ยืนยัน ไม่ต้องเรียกคืนรถในไทย ประธานบอร์ดโตโยต้า แถลงข่าว TOYOTA YARIS ATIV จากกรณีบิดเบือนผลทดสอบการชน
อากิโอะ โตโยดะ ประธานบอร์ดโตโยต้า แถลงข่าวกรณี TOYOTA YARIS ATIV มีการบิดเบือนตัวรถ เพื่อผลการทดสอบการชน ทั้งนี้มีการกระทบต่อประเทศไทยกว่า 39,757 คัน การแถลงข่าวเกิดขึ้นวันนี้ 8 พฤษภาคม 2023 เวลา 14.00 น.
ในการแถลงข่าวครั้งนี้นอกจาก อากิโอะ โตโยดะ ประธานบอร์ดโตโยต้า ยังมี มาซาฮิโกะ มาเอดะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ภาคพื้นเอเชีย บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น , โนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย และ นายสุรภูมิ อุดมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ร่วมแถลงครั้งนี้ด้วย
Toyota Yaris ATIV จัดอยู่ในกลุ่ม ECO Car เฟส 2 ต้องผ่านข้อกำหนดการชนด้านข้าง ตามมาตรฐาน UN-R95 การทดสอบการชนด้านข้างด้วยรถอีกคันที่วิ่งชนในความเร็ว 50 กม./ชม. ชิ้นส่วนแผงประตูของรถที่ทดสอบจะต้องไม่แตกจนเกิดคม ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้โดยสาร
ปัญหาเริ่มต้นจากรถยนต์ YARIS ATIV ที่ทดสอบ ถูกทำรอยบากบริเวณแผงข้างประตู ซึ่งต่างจากรถยนต์เวอร์ชั่นจำหน่ายจริง หลังจากพบว่ามีความไม่สมบูรณ์เกี่ยวกับการเตรียมทดสอบในครั้งแอรก จึงนำรถเวอร์ชั่นจำหน่ายจริงทดสอบเพื่อยืนยัน พบว่าไม่มีปัญหาที่ส่งผลต่อคุณภาพ และ ความปลอดภัย ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องดำเนินการใดๆ กับ ATIV ที่จำหน่ายไปแล้ว
อย่างก็ก็ตาม ATIV จะกลับมาจำหน่าย และ ส่งมอบอีกครั้ง จะต้องได้รับอนุญาติจากหน่วยงานรัฐฯ ซึ่งตอนนี้ โตโยต้า กำลังนำผลการทดสอบดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภายนอก ยืนต่อรัฐฯ เพื่อให้ได้รับใบอนุญาติ ตามข้อกำหนด ECO Car เฟส 2
สำหรับ YARIS ATIV ในไทยตั้งแต่ สิงหาคม 2022 – เมษายน 2023 กว่า 39,757 คัน
- สิงหาคม 2022 : 3,209 คัน
- กันยายน 2022 : 3,384 คัน
- ตุลาคม 2022 : 3,409 คัน
- พฤศจิกายน 2022 : 4,671 คัน
- ธันวาคม 2022 : 3,975 คัน
- มกราคม 2023 : 5,400 คัน
- กุมภาพันธ์ 2023 : 6,804 คัน
- มีนาคม 2023 : 6,038 คัน
- เมษายน 2023 : 2,867 คัน
ก่อนหน้านี้ Daihatsu – Toyota ญี่ปุ่น แถลงยอมรับบิดเบือนตัวรถ กระทบ ATIV ในไทยเพียง 36,890 คัน ไม่รวมเดือนเมษายน 2023 (ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ผลิตแบบเดียวกัน)
[กรุงเทพฯ, 8 พฤษภาคม 2566] จากกรณีที่บริษัท ไดฮัทสุ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ออกมาชี้แจงถึงความไม่เหมาะสมในการเตรียมการทดสอบมาตรฐานการชนด้านข้าง UN-R95 ของรถยาริส เอทีฟ ที่ผลิตในประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา มร. อากิโอะ โตโยดะ ประธานคณะกรรมการบริหารของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (โตโยต้า) ได้เดินทางมายังประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมเป็นการเฉพาะกิจ เพื่อทำงานร่วมกับผู้เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด และแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ที่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกและข้อกังวลใจ ที่อาจเกิดขึ้นกับลูกค้าชาวไทย ผู้แทนจำหน่ายฯ พนักงาน หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
