  208,669 คัน ลดลง 28.9%

อันดับที่ 1 อีซูซุ  91,609 คัน  ลดลง  33.1%  ส่วนแบ่งตลาด 43.9%

อันดับที่ 2 โตโยต้า  83,001 คัน   ลดลง  23.9%  ส่วนแบ่งตลาด 39.8%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด  19,503 คัน  ลดลง   14.0  ส่วนแบ่งตลาด  9.3%    

https://www.car250.com/new-2023-ppv-sale-05.html

https://www.car250.com/sale-pickup-2023-04.html

 

 

Advertisement

Advertisement

ใส่ความเห็น

คุณไม่สามารถคัดลอกเนื้อหาของหน้านี้ได้