Xiaomi M1 รถยนต์ในจินตนาการของแบรนด์ โดย Mo Fei
วันนี้ชุมชน Xiaomi ได้โพสต์ภาพเรนเดอร์รถยนต์ไฟฟ้า Xiaomi M1 ซึ่งสร้างขึ้นโดยผู้ใช้ชุมชน Xiaomi “Mo Fei” ผ่าน Weibo (ภาพเรนเดอร์ไม่ได้มาจาก Xiaomi)
รถยนต์ไฟฟ้า Xiaomi M1 ใช้การออกแบบตัวถังที่ทันสมัยหรูหราสีดำ กระจังหน้าแบบปิด พร้อมไฟหน้าแบบ LED เรียวยาว คล่องตัว เรียบง่ายและมีสไตล์ และล้อมีพื้นผิวฝากระโปรงหน้ามีมิติ พร้อมโลโก้ MI ตรงกลาง
เขาระบุว่า Xiaomi M1 อาจมาพร้อมระบบควบคุมอัจฉริยะ รวมทั้งระบบขับขี่อัตโนมัติ หน้าจอสัมผัสส่วนกลางแบบโฮโลแกรมขนาดใหญ่ พร้อมเทคโนโลยีการชาร์จเร็ว รวมทั้งแบตเตอรี่สมรรถนะสูง 1,000 กม./ชาร์จ
แม้ว่านี่จะเป็นเพียงรถยนต์ไฟฟ้า Xiaomi ในจินตนาการของ “Mo Fei” แต่จินตนาการดังกล่าว น่าจะใกล้เคียงกับความจริงสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกของแบรนด์ Xiaomi
CEO Xiaomi นาย Lei Jun ได้ลงทุนกว่า 10 พันล้านหยวน (1.55 พันล้านดอลลาร์) ในรถยนต์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ Xiaomi EV ซึ่งจะใช้จ่ายในธุรกิจ EV ภายใน 10 ปีข้างหน้า
ขณะที่ Xiaomi ที่จดทะเบียนในฮ่องกงตั้งเป้าที่จะแซงหน้า Samsung Electronics พร้อมขยายสาขาสมาร์ทโฟม ซึ่งพร้อมที่จะแซงหน้า Apple ภายใน 3 ปี
Lei ผู้ก่อตั้งซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานของ Xiaomi กล่าวว่า “เรายินดี และความถนัดของเรา ไปใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะในอนา่คต”
Xiaomi EV ได้ติดต่อกับพันธมิตรรถยนต์ในจีนหลากหลายกว่า 10 ราย ซึ่งปัจจุบันแบรนด์ Xiaomi EV มีพนักงานกว่า 300 คัน จากผู้สมัครคัดเลือกกว่า 20,000 คัน
เมื่อเดือนที่แล้ว มีรายงานว่า Xiaomi ได้เจรจากับ China Evergrande Group บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีภาระหนี้เพื่อซื้อธุรกิจ EV
รวมทั้ง Xiaomi กำลังเจรจากับบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งรวมถึง Evergrande แต่กล่าวว่ายังไม่บรรลุข้อตกลงใดๆ
เมื่อเดือนที่แล้ว Xiaomi ประกาศซื้อกิจการ DeepMotion ผู้พัฒนาเทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติด้วยเงินประมาณ 77 ล้านดอลลาร์ เป็นความตั้งใจจะพัฒนารถยนต์ไร้คนขับระดับ L4 ในอนาคต
ในเวลาเดียวกัน ข่าวดังกล่าวยังระบุด้วยว่าคนในของ Jianghuai Automobile กล่าวว่า Jianghuai Automobile อาจทำสัญญากับ Xiaomi Automobile และ รถยนต์รุ่นแรกของ Xiaomi อาจมีราคาต่ำกว่า 200,000 หยวน หรือ 1 ล้านบาท
Lei Jun กล่าวว่า “ตามหลักเหตุผลแล้ว รถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะและ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคก็เป็นสิ่งเดียวกัน Xiaomi จะไม่มีวัน ทำไม่ได้ และมันเป็นอุปสรรคที่ท้าทายของแบรนด์ ในการสร้างรถยนต์อัจฉริยะ “
Reuters รายงานว่า Xiaomi และ Great Wall จะประกาศความร่วมมืออย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า
Lei Jun ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Xiaomi เชื่อว่าความเชี่ยวชาญของ บริษัท ในการผลิตฮาร์ดแวร์จะช่วยเร่งการออกแบบและผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของพวกเขาได้อย่างดีเยี่ยม
