ยอดขายรถยนต์ในไทย มกราคม – เมษายน 63 ลดลง 34.2% รวม 230,173 คัน
นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนเมษายน 2563 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 30,109 คัน ลดลง 65% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 8,830 คัน ลดลง 74.7% รถเพื่อการพาณิชย์ 21,279 คัน ลดลง 58.4% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 16,733 คัน ลดลง 59.4%
ประเด็นสำคัญ
- ตลาดรถยนต์เดือนเมษายนมีปริมาณการขาย 30,109 คัน ลดลง 65%
- ตลาดรถยนต์สะสม 4 เดือน มีปริมาณการขาย 230,173 คัน ลดลง 34.2%
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนเมษายน 2563
1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 30,109 คัน ลดลง 65%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 11,084 คัน | ลดลง 58.9% | ส่วนแบ่งตลาด 36.8% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 6,865 คัน | ลดลง 55.4% | ส่วนแบ่งตลาด 22.8% |
อันดับที่ 3 ฮอนด้า | 2,648 คัน | ลดลง 76.6% | ส่วนแบ่งตลาด 8.8% |
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 8,830 คัน ลดลง 74.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 2,906 คัน | ลดลง 71.2% | ส่วนแบ่งตลาด 32.9% |
อันดับที่ 2 ฮอนด้า | 2,229 คัน | ลดลง 74.1% | ส่วนแบ่งตลาด 25.2% |
อันดับที่ 3 นิสสัน | 1,072 คัน | ลดลง 56.9% | ส่วนแบ่งตลาด 12.1% |
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 21,279 คัน ลดลง 58.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 8,178 คัน | ลดลง 51.5% | ส่วนแบ่งตลาด 38.4% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 6,865 คัน | ลดลง 55.4% | ส่วนแบ่งตลาด 32.3% |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 1,205 คัน | ลดลง 73.1% | ส่วนแบ่งตลาด 5.7% |
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 16,733 คัน ลดลง 59.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 7,019 คัน | ลดลง 53.1% | ส่วนแบ่งตลาด 41.9% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 6,267 คัน | ลดลง 56.0% | ส่วนแบ่งตลาด 37.5% |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 1,205 คัน | ลดลง 73.1% | ส่วนแบ่งตลาด 7.2% |
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 1,575 คัน
โตโยต้า 753 คัน – อีซูซุ 322 คัน – มิตซูบิชิ 219 คัน – ฟอร์ด 211 คัน – เชฟโรเลต 45 คัน – นิสสัน 25 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 15,158 คัน ลดลง 58.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 6,266 คัน | ลดลง 52.2% | ส่วนแบ่งตลาด 41.3% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 5,945 คัน | ลดลง 55.0% | ส่วนแบ่งตลาด 39.2% |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 994 คัน | ลดลง 73.7% | ส่วนแบ่งตลาด 6.6% |
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – เมษายน 2563
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 230,173 คัน ลดลง 34.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 67,245 คัน | ลดลง 40.6% | ส่วนแบ่งตลาด 29.2% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 49,263 คัน | ลดลง 18.3% | ส่วนแบ่งตลาด 21.4% |
อันดับที่ 3 ฮอนด้า | 31,326 คัน | ลดลง 24.2% | ส่วนแบ่งตลาด 13.6% |
