TOYOTA กำลังช้า ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และ พยายามทำทุกอย่างเพื่อกีดกันการสนับสนุน EVs
เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่า Toyota ไม่ได้สนใจแนวคิดรถยนต์ไฟฟ้า EVs เป็นอนาคตของพวกเขา แม้ว่าปัจจุบันจะมีแบรนด์ย่อยในชื่อ bZ แต่นั้นเป็นเพียงรถต้นแบบไฟฟ้า
และ โตโยต้า ไม่เต็มใจที่จะสร้างรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่เป็นทางเลือกในอนาคต พวกเขาเป็นเพียงแบรนด์รถยนต์กระแสหลัก ไม่กี่เจ้าที่ให้ความสนใจในพลังงานเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนแก่สาธารณชน นอกจากนี้ พวกเขายังเน้นย้ำว่าต้นทุนระยะยาวของรถยนต์ไฟฟ้าสูงมาก
อย่างไรก็ตาม ตามรายงานของ The New York Times ได้ระบุว่า ผู้นำรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นได้เข้าไปล็อบบี้ผู้นำรัฐสภาพ เพื่อปิดประตูการพลักดันนโยบายฝ่ายบริหารของ Biden ที่ต้องการเร่งในการเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้า EVs
โตโยต้า กำลังคิดผิด ? ที่กำลังพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน พวกเขาลงทุนในเทคโนโลยีนี้ เป็นเวลาเดียวกับ HONDA ที่ลงทุนใน Clarity และ ก็ยกเลิกไปในที่สูง ฮอนด้า เปลี่ยนมาให้ความสนใจพลังงานไฟฟ้าด้วยการเริ่มจากไฮบริด ปลั๊กอินไฮบริด และ อนาคตคือ EV 100%
ไม่เพียงเท่านั้นผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นๆ จำนวนมากได้ทิ้งรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฮโดรเจน โดย Volkswagen ก็ได้ละทิ้งเช่นกัน
โตโยต้ายังคงเดินหน้าผลักดัน Mirai ซึ่งขณะนี้อยู่ในรุ่นที่สอง พวกเขายังเชื่อมั่นว่าภายใน 10 ปี เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน จะเป็นที่ยอมรับ แต่ก็มีความเชื่อว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินแบบไฮบริดควรได้รับการจัดลำดับความสำคัญ เช่นกัน
The New York Times ยังรายงานอีกว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยแก๊สไปเป็น EV อาจเป็นหายนะสำหรับผลประโยชน์ทางธุรกิจของ Toyota ที่ให้ความสนใจในอนาคตของไฮโดรเจนมากกว่า
ในขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นได้รับการขนานนามว่าจะเปิดตัวแบตเตอรี่แบบโซลิดสเตต ที่มีประสิทธิภาพ แต่นักวิเคราะห์ระบุว่า มันยังอีกไกล
อย่างน้อยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา โตโยต้าได้สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองว่าเป็นผู้บุกเบิกอนาคตที่ยั่งยืนด้วยการเปิดตัว Prius แต่ดูเหมือนต้นทุนที่สูงในการผลิต ทำให้โตโยต้าไม่ค่อยให้ความสนใจในรถยนต์ไฟฟ้า
Toyota กำลังพยายามระงับความคืบหน้าในการส่งเสริมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ด้วยการบริจาคเงินทางการเมือง
รายงานของ Times กล่าว หน่วยงานเฝ้าระวังการรณรงค์หาเสียงพบว่า Toyota “เป็นผู้บริจาคองค์กรรายใหญ่ที่สุดในปีนี้ให้กับพรรครีพับลิกันในสภาคองเกรส ซึ่งโต้แย้งผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2020” ฝ่ายบริหารของทรัมป์มีชื่อเสียงคัดค้านการที่แคลิฟอร์เนียกำหนดมาตรฐานการปล่อยมลพิษ และพยายามยุติกฎระเบียบที่เข้มงวดยิ่งขึ้น
และ ไม่ใช่แค่ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ผู้บริหารชาวอินเดียที่ยึดติดกับแบรนด์ประณามเป้าหมายของประเทศที่จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดภายในปี 2573
และ เมื่อปีที่แล้วผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นได้ยื่นคำร้องต่อรัฐบาลให้ทบทวนการห้ามขายรถยนต์ ICE (รถยนต์สันดาป หรือ รถยนต์ที่ใช้น้ำมัน)
อากิโอะ โทโยดะ ประธานของโตโยต้า กล่าวในการแถลงข่าวของสมาคมผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่น โดยอ้างว่าไฟฟ้าในญี่ปุ่นจะขาดตลาดในช่วงฤดูร้อน หากรถยนต์ทุกคันเป็นไฟฟ้า เขาเสริมว่าโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ EV อย่างสมบูรณ์จะทำให้ประเทศเสียค่าใช้จ่ายเทียบเท่า 135 พันล้านดอลลาร์ถึง 358 พันล้านดอลลาร์
เนื่องจากบริษัทรถยนต์หลายแห่งกำหนดเส้นตายอย่างเข้มงวด ในการเลิกใช้เครื่องยนต์สันดาป โดยเฉพาะแบรนด์ในกลุ่ม ยุโรป และ สหรัฐอเมริกา
ประเทศจีนกำหนดให้ผู้ผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ๆ อย่างน้อย 40% ต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2573 รถยนต์ไฟฟ้าเฉพาะของโตโยต้าที่เสนอขายในตลาดจีนคือ CH-R EV และ IZOA รุ่นแฝดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากความร่วมมือกับ FAW และ GAC ผู้ผลิตในท้องถิ่น
อย่างไรก็ตาม ที่งาน Shanghai Auto Show โตโยต้าได้แสดงตัวอย่างแนวคิดไฟฟ้าที่พัฒนาโดย Subaru bZ4X EV แสดงตัวอย่างรถยนต์ไฟฟ้า 15 คันที่จะเปิดตัวภายในปี 2568
แม้ว่าปัจจุบัน Lexus UX 300e รถยนต์ไฟฟ้า 100% แต่นั้นเป็นแบรนด์ไฮเอนด์ของ โตโยต้า ซึ่งสามารถขายในราคาที่แพงกว่าได้ จึงไม่แปลกที่จะมีรถยนต์ไฟฟ้าก่อนโตโยต้า
TOYOTA กำลังช้าในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า อย่างไม่ต้องสงสัย และ หากช้ากว่านี้ มันอาจจะเป็นจุดจบ ? ยังไม่มีใครทราบ แต่แบรนด์ยักษ์ขนาดนีั้ กำลังเร่งพัฒนาอย่างแน่นอน FCEV อาจเอาไว้ข้างหลังก็เป็นไปได้