“ Xiaomi ต้องการหาผู้ผลิตรถยนต์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน เพื่อจัดหาโครงสร้างพื้นฐานของรถยนต์โมเดลไฟฟ้ารุ่นใหม่ ซึ่งทาง Xiaomi มีข้อได้เปรียบด้านเทคโนโลยีอยู่แล้ว” อลัน คัง นักวิเคราะห์อาวุโสของ LMC Automotive กล่าว “ ข้อได้เปรียบของ Xiaomi ในด้านระบบปฏิบัติการ รวมถึงดีไซน์ จะทำให้รถยนต์ไฟฟ้าของ Xiaomi เรียบหรู ทันสมัย และสวยงาม”
ตามรายงาน Xiaomi กำลังวางแผนที่จะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าคันแรกในราวปี 2566 และรถยนต์ไฟฟ้าคันแรกของค่าย จะสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เกือบทั้งหมดของ Xiaomi ได้ทำให้สะดวก สบายมากขึ้น
Autopilot มี 5 ระดับ ได้แก่
- ระดับ 1 จะมีระบบอัตโนมัติ ช่วยเหลือผู้ขับขี่ เช่น การบังคับเลี้ยวหรือการเร่งและรักษาคุมความเร็วคงที่ รวมทั้งระบบควบคุมความเร็วคงที่แบบปรับความเร็วอัตโนมัติ ซึ่งสามารถควบคุมยานพาหนะไว้ในระยะที่ปลอดภัยต่ออุบัตเหตุ ซึ่งคุณสมบัติ Level 1 ยังต้องการวิจารณญาณของมนุษย์คนขับ ตรวจสอบการใช้ฟังก์ชั่นช่วยขับขี่ร่วมด้วย
- ระดับ 2 จะมีระบบ ADAS หรือ Advanced Driver Assistance Systems ซึ่งเป็นระบบบังคับเลี้ยวอัตโนมัติคู่กับระบบความคุมอัตรเร่งและปรับความเร็วให้ทำงานประสานกันผ่านกลไกการควบคุมที่ซับซ้อน… ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ทุกค่ายล้วนใส่เงินไปกับการวิจัยระบบ ADAS ต่อเนื่องมานาน ซึ่งระบบ ADAS ที่มีชื่อเสียงและสอบผ่านมาตรฐาน Level 2 รุ่นแรกๆ จนได้ทดสอบ
- ระดับ 3 จะมีความสามารถในการตรวจจับสภาพแวดล้อม และสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดเช่น การเร่งแซงรถที่ช้า แต่ระบบก็ยังต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์ แม้มนุษย์ไม่ต้องเหยียบคันเร่งถือพวงมาลัย… แต่ผู้ขับขี่จะต้องตื่นตัวและพร้อมที่จะเข้าควบคุมทันทีหากระบบผิดพลาด ซึ่งส่วนใหญ่ระบบจะออกแบบให้ตรวจสอบเงื่อนไขการทำงานอัตโนมัติตลอดเวลา และหาก Condition หรือเงื่อนไขการทำงานในระบบผิดพลาด… รถจะมีฟังก์ชั่นขอความช่วยเหลือจากมนุษย์ติดมาด้วย
- ระดับ 4 ไม่ต้องมีมนุษย์คอยช่วยเหลือในยามเข้าตาจนเหมือน Level 3 อีกเลย แม้จะมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นทั้งในระบบและสภาพแวดล้อมภายนอก หรือแม้แต่เกิดขัดข้องขึ้น พาหนะ Level 4 ก็จะจัดการความผิดปกติและบกพร่องทั้งหลายได้เอง โดยพึ่งพาและปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ในฐานะผู้โดยสาร มากกว่าจะพึ่งพามนุษย์ในฐานะผู้ควบคุมปกป้องความผิดพลาด พาหนะ Level 4 สามารถทำงานในโหมดขับขี่ด้วยตนเอง หรือ Self-Driving Mode ได้อย่างสมบูรณ์
- ระดับ 5 ไม่ต้องการความช่วยเหลือใดๆ จากมนุษย์อีก เพราะระบบจะทำงาน Dynamic Driving Task เต็มประสิทธิภาพ เทียบเท่าระดับเดียวกับหรือดีกว่ามนุษย์ที่มีทักษะการขับรถยอดเยี่ยมที่สุด… พาหนะ Level 5 จึงไม่มีแม้แต่พวงมาลัย แป้นเหยียบคันเร่งและแป้นเบรก ทำให้พาหนะ Level 5 เป็น Fully Autonomous Cars ซึ่งเป็นเป้าหมายความสำเร็จของการพัฒนายานพาหนะบนผิวพื้นยุคต่อไป… ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่า กฏหมายและโครงสร้างพื้นฐานของ Smart City