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 87,215 คัน ลดลง 36.6%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า | 26,188 คัน | ลดลง 15.9% | ส่วนแบ่งตลาด 30.0% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 21,567 คัน | ลดลง 47.4% | ส่วนแบ่งตลาด 24.7% |
อันดับที่ 3 นิสสัน | 9,763 คัน | ลดลง 27.3% | ส่วนแบ่งตลาด 11.2% |
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 142,958 คัน ลดลง 32.6%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 49,263 คัน | ลดลง 18.3% | ส่วนแบ่งตลาด 34.5% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 45,678 คัน | ลดลง 36.7% | ส่วนแบ่งตลาด 32.0% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 11,031 คัน | ลดลง 37.0% | ส่วนแบ่งตลาด 7.7% |
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 113,696 คัน ลดลง 34.6%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 45,887 คัน | ลดลง 17.8% | ส่วนแบ่งตลาด 40.4% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 39,752 คัน | ลดลง 38.2% | ส่วนแบ่งตลาด 35.0% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 11,031 คัน | ลดลง 37.0% | ส่วนแบ่งตลาด 9.7% |
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 11,415 คัน
โตโยต้า 4,073 คัน – มิตซูบิชิ 2,845 คัน – อีซูซุ 2,085 คัน – ฟอร์ด 1,509 คัน – เชฟโรเลต 589 คัน –นิสสัน 314 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 102,281 คัน ลดลง 32.4%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 43,802 คัน | ลดลง 15.9% | ส่วนแบ่งตลาด 42.8% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 35,679 คัน | ลดลง 34.9% | ส่วนแบ่งตลาด 34.9% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 8,186 คัน | ลดลง 35.9% | ส่วนแบ่งตลาด 8.0% |
อุสาหกรรมยานยนต์ ในประเทศไทย เดือนเมษายน ชี้ให้เห็นชัด ด้วยยอดขายลดลงอย่างน่าตกใจ ยอดผลิตลดลง 83.55% ตกต่ำสุดในรอบ 30 ปี เมื่อเทียบเคียงกับปี 2533
ยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือนเมษายน ลดลง 65.02% รวม 30,109 คัน ยอดผลิตเฉพาะเมษายน ลดลงกว่า 83 %
มกราคม – เมษายน 2563 รถยนต์มียอดขาย 230,173 คัน ลดลง 34.17 % ยอดผลิตสะสมเดือนมกราคม – เมษายน 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 478,393 คัน ลดลง 32.78%
ผลกระทบจากไวรัส COVID-19 ทำให้เกิดการล็อคดาวน์เมือง และประเทศ โชว์รูมรถยนต์ถูกปิดตัวลง โรงงานปิดตัว รถยนต์ผลิตไม่ได้ คงไม่แปลกที่ยอดผลิตจะตกต่ำขนาดนี้ รวมถึงยอดขายที่ลดลงกว่า 65%
แม้ว่าเดือนพฤษภาคม จะเริ่มเปิดโรงงานผลิตรถยนต์ แต่มีหลายค่ายที่กำลังลดการผลิต และ ลดกะ กลางคืน เพื่อลดต้นทุนในการผลิต ทำให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างช้าๆ สิ่งที่จะโดนอันดับแลกคือ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ บริษัทขนส่งรถยนต์ และอื่นๆอีกเพียบ ที่ต้องรับวิบากกรรมจากวิกฤติครั้งนี้
การประเมินสถานการณ์อุสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยคาดว่าในสถานการณ์แรก ไตรมาส 2 ประเทศไทยผลิตได้ 1,400,000 คัน ส่งออก 700,000 คัน ขายในประเทศ 700,000 คัน
หากเลวร้ายกว่านั้น คือฟื้นตัวในไตรมาส 3 ผลิตในเทศ 1,000,000 คัน ส่งออก 500,000 คัน ขายในประเทศ 500,000 คัน
มาตรการที่สภาอุสาหกรรมยานยนต์ ประเทศไทย เตรียมเร่งรัดให้รัฐบาลจัดการ
- คาดตลาดรถยนต์ปี 2563 ติดลบ 23%
- การลดภาษีสรรพสามิตลงอีก 10% ทำให้ราคารถต่ำลง จูงใจผู้บริโภค หรือการลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อมาประกอบลง จากปัจจุบันที่เก็บอยู่ 10%
- ขอให้รัฐชดเชยค่าแรง ให้ลู