เนื่องในโอกาสเดียวกันนี้ มร.อากิโอะ โตโยดะ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารของกลุ่มบริษัทโตโยต้า ได้ยืนยันความมั่นใจในคุณภาพของรถยนต์โตโยต้า โดยกล่าวว่าเหตุผลที่ตนเดินทางมายังประเทศไทยในครั้งนี้ เนื่องจากต้องการตอกย้ำความเชื่อมั่นของลูกค้าชาวไทยว่า “ยาริส เอทีฟ” เป็นรถที่มีมาตรฐานความปลอดภัย เป็นไปตามข้อกำหนดของประเทศไทยทุกประการ อีกทั้งยังยืนยันว่าลูกค้าและผู้ที่ครอบครองยังคงสามารถใช้งานรถรุ่นนี้ต่อไปได้อย่างสบายใจไร้ข้อกังวล
มร. โตโยดะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “โตโยต้านั้นเป็นองค์กรที่เมื่อพบปัญหาไม่ว่าในเวลาใด เราจะหยุด เพื่อร่วมกันค้นหาสาเหตุที่แท้จริง ทำการปรับปรุง และป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำขึ้นอีก อันเป็นปรัชญาของโตโยต้าที่ทุกคนต่างยึดมั่น นับตั้งแต่ก่อตั้งองค์กร ทั้งนี้ตัวผมเองจะเป็นหัวเรือหลัก ในการนำพาทุกคนมุ่งสู่ปรัชญานั้นอีกครั้ง ตลอดจนส่งเสริมเพื่อให้ทุกคนในองค์กรปฏิบัติตามอีกด้วย”
ในงานแถลงข่าว มร. มาซาฮิโกะ มาเอดะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารภาคพื้นเอเชีย กล่าวเพิ่มเติมว่า “โตโยต้ามี กระบวนการในการปฏิบัติก่อนส่งรถให้กับลูกค้า นั่นคือ การพัฒนา การรับรอง การผลิต และการจำหน่าย ทั้งนี้เราขอยืนยันว่า เรื่องที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ได้เป็นปัญหาเรื่องความปลอดภัยและคุณภาพของรถยนต์ระหว่างกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แต่เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการรับรอง ซึ่งมีการตรวจพบถึงความไม่เหมาะสมในการเตรียมการทดสอบมาตรฐานการชนด้านข้าง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เราให้ความสำคัญอย่างยิ่ง จึงมีการเร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว”
และเพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบของประเทศไทย โตโยต้าจึงระงับการส่งมอบและการจำหน่ายรถยนต์รุ่นดังกล่าวชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา โดยขณะนี้กำลังประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับการกลับมาจำหน่ายและส่งมอบรถรุ่นนี้ในลำดับต่อไป
<สถานการณ์ล่าสุดในกระบวนการรับรองอนุมัติ>
หลังจากที่ตรวจพบความไม่เหมาะสมในการเตรียมการทดสอบมาตรฐานการชนด้านข้าง ทางบริษัท
ไดฮัทสุ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาตัวถังและในการขอการรับรอง ได้ดำเนินการทดสอบการชนด้านข้าง ด้วยชิ้นส่วนที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในรถรุ่นยาริส เอทีฟ เป็นการภายใน และขอยืนยันว่าเป็นไปตามข้อกำหนด UN-R95 ทั้งหมด
ไดฮัทสุ ได้ทำการปรึกษาหน่วยงานภายนอกที่ทำการตรวจสอบและออกหนังสือรับรอง หรือ Vincotte มีการลงความเห็นว่า สำหรับรถรุ่นปัจจุบัน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขใดๆ ซึ่งทางบริษัทขอยืนยันว่ารถมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยสอดคล้องกับข้อบังคับที่กำหนดไว้ และลูกค้าสามารถใช้งานรถของท่านต่อไปได้ตามปกติ
