เปิดตัว Weimar M7 EV 700 กม./ชาร์จ L4 อัดแน่นด้วยเทคโนโลยี
วันที่ 22 ตุลาคม 2021 ประเทศจีน Weimar Motors ได้เปิดตัวซีดานไฟฟ้าคันแรกของแบรนด์ภายใต้ชื่อ Weimar M7 มาพร้อมแนวคิดของรถยนต์ต้นแบบ Maven
Weimar M7 ตัวถังยาวเกือบ 5 เมตร (4930 มม.) บนฐานล้อเกือบ 3 เมตร (2918 มม.)
รูปลักษณ์ของ Weimar M7 ยังคงเป็นการออกแบบของรถยนต์ต้นแบบ Maven เช่น รูปร่าง “X” ของด้านหน้าและแถบไฟ LED ลากเชื่อมทั้งสองฝั่ง มือจับประตูแบบซ่อน ไฟท้ายแบบ LED ลากเชื่อมกัน
Weimar M7 มาพร้อมกับฝาปิด Super Vision ความแมนยำสูงในการสูงอัตโนมัติ 3 อัน ครอบคลุมการสแกนในแนวนอน และ แนวตั้ง รับรู้สภาพแวดล้อมในการขับขี่ รวมทั้งติดตั้ง เรดาร์ตรวจจับคลื่นขนาด 5 มม. เรดาร์อัลตราโซนิก 12 ตัว กล้องความละเอียดสูงพิเศษ 8 ล้านพิกเซล 7 ตัว และกล้องมองภาพรอบทิศทางความละเอียดสูง 2 เMegaPixel 4 ตัว สร้างภาพรอบคัน 360 องศา
Weimar M7 ยังมาพร้อมกับชิปออโตไพลอต NVIDIA DRIV Orin-X ชิป Orin-X ตัวเดียวมีกำลังประมวลผล 254 TOPS, 254 ล้านล้านการคำนวณต่อวินาที และกำลังประมวลผลสูงสุด 1016 TOPS ทำให้วิเคราะห์ และ รวมข้อมูลอย่างรวดเร็ว และ มีประสิทธิภาพ
Weimar กล่าวว่ากำลังพัฒนาเทคโนโลยี OTA ด้วยการผสานรวมซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่าง ครอบคลุม 18 โมดูลการทำงานจาก 7 ตัวควบคุมหลัก เพื่อให้ยานพาหนะสามารถประมวลผลได้อย่างสมบูรณ์ และ มีประสิทธิภาพสูง
แม้ว่ายังไม่มีภาพคันจริงของภายในห้องโดยสาร แต่ทาง Weimar ได้เผยแพร่ภาพ M7 ออกมาบน CG มากกว่า แสดงให้เห็นการออกแบบทันสมัย และหรูหรา
สังเกตว่า จะมีปุ่มหมุนชื่อ i-Rota ที่รวมคำสั่งเพียงลูกบิดเดียว หน้าจอดอทเมทริกซ์ที่ด้านหน้าแบบลอย รวมทั้งสามารถแสดงการตอบโต้ด้วยเสียงบริเวณคอนโซลหน้า
แม้ว่า Weimar M7 ยังไม่เผยข้อมูลกำลังมอเตอร์ไฟฟ้า แต่ทางแบรนด์ระบุว่าสามารถวิ่งได้ 700 กม./ชาร์จ รถใหม่พร้อมส่งมอบภายในปี 2022
Autopilot มี 5 ระดับ ได้แก่
- ระดับ 1 จะมีระบบอัตโนมัติ ช่วยเหลือผู้ขับขี่ เช่น การบังคับเลี้ยวหรือการเร่งและรักษาคุมความเร็วคงที่ รวมทั้งระบบควบคุมความเร็วคงที่แบบปรับความเร็วอัตโนมัติ ซึ่งสามารถควบคุมยานพาหนะไว้ในระยะที่ปลอดภัยต่ออุบัตเหตุ ซึ่งคุณสมบัติ Level 1 ยังต้องการวิจารณญาณของมนุษย์คนขับ ตรวจสอบการใช้ฟังก์ชั่นช่วยขับขี่ร่วมด้วย
- ระดับ 2 จะมีระบบ ADAS หรือ Advanced Driver Assistance Systems ซึ่งเป็นระบบบังคับเลี้ยวอัตโนมัติคู่กับระบบความคุมอัตรเร่งและปรับความเร็วให้ทำงานประสานกันผ่านกลไกการควบคุมที่ซับซ้อน… ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ทุกค่ายล้วนใส่เงินไปกับการวิจัยระบบ ADAS ต่อเนื่องมานาน ซึ่งระบบ ADAS ที่มีชื่อเสียงและสอบผ่านมาตรฐาน Level 2 รุ่นแรกๆ จนได้ทดสอบ
- ระดับ 3 จะมีความสามารถในการตรวจจับสภาพแวดล้อม และสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดเช่น การเร่งแซงรถที่ช้า แต่ระบบก็ยังต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์ แม้มนุษย์ไม่ต้องเหยียบคันเร่งถือพวงมาลัย… แต่ผู้ขับขี่จะต้องตื่นตัวและพร้อมที่จะเข้าควบคุมทันทีหากระบบผิดพลาด ซึ่งส่วนใหญ่ระบบจะออกแบบให้ตรวจสอบเงื่อนไขการทำงานอัตโนมัติตลอดเวลา และหาก Condition หรือเงื่อนไขการทำงานในระบบผิดพลาด… รถจะมีฟังก์ชั่นขอความช่วยเหลือจากมนุษย์ติดมาด้วย
- ระดับ 4 ไม่ต้องมีมนุษย์คอยช่วยเหลือในยามเข้าตาจนเหมือน Level 3 อีกเลย แม้จะมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นทั้งในระบบและสภาพแวดล้อมภายนอก หรือแม้แต่เกิดขัดข้องขึ้น พาหนะ Level 4 ก็จะจัดการความผิดปกติและบกพร่องทั้งหลายได้เอง โดยพึ่งพาและปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ในฐานะผู้โดยสาร มากกว่าจะพึ่งพามนุษย์ในฐานะผู้ควบคุมปกป้องความผิดพลาด พาหนะ Level 4 สามารถทำงานในโหมดขับขี่ด้วยตนเอง หรือ Self-Driving Mode ได้อย่างสมบูรณ์
- ระดับ 5 ไม่ต้องการความช่วยเหลือใดๆ จากมนุษย์อีก เพราะระบบจะทำงาน Dynamic Driving Task เต็มประสิทธิภาพ เทียบเท่าระดับเดียวกับหรือดีกว่ามนุษย์ที่มีทักษะการขับรถยอดเยี่ยมที่สุด… พาหนะ Level 5 จึงไม่มีแม้แต่พวงมาลัย แป้นเหยียบคันเร่งและแป้นเบรก ทำให้พาหนะ Level 5 เป็น Fully Autonomous Cars ซึ่งเป็นเป้าหมายความสำเร็จของการพัฒนายานพาหนะบนผิวพื้นยุคต่อไป… ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่า กฏหมายและโครงสร้างพื้นฐานของ Smart City