- ค้าประกันสังคม 62% สำหรับโรงงานที่หยุด หรือหยุดเพียงไม่กี่เดือน
- มาตรการด้านสาธารณูปโภค/ที่ดิน เช่น ลดค่าเอฟที เลื่อนการจ่ายค่าน้ำ-ไฟไปอีก 4 เดือน ลดค่าจดจำนองที่ดิน การยกเลิกค่า demand charge ไปถึงสิ้นปี
แต่หากเทียบกับประเทศอินเดีย ผลจากการล๊อคดาวน์ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ทำให้ยอดขายในประเทศลดลงเป็น 0 คัน ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในยุโรป ลดลงอย่างน่าตกใจ ในเดือนเมษายน การจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ลดลง 78.3% หรือเพียง 292,182 คัน
ยอดขายรถยนต์ ในประเทศ เดือนเมษายน
- อิตาลี ลดลง 97.6%
- สหราชอาณาจักร ลดลง 97.3%
- สเปน ลดลง 96.5%
ยอดรถยนต์ลงทะเบียนรถใหม่ ในเยอรมันลดลง 61.1% และ ใน ฝรั่งเศสลดลง 88.8%
กลุ่มแบรนด์ยอดขายเมษายน
- กลุ่มโฟล์คสวาเก้น (VOWG_p.DE) ลดลง 75%
- กลุ่ม เรโนลต์ (RENA.PA) ลดลง 79.5%
- กลุ่ม PSA (PEUP.PA) ลดลง 82.4%
- BMW ลดลง 69.7%
- Daimler Mercedes-Benz AG, Daimler Truck AG และ Daimler Mobility AG ลดลง 80.1%
ลอนดอน (รอยเตอร์) รายงานยอดขายรถยนต์ในสหราชอาณาจักร ตกต่ำสุดในรอบ 74 ปี นับตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ 1946 ยอดขายเดือนเมษายน ลดลงกว่า 97% โดยโรงงานและตัวแทนจำหน่ายปิดตัวลงเนื่องจากการระบาดของโรค coronavirus ตามข้อมูลเบื้องต้นจากองค์กรอุตสาหกรรม
อุสาหกรรมรถยนต์ในอินเดีย ต้องรับผลกระทบไวรัส COVID-19 อย่างหนักหน่วง โดยมียอดขายครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ทั่วประเทศ เดือนเมษายน คือ 0 คัน Maruti Suzuki รายงานว่ายอดขายในประเทศ 0 คัน ยอดส่งออกเพียง 632 คัน และ Mahindra ยอดส่งออก 733 คัน ยอดขายในประเทศ 0 คันเช่นกัน
สำหรับยอดขาย Mini Car หรือ Kei Car รถยนต์ขนาดเล็ก คิดเป็น 4 ใน 10 ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมดร่วงถึง 34% เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2020 สมาคม Mini vehicle ของญี่ปุ่นกล่าวในแถลงการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัส ทำให้โรงงานทั่วญี่ปุ่นปืดตัวลงตั้งแต่เดือนมีนาคม ทำไปสู่ปัญหาการจัดหาอะไหล่ ที่ล่าช้า รวมถึงความต้องการที่น้อยลงของผู้บริโภค
ยอดขายรถยนต์ในไทยที่ผ่านมา
- ยอดขายเดือนเมษายน 2563 ทั้งหมด 30,109 คัน
- ยอดขายเดือนมีนาคม 2563 ทั้งหมด 60,105 คัน
- ยอดขายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ทั้งหมด 68,271 คัน
- ยอดขายเดือนมกราคม 2563 ทั้งหมด 71,688 คัน
- ยอดขายเดือนธันวาคม 2562 ทั้งหมด 89,285 คัน
- ยอดขายเดือนพฤศจิกายน 2562 ทั้งหมด 79,299 คัน
- ยอดขายเดือนตุลาคม 2562 ทั้งหมด 77,122 คัน
- ยอดขายเดือนกันยายน 2562 ทั้งหมด 76,195 คัน
ยอดขาย | ยอดขาย |
มกราคม 2562 | มกราคม 2563 |
78,061 คัน | 71,688 คัน |
กุมภาพันธ์ 2562 | กุมภาพันธ์ 2563 |
82,324 คัน | 68,271 คัน |
มีนาคม 2562 | มีนาคม 2563 |
103,164 คัน | 60,105 คัน |
เมษายน 2562 | เมษายน 2563 |
86,076 คัน | 30,109 คัน |
ยอดขายเดือนเมษายน 2563 รวม 60,105 คัน
- Toyota – 11,053 คัน
- ISUZU – 6,865 คัน
- HONDA 2,648 คัน
- Mitsubishi 2,019 คัน
- Nissan 1,804 คัน
- Ford 1,207 คัน
- MG 1,156 คัน.
- Suzuki 1,114 คัน
- Mazda 1,012 คัน
- Hino 524 คัน
- Chevrolet 476 คัน
- KIA 61 คัน
- Hyundai 58 คัน
- Lexus 31 คัน
- Porsche 29 คัน
- Subaru 27 คัน
- TATA 9 คัน
- Peugeot 7 คัน
- SsangYong 4 คัน
- JAC 4 คัน
- Mercedes benz 0 คัน
- Volvo 0 คัน
- BMW 0 คัน
ขอบคุณข้อมูล TOYOTA