นอกจากนั้น ทางบริษัทได้ดำเนินการทดสอบอีกครั้ง โดยใช้รถที่ผลิตและจำหน่ายจริงในประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 โดยมีหน่วยงานภายนอกที่มีอำนาจรับรองมาตรฐาน ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของประเทศเบลเยี่ยมเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการทดสอบ และได้รับการอนุมัติว่าเป็นไปตามข้อกำหนด UN-R95 โดยไม่เป็นการเพิกถอนหรือยกเลิกหนังสือรับรองเดิม
ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2566, บริษัทฯได้รับใบขยายผลการรับรอง UN-R95 (โดยไม่เป็นการยกเลิกผลการรับรองเดิม) และขณะนี้ ทางบริษัทประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ เพื่อดำเนินการจำหน่ายและส่งมอบรถรุ่นนี้ในลำดับต่อไป
ทั้งนี้ โตโยต้าให้ความสำคัญและจริงจังกับเรื่องที่เกิดขึ้น เราพยายามที่จะทบทวนกระบวนการและดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
โตโยต้ามีความมุ่งมั่นที่จะผลิตและส่งมอบรถยนต์ที่มีความปลอดภัยและมีคุณภาพสูงสุดให้กับลูกค้าของเราอยู่เสมอ และยังคงมุ่งให้ในการให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก เราขออภัยจากใจจริงต่อลูกค้าทุกท่านและผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ให้ความไว้วางใจในแบรนด์โตโยต้า ต่อความไม่สะดวกและข้อกังวลใจ ทั้งนี้ ทางบริษัทยินดีที่จะรับฟังทุกความคิดเห็น และมุ่งหวังที่จะได้รับความไว้วางใจจากทุกภาคส่วน ตลอดจนยังคงมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อลูกค้าคนสำคัญของเรา
ข่าวก่อนหน้านี้
Toyota ยอมรับว่ารถทดสอบการชนของ Daihatsu บางคันถูกดัดแปลงเพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า ทำให้รถยนต์ในบางรุ่นอย่าง Perodua Axia, Toyota Yaris Ativ, Toyota Agya และรถยนต์ที่กำลังจะมาถึงที่ไม่เปิดเผยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบ จากการปลอมแปลงผลของการทดสอบ
- ไดฮัทสุดำเนินกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่การพัฒนาจนถึงการผ่านการทดสอบการรับรองที่จำเป็นตามข้อตกลงการจัดหา OEM และข้อตกลงการพัฒนาร่วมกันระหว่าง Toyota Motor Corporation (Toyota) และ Daihatsu โตโยต้าจึงยื่นขออนุมัติประเภทรถจากทางการ และหลังจากได้รับการอนุมัติที่จำเป็นแล้ว ก็จำหน่ายภายใต้แบรนด์โตโยต้า
วันที่ 28 เมษายน 2023 รายงานจากทางบริษัท Daihatsu ออกแถลงอย่างเป็นทางการ สำหรับการผลทดสอบการชนของรถยนต์กว่า 88,000 คัน ซึ่งถูกผลิตขึ้นในประเทศไทยและมาเลเซีย เนื่องจากชิ้นส่วนแผงประตูของรถเวอร์ชั่นจำหน่ายจริง ถูกปรับให้แตกต่างจากต้นแบบ ที่ถูกใช้ในการทดสอบการชนของภาครัฐ และมีผลต่อผลการทดสอบการชนให้ไม่เหมือนกัน
ในระหว่างการทดสอบการชนด้านข้าง รถเหล่านี้มีรอยบากที่แผงด้านในของประตูหน้า สิ่งนี้ช่วยหลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ของการชนกันซึ่งทำให้เกิดขอบที่แหลมคม ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายและบาดเจ็บสำหรับผู้โดยสารเมื่อถุงลมนิรภัยด้านข้างทำงาน
