ไทยหนุน เพิ่ม เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 12,000 เครื่อง ไม่เกิน 10 ปี
“บอร์ดอีวี” เตรียมเพิ่มหัวชาร์จเร็ว DC กระแสตรงกว่า 12,000 หัวจ่าย ครอบคลุมทั่วประเทศไทย หลังมีข่าวรัฐบาลลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากทุกประเทศเป็น 0%
- การชาร์จแบบเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) สามารถชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า จาก 0% – 80% ได้ในเวลาประมาณ 40-60 นาที (ขึ้นอยู่กับความจุพลังงานแบตเตอรี่ กิโลวัตต์-ชั่วโมง)
ปัจจุบันปี 2564 มีหัวชาร์จ DC ในไทยเพียง 1,000 หัวจ่าย (สถานีชาร์จ AC 1,511 หัวจ่าย) ซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้งาน และ ครอบคลุมรถยนต์ไฟฟ้า ในอนาคต ด้วยนโยบายของรัฐที่หนุนนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า 0% รวมถึงมีข่าว เตรียมหนุนช่วยจ่าย 20% สำหรับคนที่ออกรถยนต์ไฟฟ้า (ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เดือนธันวาคม 2021)
ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กำหนดอัตราค่าไฟสำหรับชาร์จรถยนต์ ภายใต้เงื่อนไขการบริหารจัดการแบบ Low Priority ที่ 2.6369 บาทต่อหน่วย เพื่อเป็นการจูงใจ ผู้ประกอบการ และ ลงทุนในการขยายสถานีชาร์จ มากขึ้น
รัฐบาลได้กำหนดมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะการกำหนดมาตรการของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อสนับสนุน และ ส่งเสริม การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการจริงๆ อย่าง หนุนเงินสำหรับผู้ซื้อ ยกเว้นค่าทางด่วนสำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ทั้งหมดล้วนกำลังพิจารณา
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า เตรียมที่จะเสนอชุดมาตรการเพื่อสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายในเดือน ธ.ค. 2021 เพื่อพลักดันนโยบายสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
นโยบายดังกล่าวจะแบ่งเป็น 2 แบบได้แก่
1.การลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากต่างประเทศ
2.การตั้งกองทุนเพื่ออุดหนุนราคาให้กับผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าบางส่วน
หากเป็นเช่นนั้น จะได้เงินหนุนจากรัฐ 20% ทำให้ผู้ออกรถยนต์ไฟฟ้า จะได้รถในราคาที่ต่ำลงเช่น รถยนต์ราคา 1 ล้านบาท แต่เราจ่ายเพียง 8 แสนบาท คล้ายๆนโยบายรถคันแรก
- นั้นแสดงว่า เราจะได้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ราคาใกล้เคียงกับรถยนต์น้ำมัน พร้อมแพคเก็จอื่นๆ อีกมากมาย
นอกจากนี้ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ร่วมมือกับภาคเอกชนผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และเพิ่มสถานีชาร์จโดยปัจจุบันมีแล้ว 2,000 แห่ง และมีเป้าหมายจะเพิ่มเป็น 12,000 แห่ง ในเวลาไม่เกิน 10 ปี นับจากนี้ ส่วนประชาชนที่ต้องการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านติดต่อขอรับเงื่อนไขการใช้ไฟได้
ลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าให้ถูกลง
ประเทศไทย เตรียมเสริมมาตรการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ปี 2565 เล็งลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าให้ถูกลง หนุนยอดผลิต EV 30% ภายในปี 2568
คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ประเทศไทย เตรียมผลักดันยานยนต์ไฟฟ้าในไทย พร้อมให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 100% ภายในปี 2578
และ ในปี 2573 ต้องผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ถึง 50% ของรถยนต์ในประเทศ ในปี 2568 ต้องมียอดรถยนต์ไฟฟ้าสะสม 1.05 ล้านคัน หรือ 30% ของรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ
ปัจจุบันการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าโดนภาษี 20-80% ตามลำดับ สำหรับรถยนต์ยุโรป และ ญี่ปุ่น แต่ในปีหน้า เราจะได้ใช้รถยนต์ไฟฟ้ายุโรปถูกลงด้วยภาษี 0% คล้ายๆจีน
- EV จีนได้ภาษีนำเข้า 0% จาก FTA จีน-อาเซียน ที่กระทรวงพาณิชย์ไปทำไว้ อาจจะไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน และไม่สนับสนุนให้เกิดการผลิตในประเทศ โดยรถ EV ทั้งคันจากจีนสามารถนำเข้ามาขายได้ในราคาที่ต่ำ ขณะที่การนำเข้าแบตเตอรี่อย่างเดียวยังเสียภาษีในอัตราที่สูง
กระทรวงการคลัง และหน่วยงานอย่างกรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ยื่นแผนปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตอีวี (EV) ให้คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ที่มีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน พิจารณาเรียบร้อย รอเพียงการประกาศอย่างเป็นทางการ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป
มาตรการส่งเสริมซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค.2565 จะทำให้ราคารถยนต์นำเข้าที่นำมาขายในประเทศไทยมีราคาที่ถูกลงมาก จนสามารถจูงใจให้คนซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ ซึ่งเมื่อเกิดความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ก็จะจูงใจให้เกิดการลงทุนก่อสร้างสถานีชาร์จมากขึ้น ซึ่งจะยิ่งเป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทย บรรลุเป้าหมายภายในปี 2573 จะมียอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ เป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด
สำหรับรายละเอียดของมาตรการส่งเสริมจะมีการประกาศในเร็วๆนี้ โดยจะเป็นแพ็คเกจ มีทั้งมาตรการภาษีและไม่ใช่มาตรการภาษี ที่อาจนำมาใช้สนับสนุน เช่น การลดภาษีรถยนต์ประจำปี,การลดราคาค่าทางด่วน หรือการสนับสนุนที่จดรถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น
สำหรับอัตราภาษีสรรพสามิต ภาษียานยนต์ไฟฟ้า 2 รูปแบบ คือ
1.เครื่องยนต์ไฮบริด หากเป็นรถยนต์นั่งเครื่องยนต์ต่ำกว่า 3,000 ซีซี เสียภาษี 8% แต่จะเสียเพียง 4% จนถึงปี 2568 และหากเครื่องยนต์มากกว่า 3,000 ซีซี จะเสียภาษี 16-26% ตามปริมาณการปล่อยคาร์บอน ไดออกไซด์ แต่ระหว่างนี้จนถึงปี 2568 กรมสรรพาสามิตลดาภาษีให้ 50% และ
2.BEV หรือรถยนต์ไฟฟ้า 100% เสียภาษี 8% แต่เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า กรรมสรรพสามิตจึงให้แรงจูงใจ โดยลดลงภาษีออกเป็น 2 ระดับ คือในปี 2561-2565 เสีย 0% จาก 2% และ ปี 2566-2568 เสีย 2%
ทั้งนี้ ปริมาณการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าปีงบประมาณ 2564 อยู่ที่ 2,133 คัน หดตัวลงเล็กน้อย จากปี 2563 ที่นำเข้าจำนวน 2,177 คัน โดยยอดนำเข้าในปี 2564 เป็นการนำเข้าจากจีนในสัดส่วน 54% ลดลงจากปี 2563 ที่นำเข้าจากจีน 91% เนื่องจาก มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากเยอรมันเป็นสัดส่วน 20% อังกฤษ 10% และสหรัฐอเมริกาอีก 10%