รถยนต์ที่ได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน คือ Perodua Axia, Toyota Yaris Ativ, Toyota Agy และ Daihatsu และ Perodua บางรุ่นรถยนต์เหล่านี้ผลิตจำหน่ายในประเทศไทย มาเลเซีย ซาอุดิอารเบีย UAE คูเวต อินโดนีเซีย เมกซิโก ทำให้ปัจจุบันถูกระงับการจำหน่ายในทันที
การประกาศของ Daihatsu ระบุว่าขายโมเดลเหล่านี้ได้ 88,123 คัน โดยส่งมอบ YARIS ATIV กว่า 76,289 คัน ให้แก่ประเทศไทย เม็กซิโก และกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวไทย ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต กาตาร์ บาห์เรน และโอมาน รวมทั้ง Perodua Axias กว่า 11,834 คัน
ทำให้ Toyota Agya จะไม่เข้าสู่สายการผลิตจนถึงเดือนมิถุนายน 2023 ดังนั้นจึงยังไม่ให้จับจอง เห็นได้ชัดว่าโมเดลที่ไม่ได้บอกล่วงหน้านั้นยังวางขายอยู่เช่นกัน
“เนื่องจากปัญหานี้เกิดขึ้นกับรถยนต์นั่งยี่ห้อ Toyota เราเชื่อว่าปัญหาไม่ได้จำกัดเฉพาะที่ Daihatsu เท่านั้น เราจะเริ่มด้วยการดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียดและรวบรวมข้อเท็จจริงอย่างละเอียดเพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ หาสาเหตุที่แท้จริง และทำงานอย่างขยันขันแข็งเพื่อป้องกัน เกิดขึ้นซ้ำอีก นอกจากนี้ เราจะแจ้งให้สาธารณชนทราบในเวลาที่เหมาะสมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่เราเรียนรู้จากการสืบสวนของเรา” อากิโอะ โตโยดะ ประธานบริษัทโตโยต้ากล่าว
หลังจากข่าวนี้ออกมา TOYOTA ได้นำรถไปทำการทดสอบภายใน ผลสรุปว่า ชิ้นส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นไม่ส่งผลต่อความปลอดภัยรถแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามรถรุ่นที่ได้รับผลกระมบ จะถูกส่งไปทดสอบโดยภาครัฐอีกครั้ง และจะกลับมาวางจำหน่ายเมื่อชิ้นส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยอย่างถูกต้อง
ในฐานะเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง ประธาน Sato จะรับผิดชอบในการปรับปรุงการดำเนินงานการผลิตรถยนต์ของ Toyota และบริษัทในกลุ่ม ในขณะที่ฉันในฐานะประธานคณะกรรมการและมีประสบการณ์ในเรื่องการเรียกคืนรถ จะเป็นผู้นำในการริเริ่มด้านการกำกับดูแลและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ กลุ่มบริษัทโตโยต้าโดยรวมจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อเรียกความไว้วางใจจากลูกค้าของเรากลับคืนมาโดยเร็วที่สุด
คำแถลงอย่างเป็นทางการของ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (โตโยต้า) ได้รับแจ้งเกี่ยวกับข้อบ่งชี้ถึงความไม่สมบูรณ์ของการเตรียมการทดสอบการชนด้านข้าง (UN R95) โดยบริษัทไดฮัทสุ มอเตอร์ จำกัด (ไดฮัทสุ) ของรถยนต์รุ่นยาริส เอทีฟ [Yaris Ativ] ที่ผลิตที่โรงงานของโตโยต้า 2 แห่งในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งทั้งโตโยต้าและไดฮัทสุได้จัดการแถลงข่าวขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566
แม้ว่าไดฮัทสุเป็นผู้รับผิดชอบพัฒนาตัวถังและดูแลขั้นตอนรับรองรถยนต์รุ่นยาริส เอทีฟ อย่างไรก็ตามทางสำนักงานใหญ่ของโตโยต้าในภูมิภาคเอเชียมีความจำเป็นต้องขออภัยเป็นอย่างสูง ที่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกและความไม่สบายใจที่อาจเกิดขึ้นกับลูกค้า ผู้แทนจำหน่ายฯ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านซึ่งครอบครองรถรุ่นนี้ ทั้งนี้ เราขอเรียนชี้แจงให้ท่านทราบถึงความเข้าใจในสถานการณ์ ตลอดจนแผนการดำเนินงานในอนาคตของเรา
- หลังจากพบข้อบ่งชี้ถึงความไม่สมบูรณ์ของการเตรียมการทดสอบ โตโยต้าปรึกษากับไดฮัทสุ และหยุดการส่งมอบรถชั่วคราวไปยังกลุ่มตลาดที่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทดสอบการชนด้านข้าง UN-R95
- นอกจากนี้ ทางไดฮัทสุได้ทำการปรึกษาหน่วยงานที่ทำการตรวจสอบและออกใบรับรอง เพื่อดำเนินการทดสอบการชนด้านข้าง UN-R95 ด้วยชิ้นส่วนที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในรถรุ่น Yaris Ativ เป็นการภายใน และขอยืนยันว่าเป็นไปตามข้อกำหนด UN-R95 ทั้งหมด
- ภายหลังจากการรายงานผลการทดสอบ มีการลงความเห็นว่า สำหรับรถรุ่นปัจจุบัน ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขใดๆ ซึ่งทางบริษัทขอยืนยันว่าลูกค้าสามารถใช้งานรถของท่านต่อไปได้ตามปกติ
- นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา ทางบริษัทมีการจัดทดสอบการชนด้านข้างต่อหน้าหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดการทดสอบอีกครั้ง ซึ่งได้รับการอนุมัติว่าเป็นไปตามข้อกำหนด UN-R95
- ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย มีความจำเป็นที่ต้องตรวจสอบซ้ำในประเทศญี่ปุ่นตามข้อกำหนดการทดสอบพยาน (witness testing) จึงมีความจำเป็นต้องหยุดจัดส่งและจำหน่ายชั่วคราว หลังจากนี้ บริษัทจะทำการเร่งจัดส่งรถให้เร็วที่สุด ภายใต้คำแนะนำและการตรวจสอบอนุมัติโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ทางด้านสาเหตุของความไม่สมบูรณ์ในขั้นตอนการเตรียมการทดสอบ ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทฯ ขออภัยเป็นอย่างสูงต่อลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ที่ให้ความไว้วางใจในแบรนด์โตโยต้า
คุณอากิโอะ โตโยดะ ประธานคณะกรรมการ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการผลิตรถยนต์… เราขออภัยจากใจจริงต่อลูกค้าทั่วโลกและผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดสำหรับความไม่สะดวกและความไม่สบายใจ… ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรถโดยสารส่วนบุคคลของแบรนด์โตโยต้า ดังนั้น จึงมิได้เป็นเพียงปัญหาของไดฮัทสุอย่างเดียว ซึ่งเราจะเริ่มตรวจสอบอย่างละเอียด และรวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อให้เข้าใจถึงสถานการณ์ และทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา รวมถึงทำงานอย่างจริงจังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นอีก นอกจากนี้ เราจะชี้แจงข้อเท็จจริงที่พบระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบให้สาธารณชนทราบอย่างทันท่วงที”
Toyota , Daihatsu , via Reuters
https://www.car250.com/2023-yaris-ativ-new-th.html
https://www.car250.com/toyota-agya-gr-sport.html
อัตราประหยัดน้ำมัน 27.4 กม./ชาร์จ MDC PERODUA AXIA 1.0L ใหม่ในมาเลเซีย ราคา 300,000 – 384,000 บาท